backup og meta

ดูแลทารกแรกเกิด ให้แข็งแรงปลอดภัย ทำอย่างไร

ดูแลทารกแรกเกิด ให้แข็งแรงปลอดภัย ทำอย่างไร

การ ดูแลทารกแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจเป็นเรื่องยาก เพราะทารกพูดไม่ได้จึงแสดงออกได้เพียงการร้องไห้หรือส่งเสียง การหมั่นสังเกตท่าทางและพฤติกรรมเพื่อตีความหมายในสิ่งที่ทารกต้องการได้อย่างถูกต้องอาจช่วยได้  นอกจากนั้น การดูแลทำความสะอาดร่างกายลูกน้อยอย่างถูกวิธี การอุ้ม การกอด การสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกในครอบครัว ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ลูกน้อยแข็งแรงสุขภาพดีและปลอดภัย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

พื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด

เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่แข็งแรง และผิวของทารกยังค่อนข้างบอบบาง จึงอาจติดเชื้อหรือบาดเจ็บได้ง่าย พื้นฐานการดูแลเด็กทารกแรกเกิด ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนจับตัวทารก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเพราะทารกยังไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • รองรับศีรษะและคอทารก ขณะอุ้มทารกควรใช้มือรองรับศีรษะและประคองคอทารกเนื่องจากบริเวณคอและศีรษะยังไม่แข็งแรง
  • อย่าเขย่าทารกแรกเกิด การสั่นสะเทือนอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองของทารกแรกเกิดได้
  • ระวังความปลอดภัย เมื่อใช้รถเข็นเด็กควรยึดทารกให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการเด้งของตัวทารก และไม่ควรเล่นกับทารกด้วยความรุนแรง

ดูแลทารกแรกเกิด ต้องใส่ใจเรื่องอะไรบ้าง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ รวมทั้งสมาชิกครอบครัว หรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลทารกแรกเกิด เรื่องที่ควรต้องระวังเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ของทารก ได้แก่

การอุ้มและการกอด

ในช่วงแรกทารกยังต้องการความอบอุ่นจากการอุ้มและกอด โดยเฉพาะจากมารดา เนื่องจากเป็นสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงเหมือนตอนอยู่ในครรภ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ลึกซึ้งและเชื่อมต่ออารมณ์ความรู้สึกกับทารก และส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้ด้วย คุณพ่อและคุณแม่ควรอุ้มเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ทารกอยู่เสมอ

ผ้าอ้อมและกระดาษชำระแบบเปียก

ปัจจุบันนี้ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทุกบ้านควรเตรียมให้เพียงพอเพราะทารกมีการขับถ่ายบ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ที่สำคัญคือการเช็ดทำความสะอาดผิวหนังของทารก ด้วยกระดาษชำระแบบเปียก หลังจากนั้น ควรซับเบา ๆ ด้วยผ้าอ้อมที่เป็นผ้าแห้ง และควรใช้ครีมทาผิวก่อนใส่ผ้าอ้อม ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดผื่นผ้าอ้อมในทารกได้

การอาบน้ำ

เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำให้พร้อมสำหรับทารกให้เรียบร้อยก่อนอาบน้ำ ทั้งผ้าขนหนูอาบน้ำ ผ้าขนหนูเช็ดตัว สบู่และแชมพูอ่อนไร้กลิ่น แปรงขนนุ่มกระตุ้นหนังศีรษะ ผ้าอ้อม เสื้อผ้า และฟองน้ำแบบผิวเรียบอาบน้ำทารก และหลังแรกเกิดใหม่ ๆ ควรอาบน้ำให้ทารกเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อป้องกันทารกผิวแห้ง และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นอาบวันละ 1-2 ครั้ง

ดูแลสายสะดือ ทารกแรกเกิด

หมั่นเช็ดทำความสะอาดบริเวณสายสะดือด้วยแอลกอฮอล์จนกว่าสายสะดือจะหลุดออก ปกติใช้เวลาประมาณ 10 วัน ไม่ควรแกะหรือดึงสายสะดือ ควรปล่อยให้หลุดเองตามธรรมชาติ

ป้อนนมและทำให้เรอ 

ทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่หรือนมทดแทนนมแม่ในกรณีที่นมแม่ไม่เพียงพอ 2-3 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง และหลังป้อนนม ควรทำให้ทารกเรอโดยการอุ้มพาดไหล่เพื่อระบายแก๊สในกระเพาะ หากทารกมีแนวโน้มเป็นกรดไหลย้อน ควรให้ทารกเรอทุก ๆ 5-10 นาทีระหว่างให้นม

การนอน

โดยปกติ ทารกแรกเกิด มักนอนหลับเป็นระยะ รวมแล้วประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่านั้น และตื่นบ่อยในตอนกลางคืนเนื่องจากกระเพาะทารกมีขนาดเล็กจึงต้องได้รับอาหารทุก 2-3 ชั่วโมง และเพื่อช่วยให้ทารกนอนหลับในตอนกลางคืนมากขึ้นแนะนำให้ลองหากิจกรรม พูดคุยหรือเล่นกับลูกในตอนกลางวันเพื่อให้ลูกตื่นในตอนกลางวันและนอนหลับยาวนานมากขึ้นในตอนกลางคืน

สัญญาณเตือน ทารกแรกเกิด ป่วยหรือไม่สบาย

เนื่องจากทารกแรกเกิดไม่สามารถพูดได้ ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้อง ดูแลทารกแรกเกิด อย่างใกล้ชิด ใส่ใจและสังเกตอาการของทารก หากทารกมีอาการไอเล็กน้อย ท้องร่วง หรือมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหน่ง ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาต่อไป

สัญญาณเตือนว่าทารกอาจกำลังป่วย ได้แก่

  • ไม่ยอมกินนม
  • ท้องร่วงและอาเจียนมากผิดปกติ
  • ไข้ขึ้นสูง
  • อาการหวัดแย่ลง
  • มีผื่นขึ้น
  • ร่างกายขาดน้ำ คือ ปัสสาวะน้อยไม่ถึงวันละ 6-8 ครั้ง
  • ไม่มีน้ำตาเมื่อร้องไห้ ตาตก
  • ร้องไห้ไม่หยุด

แต่ถ้าหากทารกมีอาการที่ร้ายแรงขึ้นดังต่อไปนี้ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจและรักษาทันที

  • เลือดออกไม่หยุด
  • ทารกไม่สามรถเคลื่อนไหวได้
  • อุณภูมิทางทวารหนักสูงถึง 38 องศาเซสเซียส ขึ้นไป
  • ตาและผิวมีสีเหลือง
  • นอนสลบไสลไม่ได้สติ
  • หลับนานมากกว่าปกติ
  • กินหรือสัมผัสสารพิษ

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่า ทารกแรกเกิด กำลังป่วย คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ดูแลไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกในระยะยาว หรืออาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

A Guide for First-Time Parents. https://kidshealth.org/en/parents/guide-parents.html. Accessed June 10, 2022.

Newborn care and safety. https://www.womenshealth.gov/pregnancy/childbirth-and-beyond/newborn-care-and-safety. Accessed June 10, 2022.

When to Call the Doctor for Your Newborn Baby. https://health.clevelandclinic.org/when-to-call-the-doctor-for-your-newborn-baby/. Accessed June 10, 2022.

Newborn Sleep Patterns. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=newborn-sleep-patterns-90-P02632&sa=U&ei=58e3VM6CIIr5yATNnIGwAg&ved=0CG8QFjAT&usg=AFQjCNFvyKhlh5_8yFZvCBirEv-fTY56pQ. Accessed June 10, 2022.

Breathing Problems. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=breathing-problems-90-P02666. Accessed June 10, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/02/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การวัดอุณหภูมิร่างกาย ทารก ที่คุณแม่ควรรู้

ผลการประเมินสภาพทารกแรกเกิด หรือ Apgar score คืออะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา