backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ของลูกน้อย

เด็กแรกคลอดอายุ 1 สัปดาห์หรือ 7 วัน ถือเป็นช่วงที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทะนุถนอม เนื่องจากเด็กยังมีความเปราะบางมาก การดูแลลูกอย่างถูกวิธีและพาลูกไปพบคุณหมอทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ อาจช่วยให้ลูกมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ที่เหมาะสมและมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

แขนขาของลูกน้อยวัย 1 สัปดาห์จะยังยืดออกไม่เต็มที่ และตาของลูกจะยังดูบวม ๆ อยู่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และเด็กส่วนใหญ่จะยืดตัวได้อย่างเต็มที่เมื่ออายุได้ประมาณ 6 เดือน

น้ำหนักโดยเฉลี่ยของทารกแรกเกิดนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 3.5 กิโลกรัม และความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ น้ำหนักและส่วนสูงอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2.5-4.5 กิโลกรัม และความสูงตั้งแต่ 48-51 เซนติเมตร

อย่างไรก็ตามตัวเลขเหล่านี้ ไม่เกี่ยวข้องกับขนาดตัวตอนที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตราบใดน้ำหนักและส่วนสูงของลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณแม่ก็ไม่ควรเป็นกังวลกับเรื่องตัวเลขมากเกินไป แต่สิ่งที่ควรใส่ใจในตอนนี้ คือ การให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่สะดวกให้ลูกกินนมแม่ ควรปรึกษาคุณหมอถึงทางเลือกอื่นที่เหมาะสม เช่น การให้ลูกกินนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

ด้วยความที่อยู่ในครรภ์มารดามาถึง 9 เดือน จึงนับเป็นเรื่องยากสำหรับลูกน้อยที่จะทำความคุ้นเคยกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ลูกน้อยต้องการเวลาในการทำความคุ้นเคยกับโลกใหม่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสภาพแวดล้อมรอบตัวลูกให้ดี รักษาความอบอุ่นให้ลูกน้อยอยู่เสมอ ด้วยการใช้ผ้าห่มห่อตัวเด็กเอาไว้ในช่วงสัปดาห์แรก

คุณแม่ควรกอดลูกน้อยไว้แนบอก การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย แถมการได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่เต้น ยังช่วยทำให้ทารกรู้สึกสบายใจขึ้นด้วย 

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

ทารกลูกจะได้รับการตรวจสุขภาพและพัฒนาการทันทีหลังคลอด ทั้งนี้ควรปรึกษาคุณหมอหากลูกมีภาวะสุขภาพ เช่น ตัวเหลือง มีเชื้อราในช่องปาก ภาวะเหล่านี้พบได้ทั่วไปในเด็กแรกเกิด แต่ทางที่ดีก็ควรพาพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ

สิ่งที่ควรรู้

ผ้าอ้อมสำหรับเด็กแรกเกิดมีทั้งแบบผ้าที่สามารถซักให้สะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งคุณแม่สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ คุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อย ๆ อย่าให้ลูกใส่ผ้าอ้อมผืนเดิมนานเกินไป เพื่อป้องกันผื่นผ้าอ้อมและการติดเชื้อ

  • การอาบน้ำ

คุณแม่สามารถอาบน้ำให้ทารกหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมและให้นมเสร็จแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้ลูกทุกวัน ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ควรอาบน้ำให้ลูกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และควรใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดในบริเวณสำหรับ เช่น ใบหน้า ลำคอ แขน ก้น เป็นประจำทุกวัน

คุณแม่สามารถอาบน้ำให้ลูกในเวลาใดก็ได้ หากลูกมีอาการยุกยิกเป็นพิเศษ การอาบน้ำในตอนกลางคืนจะช่วยให้ทารกมีอาการสงบ และรู้สึกผ่อนคลายลงในช่วงก่อนนอน

  • การสระผม

คุณแม่ไม่จำเป็นต้องสระผมให้ลูกอายุ 1 สัปดาห์ทุกวัน การสระผมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็มักจะเพียงพอแล้ว เว้นแต่ว่าหนังศีรษะของลูกจะมันเยิ้มมาก ๆ จึงค่อยสระผมลูกให้บ่อยขึ้น

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

การดูแลเด็กทารกอายุ 1 สัปดาห์ มักมีสิ่งที่ต้องกังวลอยู่มากมาย โดยเฉพาะในคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คุณแม่อาจรู้สึกประหลาดใจที่ลูกน้อยเอาแต่นอน แต่นั่นเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของเด็กแรกเกิด และลูกมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการนอนหลับ เมื่อลูกโตขึ้น จะค่อย ๆ นอนหลับน้อยลง และจะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองมากขึ้น

ช่วงสัปดาห์แรก ๆ เด็กบางคนจะมีมีน้ำเมือกหรือของเหลวในปอด จึงอาจอาเจียน หายใจไม่ออกชั่วคราว หรือหายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาดบ่อย ๆ เพื่อพยายามทำให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น ซึ่งอาการจะดีขึ้นเองในไม่ช้า ทั้งนี้ หากอาการแย่ลง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Murkoff, Heidi. What to Expect, The First Year. New York: Workman Publishing Company, 2009. Bản in

American Academy Of Pediatrics. American Academy of Pediatrics Caring for Your Baby and Young Child, Birth to Age 5 6th Edition. New York: Bantam, 2014. Bản in

Your Baby at 1 Week. https://www.ucsfbenioffchildrens.org/education/your-baby-at-1-week. Accessed November 29, 2022.

Your newborn’s first week: what to expect. https://raisingchildren.net.au/pregnancy/labour-birth/first-week-of-life/newborns-first-week. Accessed November 29, 2022.

Learning, Play, and Your Newborn https://kidshealth.org/en/parents/learnnewborn.html. Accessed November 29, 2022.

Looking at Your Newborn: What’s Normal. https://kidshealth.org/en/parents/newborn-variations.html. Accessed November 29, 2022.

Child development (1) – newborn to three months. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/child-development-1-newborn-to-three-months. Accessed November 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/05/2023

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีอาบน้ำทารก และการดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ

ภาวะผิวลายในทารก สาเหตุ อาการ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 01/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา