backup og meta

การดูแลทารกในหน้าหนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกป่วย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/02/2023

    การดูแลทารกในหน้าหนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกป่วย

    รูปร่างขนาดเล็กและผิวหนังที่บางของทารก อาจส่งผลให้ทารกรู้สึกต่อสภาพอากาศภายนอกได้ค่อนข้างไว้ หากยิ่งเป็นในฤดูหนาวแล้วนั้น เป็นไปได้ว่าจะสามารถส่งเสริมทำให้ลูกเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การดูแลทารกในหน้าหนาว จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายที่มาพร้อมกับหน้าหนาว เช่น ไข้วัด โรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

    โรคร้ายในหน้าหนาวที่อาจเกิดขึ้นกับทารก

    โรคที่พบได้บ่อยช่วงวัยของทารกในฤดูหนาว ส่วนใหญ่คือโรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงวัยของทารก ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ก็ควรป้องกันตนเองร่วมด้วย เนื่องจากอาจได้รับเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้เช่นเดียวกัน

    หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกห่างจากไกลจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ควรหลีกเลี่ยงการให้เด็กในวัยเรียนคนอื่น ๆเข้ามาเล่น กอด หอม หากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านเป็นหวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมืออยู่เสมอ รวมถึงอาจต้องมีการนำพาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เมื่อมีอายุได้ 6 เดือน และหมั่นเข้ารับการฉีดเป็นประจำทุกปี คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจคิดว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนชนิดอื่น ๆ ตามที่คุณหมอกำหนดไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่เมื่อถึงเหตุการณ์ที่ลูกไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่จะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพมากแค่ไหน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นหนทางที่ดีในการช่วยลดความรุนแรงของโรคต่าง ๆ และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดี

    การดูแลทารกในหน้าหนาว ควรทำอย่างไร

    การดูแลลูกน้อยในสภาพอากาศที่หนาวเย็นเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อคอยสร้างความอบอุ่นให้ลูกมีสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่ดี ร่าเริงได้อยู่เสมอ โดยวิธีการดูแลทารกในหน้าหนาวอาจทำได้ ดังนี้

    • สวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอุ่นแก่ทารก

    ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าค่อนข้างอุ่น หรืออาจสวมใส่เสื้อผ้าประมาณ 2 ชั้น ชั้นแรกอาจใส่เป็นเสื้อแขนยาว ส่วนอีกชั้นเป็นเสื้อเชิ้ตคลุมตัว หากเป็นไปได้ควรหาหมวกมาคลุมศีรษะไว้ด้วย ป้องกันการรับอุณหภูมิที่เย็นจัดจนทำให้ลูกน้อยเป็นหวัด ส่วนร่างกายของทารกส่วนล่างควรเป็นกางเกงขายาว ถุงเท้า พร้อมหาผ้าห่มมาห่มตัวลูกแทนการใส่ 2 ชั้น เพราะบางครั้งการใส่เสื้อผ้าให้ทารกหลายชั้นเกินไปจะสามารถทำให้ทารกรู้สึกร้อน และเป็นอันตรายได้

    • นวดให้ทารก

    คุณพ่อคุณแม่ควรนวดตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายทารกอย่างเบามือ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดสร้างความอบอุ่น โดยสามารถนวดได้ทุกเวลาไม่ว่าจะระหว่างอาบน้ำ ทาออย หรือตอนแต่งตัว เป็นต้น

    • อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น

    ในช่วงฤดูหนาวแน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ควรเลี่ยงการให้อาบน้ำเย็น หรือน้ำธรรมดาให้แก่ลูก ควรมีการผสมน้ำอุ่นลงไป แต่ไม่ถึงกับร้อนมาก เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวที่บอบบางของทารก พร้อมทั้งควรเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการอาบน้ำไว้ใกล้ตัวเพื่อร่นระยะเวลาการอาบน้ำ โดยปกติแล้วไม่ควรอาบน้ำให้ทารกนานเกินกว่า 5-10 นาที หลังอาบน้ำเสร็จแนะนำทามอยส์เจอไรเซอร์หรือสารให้ความชุ่มชื้นที่อ่อนโยนอื่น ๆ ให้ทั่วตัวเพื่อป้องกันผิวแห้ง คัน และแตกลอก

  • ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมเพื่อให้ลูกพักผ่อนได้อย่างสบาย

  • ก่อนที่ทารกจะเข้ารับการพักผ่อน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องตรวจสอบอุณหภูมิภายในห้องว่ามีความหนาวเย็น หรือร้อนเกินไปหรือไม่ โดยการใช้เครื่องเทอร์โมมิเตอร์ ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมกับลูกจะอยู่ที่ประมาณ 23-25 องศาเซลเซียส หากทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถห่อตัวลูกอย่างพอดีเอาไว้ร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกรู้สึกหนาวเย็น แต่สำหรับทารกตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป อาจต้องปรับเปลี่ยนการห่อตัวเป็นการห่มผ้าแทน เนื่องจากเด็กช่วงวัยนี้จะเริ่มมีการพลิกตัวไปมา ซึ่งการห่อตัวอาจทำให้หายใจลำบาก

    หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ต้องการจะเล่นหรือสัมผัสกับทารก ควรล้างมือให้สะอาด และควรให้ลูกอยู่ห่างไกลจากผู้ป่วย กลิ่นควันบุหรี่ เพื่อป้องกันอันตราย การติดเชื้อ และการเจ็บป่วย

    เมื่อไหร่ควรพาทารกไปพบคุณหมอ

    ถึงแม้อาการไข้หวัดของทารกอาจรักษาเองได้ที่บ้าน แต่เมื่อทารกมีอาการผิดปกติ หรือมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น จากสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ ควรนำพาลูกรักเข้าพบคุณหมอในทันที เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

  • ร้องไห้หนัก
  • ไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • มีอาการหายใจไม่ออก หายใจมีเสียงหืด หรือหายใจเสียงหวีด
  • การดึงหูตนเองซ้ำ ๆ อย่างรุนแรง เพราะอาจหมายความได้ว่าทารกกำลังเสี่ยงกับการติดเชื้อที่หูอยู่
  • ผิวเปลี่ยนสี
  • ซึมลง
  • ไม่กินนม หรืออาเจียนหลังกินนม
  • เนื่องจากสภาวะสุขภาพ และร่างกายของทารกแต่ละบุคคลแตกต่างกัน หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแล ทารกในหน้าหนาวสามารถเข้าขอรับคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์เพิ่มเติม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา