backup og meta

ลูกเป็นผื่นที่หน้า ปัญหาผิวหนังในเด็ก ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/01/2022

    ลูกเป็นผื่นที่หน้า ปัญหาผิวหนังในเด็ก ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

    เนื่องจากผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ไวต่อการระตายเคือง และการติดเชื้อต่าง ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า นอกจากนั้น โรคภูมิแพ้ ความร้อน แรงเสียดทาน ความชื้น ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นผื่นได้เช่นกัน ผื่นนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกายเด็ก ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า คอ ขา แขน มือ เท่า ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องหาสาเหตุของการเกิดผื่น รวมถึงอาจต้องสังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะหากผื่นมีอาการรุนแรงขึ้น จะได้พาลูกน้อยไปพบคุณหมอได้อน่างทันท่วงที

    สาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า

    ผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ไวต่อการระตายเคือง และการติดเชื้อต่าง ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า นอกจากนั้น สาเหตุที่อาจทำให้ลูกเป็นผื่นหน้า อาจมีดังนี้

    • โรคผิวหนังอักเสบ ส่งผลให้ผิวแห้ง หยาบกร้าน ระคายเคือง เป็นผื่น มักพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน-5 ปี
    • ไขบนหนังศีรษะทารก (Cradle Cap) คือ ปัญหาความมันบนผิวหนังโดยเฉพาะหนังศีรษะของทารก ก่อให้เกิดไข หรือแผ่นสะเก็ดขาว ๆ และผดผื่นขึ้นตามหนังศีรษะ รอบดวงตา จมูก แก้ม
    • ผดมิเลีย (Milia) อาจเกิดจากรูขุมขนบริเวณใบหน้าเกิดการอุดตัน จนกระทั่งกลายเป็นผื่นเล็ก ๆ ตามใบหน้า
    • สิวในเด็กทารก เด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์จนถึง 6 เดือน อาจพบการอุดตัน เป็นผื่นเล็ก ๆ สีแดง บวม อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ของแม่ การใช้ยาบางประเภทของแม่ หรืออาการแพ้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กบางตัว
    • โรคฟิฟธ์ (Slapped Cheek Disease) อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในเด็ก ส่งผลให้เกิดเป็นผื่นแดงขึ้นตามใบหน้าหรือลำตัว แต่ก็อาจหายไปได้เพียง 2-3 วัน
    • ผื่นคัน เนื่องจากเด็กเล็ก ๆ มักมีน้ำลายไหลเปื้อนตามขอบปากและใบหน้า อาจส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองที่ทำให้เกิดผื่นคัน
    • ผื่นแดง มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ก็อาจหายไปเองภายใน 2-3 วัน
    • โรคผิวหนังอื่น ๆ เช่น กลาก เกลื้อน อีสุกอีใส โรคหิด ผดผื่นร้อน ลมพิษ

    เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

    โดยทั่วไปแล้วผื่นบนใบหน้าของเด็ก ๆ มักไม่อันตรายรุนแรง และอาจหายเองได้ภายในเวลาไม่กี่วัน แต่ถ้าหากลูกเป็นผื่นที่หน้าและมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบคุณหมอ

    • มีไข้
    • เป็นแผลหนอง
    • เบื่ออาหาร
    • ผิวหนังกลายเป็นจ้ำสีแดง
    • เมื่อกดเบา ๆ ไปที่ผิวหนังแล้วเกิดเป็นรอยแดง แต่รอยนั้นไม่จางหายไป
    • ต่อมน้ำเหลืองบวม
    • อ่อนเพลีย ง่วงนอน
    • มีอาการไอ

    ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นผื่นที่หน้า

    เมื่อสังเกตเห็นว่า ลูกเป็นผื่นหน้า คุณพ่อคุณแม่อาจรับมือได้ดังนี้

    • ใช้ยาสำหรับรักษาโรคผิวหนังตามที่แพทย์สั่ง
    • ใช้ยาทารักษาโรคผิวหนังสำหรับเด็กตามที่แพทย์สั่ง
    • รักษาความสะอาด ดูแลผิวของเด็กให้สะอาดอยู่เสมอ
    • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิวของเด็ก ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
    • เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการหมักหมมที่จะก่อให้เกิดการระคายเคือง จนเป็นผื่นลุกลามไปทั้งลำตัวและใบหน้า
    • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปยังบริเวณที่มีอากาศร้อน เพราะเสี่ยงทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของเด็ก
    • หลีกเลี่ยงการจูบ การสัมผัสใบหน้าของเด็กโดยเฉพาะผู้อื่นที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับเด็ก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

    แต่หากอาการผื่นที่หน้าของลูกมีไม่หายไปเอง มีอาการรุนแรง รวมถึงมีอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอทันที เพื่อตรวจอาการที่เกิดขึ้น รวมถึงจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา