backup og meta

โรคปากนกกระจอกในเด็ก สาเหตุ และอาการของโรค

โรคปากนกกระจอกในเด็ก สาเหตุ และอาการของโรค

โรคปากนกกระจอกในเด็ก หมายถึงอาการอักเสบบริเวณมุมปาก ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายขาดวิตามิน แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การเลียริมฝีปากบ่อย การติดเชื้อแบคทีเรีย อาการอักเสบจากโรคอื่น ๆ พ่อแม่ควรคอยสังเกตอาการ และพาลูกไปรับการรักษาให้เหมาะสม

[embed-health-tool-vaccination-tool]

โรคปากนกกระจอกในเด็ก คืออะไร

โรคปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) คือ อาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณมุมปาก ส่งผลให้ริมฝีปากเกิดอาการบวมแดง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจจะมีอาการนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่างๆ

โรคปากนกกระจอก อาจมีอาการคล้ายกับโรคเริมที่ริมฝีปาก แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างกัน โรคเริมที่ริมฝีปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม ในขณะที่โรคปากนอกกระจอกอาจจะเกิดจากสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ เช่น การขาดสารอาหาร การติดเชื้แบคทีเรีย การเลียริมฝีปาก

สาเหตุของโรคปากนกกระจอกในเด็ก

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคปากนกกระจอกในเด็ก มีดังต่อไปนี้

  • ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เช่น ขาดวิตามินบี 9 ขาดวิตามินบี 6 ขาดวิตามินบี 2 ขาดวิตามินบี 3 ขาดสังกะสี
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
  • กลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s Syndrome) ภูมิคุ้มกันแบบเรื้อรังที่ทำลายต่อม ซึ่งมีทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับปากส่งผลให้ปากแห้ง
  • เลียริมฝีปากบ่อย
  • ผิวแพ้ง่าย บอบบาง
  • มีอาการอักเสบอื่น ๆ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s Disease)

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง มะเร็งตับอ่อน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคปากนกกระจอกในเด็กได้เช่นกัน

อาการของโรคปากนกกระจอกในเด็ก

โรคปากนกกระจอกในเด็ก อาจทำให้มีอาการ ดังต่อไปนี้

  • อาการเจ็บปาก ระคายเคือง หรือคันบริเวณริมฝีปาก
  • มีรอยแดงและเลือดออกบริเวณมุมปาก
  • มีตุ่มพองและสะเก็ดแผลบริเวณมุมปาก
  • ริมฝีปากแห้งและแตก
  • รับประทานอาหารลำบาก

วิธีการรักษาโรคปากนกกระจอกในเด็ก

สำหรับวิธีการรักษาโรคปากนกกระจอกในเด็กอาจหลากหลายวิธี ขึ้นกับอยู่กับสาเหตุและอาการโรค โดยมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้

  • ขาดวิตามิน เมื่อลูกเป็นโรคปากนกกระจอกที่เกิดจากสาเหตุร่างกายขาดวิตามิน คุณหมออาจจ่ายยาวิตามินให้รับประทาน
  • ยาปฏิชีวนะ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่ปาก
  • ยาต้านเชื้อรา แพทย์อาจแนะนำยาต้านเชื้อรา เช่น ไนสแตนดิน (Nystatin) คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโคนาโซล (Miconazole)

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Angular Cheilitis. https://www.webmd.com/oral-health/angular-cheilitis#1. Accessed 11 May 2020.

What is angular cheilitis?. https://dermnetnz.org/topics/angular-cheilitis/. Accesed May 21, 2021.

Allergic contact cheilitis in children and improvement with patch testing. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5192345/. Accesed May 21, 2021.

DIFFERENTIAL DIAGNOSIS OF CHEILITIS – HOW TO CLASSIFY CHEILITIS? https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6531998/. Accesed May 21, 2021.

ANGULAR CHEILITIS. https://www.aocd.org/page/AngularCheilitis. Accessed October 30, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณและการดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia

ขาโก่ง ในเด็กใช่สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพกระดูกหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา