ผื่นผ้าอ้อม อาจพบได้บ่อยในทารกที่ยังสวมใส่ผ้าอ้อม ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และมีอาการงอแงเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกบ่อย ๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องสังเกตตามบริเวณผิวหนัง รวมถึงอาการผิดปกติของทารกที่อาจปรากฏให้เห็นอีกด้วย
ผื่นผ้าอ้อม เกิดขึ้นได้อย่างไร
ผื่นผ้าอ้อม เป็นรูปแบบทั่วไปของโรคผิวหนังอักเสบ โดยผื่นผ้าอ้อมนี้เกิดจาก ผ้าอ้อมที่เปียก หรืออับชื้น ทำให้ผิวหนังของลูกน้อยเกิดความระคายเคือง จนทำให้มีผื่นสีแดงเกิดขึ้นที่ผิวหนัง ซึ่งผื่นผ้าอ้อมนี้จะทำการรบกวนตัวเด็กทารก ให้รู้สึกไม่สบายตัว และระคายเคืองผิวหนัง นั่นเอง สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมอาจมีดังนี้
- ปล่อยให้ผ้าอ้อมเปียก หรือสกปรก เป็นเวลานานเกินไป
- ผิวหนังมีรอยถลอกที่เกิดขึ้นจากการถูกับผ้าอ้อม
- การติดเชื้อยีสต์
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- ปฏิกิริยาต่อการแพ้ผ้าอ้อม
โดยทารกอาจมีผื่นผ้าอ้อมบ่อยขึ้น เมื่อทำสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- มีอายุอยู่ในระหว่างช่วง 9-12 เดือน
- นอนในผ้าอ้อมสำเร็จรูป
- มีอาการท้องร่วง
- รับประทานอาหารแข็ง
- ใช้ยาปฏิชีวนะ
อาการของผื่นผ้าอ้อม
สำหรับอาการของผื่นผ้าอ้อมที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ ดังนี้
- สัญญาณที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ผื่นผ้าอ้อมจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดงเกิดขึ้นบนผิวหนังที่อ่อนโยน นอกจากนั้น ยังอาจเกิดบริเวณก้น ต้นขา และอวัยวะเพศ
- การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตเห็นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทากอาจจะมีอาการอึดอัดกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่เปลี่ยนผ้าอ้อม นอกจากนี้ทารกที่เป็นผื่นผ้าอ้อมมักจะร้องไห้ เมื่อบริเวณที่เป็นผื่นถูกล้าง หรือถูกสัมผัส
วิธีการรักษาผื่นผ้าอ้อม
เมื่อทารกเป็นผื่นผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามตรวจสอบผ้าอ้อมบ่อย ๆ และเปลี่ยนผ้าอ้อมทันที เมื่อผ้าอ้อมเปียกชื้นหรือสกปรก พยายามทำความสะอาดบริเวณที่ถูกผ้าอ้อมด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นเช็ดให้แห้ง แล้วทาครีมหรือขี้ผึ้งที่มีซิงค์ออกไซด์หรือปิโตลียมทุกครั้ง เพื่อช่วยปลอบประโลมผิวและปกป้องผิวจากความชุ่มชื้น
ผู้เชี่ยวชาญบางคน อาจแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องใส่ผ้าอ้อมให้ลูกน้อยเป็นเวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวัน โดยนำทารกไปไว้ในเปลพร้อมแผ่นกันน้ำ หรือวางทารกไว้บนผ้าขนหนูผืนใหญ่บนพื้น เพื่อให้ผิวที่เกิดการระคายเคืองมีโอกาสได้แห้ง และยังอาจทำให้ผิวได้หายใจอีกด้วย
เมื่อไหร่ที่ไปพบคุณหมอ
โดยปกติแล้ว ผื่นผ้าอ้อมอาจหายไปเองภายใน 2-3 วัน แต่หากเกิดอาการเหล่านีควรพาทารกไปพบคุณหมอ
- ผื่นผ้าอ้อมมีอาการที่แย่ลง หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา 2-3 วัน
- มีไข้ หรือดูซึมผิดปกติ
- มีตุ่มหนองเกิดขึ้น ซึ่งนี่อาจเป็นอาการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
- สำหรับอาการที่ติดเชื้อยีสต์อาจสังเกตได้ ดังนี้
- ผื่นแดงบวม มีแผลและเกล็ดสีขาว
- เม็ดผื่นสีแดงขนาดเล็กบริเวณด้านนอกผ้าอ้อม
- รอยแดงในช่วงข้อพับต่าง ๆ
[embed-health-tool-vaccination-tool]