backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/06/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 หรือประมาณ 5 เดือน ช่วงนี้เด็กอาจสามารถกลิ้งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้เอง เริ่มพูดเป็นคำ ๆ และอาจสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังอาจมีความรู้สึกหวาดกลัวคนแปลกหน้า คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการท้องผูก ปัญหาการนอนหลับ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกได้

    การเจริญเติบโตและพฤติกรรม

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    เด็กอาจเริ่มแสดงอารมณ์เป็นครั้งแรก อย่างเช่น อาการกลัวคนแปลกหน้า เด็กจะเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ  และรู้สึกหวาดวิตกเมื่อมีคนเแปลกหน้าอยู่รอบตัว เด็กอาจจะร้องไห้เมื่อโดนคนแปลกหน้าสัมผัสตัว การที่เด็กกลัวคนแปลกหน้านี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรให้ลูกน้อยเจอคนแปลกหน้าเลย และลูกควรเจอกับคนอื่น นอกเหนือจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวด้วย โปรดจำไว้ว่า ต้องใช้ความอดทนและความเข้าใจ เพื่อที่จะฝ่าฟันให้ผ่านพ้นพัฒนาการของลูกน้อยในขั้นนี้ไปให้ได้

    เมื่อมีอายุได้ 22 สัปดาห์ ลูกน้อยก็อาจจะ…

    • กลิ้งไปในทิศทางเดียวได้
    • สามารถยืนด้วยสองเท้า
    • พูดเป็นคำ ๆ ได้
    • ทำอะไรตลก ๆ (เช่น ปล่อยเสียงออกมาพร้อมกับน้ำลาย)
    • สามารถไปมองตามต้นเสียงได้

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    สื่อสารกับเด็ก ๆ ในช่วงที่รับประทานอาหารกับครอบครัว ลูกอาจจะเพลิดเพลินกับการมองดูกำลังรับประทานอาหาร และอาจทำให้เด็กกินได้มากขึ้น นอกจากนี้ในเดือนถัดไป เด็กจะสามารถนั่งและกินอาหารได้ด้วยมือ พฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถของลูกน้อย ในการรับประทานอาหารได้

    ในช่วงอายุนี้ เด็กจะสามารถลุกนั่งจากการนอนหงาย ด้วยการยันตัวเองด้วยมือทั้งสองข้าง สามารถนั่งข้าง ๆ เพื่อช่วยพยุงลูกน้อย เนื่องจากเด็กอาจพลัดตกจากที่นั่งได้ เด็กอาจเข้าใจทักษะในการนั่งแล้ว แต่เมื่อมีจุดสนใจอื่นอาจทำให้เด็กเผลอลืมตัวได้

    เริ่มให้ลูกน้อยใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยการประคองลูกน้อยไว้ จากนั้นบอกเพื่อนหรือคนในครอบครัวให้ค่อย ๆ ประคองเด็กต่ออย่างช้า ๆ

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ ถ้าคิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่ามีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัยปรึกษากับหมอในครั้งถัดไป และอย่าลังเลที่จะปรึกษาหมอทันที เมื่อมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น หรือถ้ามีข้อกังวลใด ๆ เป็นพิเศษ ไม่ควรรอจนถึงการนัดครั้งถัดไป

    สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 

    อาการท้องผูก

    ลูกน้อยจะอุจจาระบ่อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและอาหารที่เข้ากินเข้าไป การทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งความสามารถในการย่อยอาหารของลูกน้อย อาการท้องผูกจะเกิดขึ้นเมื่อมีอุจจาระภายในลำไส้เคลื่อนไหวได้ช้าลง อาจสังเกตเห็นอาการท้องผูกจากลูกน้อยได้ดังนี้

    • อุจจาระยาก แห้ง และมีเลือดปน
    • อุจจาระครั้งสุดท้ายเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา
    • ลูกแสดงอาการไม่สบายท้องในการขับถ่าย

    อาการท้องผูกมักไม่พบในเด็กที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว ควรปรึกษาหมอถ้าลูกน้อยมีอุจจาระแข็ง แห้ง หรือเจ็บปวดเวลาขับถ่าย เมื่อมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น คลื่นไส้หรือท้องอืด ก็อาจมีปัญหารุนแรงเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ลำไส้อุดตัน

    หากเด็กดื่มนมผงเพียงอย่างเดียว ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากเด็กนมผงบางยี่ห้อ ก็อาจไม่เหมาะกับระบบภูมิคุ้มกันในตัวเด็ก จึงควรสอบถามหมอเกี่ยวกับการเปลี่ยนยี่ห้อนมผง

    อาการท้องผูกอาจเกิดจากการขาดน้ำด้วย ฉะนั้น จึงควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ ถ้าลูกน้อยเริ่มหย่านม ก็ลองป้อนลูกพลัมหรือให้ดื่มน้ำลูกแพร นอกจากนี้ก็อาจเติมน้ำผลไม้เจือจาง 30 มล. เข้ากับน้ำ 30 มล. แล้วผสมเข้ากับนมผงหรือนมแม่หลังป้อนนมเสร็จแล้ว

    นอกเหนือจากการเปลี่ยนอาหารให้ลูกน้อยแล้ว เคล็ดลับพวกนี้ก็อาจส่งผลดีต่อลำไส้ได้ :

    • จับขาของลูกน้อย เหมือนกำลังถีบจักรยานกลางอากาศ ในขณะนอนหงาย
    • นวดเบา ๆ บริเวณท้องช่วงใต้สะดือ ถ้ารู้สึกว่าบริเวณนั้นมีความแข็ง ให้กดค้างไว้แป๊บนึง
    • ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกน้องมีอาการปวดอุจจาระ ให้นำเด็กไปแช่น้ำอุ่นสักซักพักนึง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

    อาจใช้ยาเหน็บหรือทำการกระตุ้นบริเวณทวารหนักของเด็ก โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิทางทวารหนักร่วมกับน้ำมันหล่อลื่น แต่ควรได้รับการอนุญาตจากหมอก่อน ถ้าอาการท้องผูกไม่ดีขึ้น หมออาจแนะนำให้ใช้ยาระบายบางประเภทสำหรับลูกน้อย

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    อาหารของลูกน้อย

    อาหารของลูกน้อยควรประกอบไปด้วย

    • โปรตีน
    • อาหารที่มีแคลเซียม
    • แป้งบริสุทธิ์
    • พืชผักสีเขียวและผลไม้ รวมทั้งผลไม้สีเหลือง
    • อาหารที่มีวิตามินซีสูง
    • ผักและผลไม้หลากหลายชนิด
    • อาหารที่มีไขมันสูง
    • อาหารที่มีธาตุเหล็ก
    • อาหารที่มีเกลือ
    • น้ำเปล่า
    • อาหารเสริมและวิตามินต่างๆ

    การงีบของลูกน้อย

    ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะมีอายุได้ 5 เดือนแล้ว แต่เด็กก็จะงีบหลับ 3-4 ครั้งเป็นเวลา 1 ชั่วโมงทุกวัน เด็กบางคนอาจกลับไปนอนต่อได้ในเวลาประมาณ 20 นาที ในขณะที่เด็กคนอื่น ๆ อาจนอนแค่วันละ 2 ครั้ง แต่หลับได้ยาวนานกว่าคือครั้ง 1.5 ถึง 2 ชั่วโมง แต่จำนวนครั้งและระยะเวลานั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ (โดยเฉลี่ยแล้วเด็กอายุ 5 เดือนจะนอนวันละ 14 ชั่วโมง 30 นาที) การที่เด็กนอนหลับได้ยาวนานขึ้น ก็หมายถึงว่าจะมีเวลาในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้เด็กงีบหลับในช่วงระหว่างวัน มักจะงีบหลับในช่วงกลางคืนด้วย สามารถช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้นานขึ้นด้วยวิธีการต่อไปนี้

    • จัดเตรียมสถานที่ให้ลูกน้อยนอนได้สบาย ๆ ถ้าลูกน้อยนอนซบอยู่บนไหล่ นอกจากจะลำบากแล้ว ยังทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้ไม่ลึก และไม่นานเท่าที่ควรด้วย
    • ปรับอุณหภูมิของห้องให้อยู่ในระดับที่สบาย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป และต้องแน่ใจว่าเด็กใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมด้วย
    • นอนหลับให้ตรงเวลา ไม่ควรให้ลูกน้อยหลับก่อนกินอาหารเพราะท้องยังว่างอยู่ หรือในเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม (เด็กจะนอนหลับได้ไม่นานถ้าผ้าอ้อมเปียก)

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา