backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 27/01/2023

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 โดยทั่วไป ลูกจะสามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว และมักจะเลียนเสียงพูดของผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรออกเสียงคำพูดแต่ละคำให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กสามารถพูดตามได้อย่างถูกต้อง

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ตอนนี้ลูกน้อยสามารถพูดออกมาได้เป็นคำๆ และรู้จักความหมายของคำที่พูดออกมาแล้ว สมองจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสามารถในการใช้เหตุผลและการพูด

    พัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยสัปดาห์ที่ 45

    • ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลานได้
    • หยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วมืออื่นๆ ดังนั้นควรเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก
    • เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ก็ไม่ได้เชื่อฟังเสมอไป

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    ลูกน้อยในช่วงวัยนี้จะเลียนเสียงคำต่างๆ และการทำเสียงสูงเสียงต่ำ เขาอาจทำตามคำสั่งง่ายๆ อย่างเช่น “หยิบลูกบอลให้แม่หน่อย” หรือ”หยิบช้อนขึ้นมาลูก” พ่อแม่สามารถช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น ด้วยการแยกคำสั่งที่ซับซ้อนให้เหลือเพียงคำสั่งง่ายๆ แค่ขั้นตอนเดียว พร้อมกับใช้ท่าทางประกอบคำสั่งนั้นด้วย

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

    แพทย์ส่วนใหญ่มักไม่ได้นัดหมายการตรวจสุขภาพของลูกน้อยเดือนนี้ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ไม่ชอบให้อุ้ม ในระหว่างที่ไปพบคุณหมอ เด็กบางคนที่มีอาการกลัวคนแปลกหน้า อาจไม่อยากพบหมอ ไม่ว่าคุณหมอจะใจดีหรือเป็นมิตรเพียงใดก็ตาม จึงควรใช้วิธีโทรปรึกษาคุณหมอ ถ้าคุณมีความกังวลใดๆ ที่รอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปไม่ได้

    สิ่งที่ควรรู้

    ลูกสามารถเดินได้แล้ว คุณอาจจะสังเกตว่าขาของเขาไม่ตรง หัวเข่าอาจดูเหมือนบิดเข้าหากัน ซึ่งอาการแบบนี้เรียกว่า ‘ขาโก่ง’ คุณไม่ควรต้องเป็นกังวลมากเกินไป ลูกของคุณจะเริ่มไม่อยู่นิ่ง และเคยชินกับการเดินและวิ่ง ซึ่งจะทำให้ขาแข็งแรงขึ้น และนี่คือข้อมูลที่อาจจะช่วยคุณได้

    ขาโก่ง

    ใครๆ ก็อาจจะเคยมีอาการ ขาโก่ง มาก่อน แม้แต่นางแบบบนแคทวอล์คก็อาจเคยมีอาการขาโก่งเช่นกัน ตอนที่พวกเธอหัดเดินเป็นครั้งแรก เด็กส่วนใหญ่มักจะมีขาโก่งในช่วง 1-2 ขวบ จากนั้นเขาก็ใช้เวลาในการเดินมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้หัวเข่าบิดเข้าหากัน แต่ข้อเท้ากลับหันออกจากกัน แต่พอถึงช่วงที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นวัยรุ่น หัวเข่าและข้อเท้าก็จะเรียงเป็นเส้นตรง ทำให้ขามีรูปร่างตามปกติ โดยไม่ต้องใช้รองเท้าชนิดพิเศษหรือเครื่องดามขา

    คุณอาจสังเกตเห็นอาการผิดปกติในขาเด็กได้เป็นครั้งคราว บางทีก็มีขาโก่งข้างเดียว หรือเข่าข้างหนึ่งบิดเข้ามาข้างใน หรือบางทีหัวเข่าของลูกน้อยก็บิดเข้าหากัน หรืออาการขาโก่งก็มีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อลูกน้อยเริ่มหัดเดิน ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีประวัติขาโก่ง ก็อาจต้องมีการตรวจร่างกายลูกน้อยให้ละเอียดขึ้นโดยแพทย์ผู้ชำนาญด้านศัลยกรรมกระดูกในเด็ก การรักษาก็ขึ้นอยู่สภาพของเด็กแต่ละคน คุณอาจจำเป็นต้องสังเกตอาการของโรคกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขาโก่งถาวร ซึ่งป้องกันได้ด้วยการให้กินนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมอื่นๆ ที่มีวิตามินดี

    หกล้ม

    เด็กในช่วงวัยนี้จะทำให้รู้สึกใจหายใจคว่ำได้ เพราะจะต้องเจอกับอาการปากแตก ตาเขียวคล้ำ หัวโน รอยฟกช้ำ และอาการอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน จริงๆ แล้ว ซึ่งถ้าคิดให้ดี นี่บทเรียนที่จะทำให้ลูกน้อยระวังตัวในครั้งต่อไปได้เอง ดีกว่าไม่เคยเจ็บ อยู่แบบสบายๆ แต่ไม่ได้เรียบรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเลย

    เด็กบางคนเรียนรู้คำเตือนได้อย่างรวดเร็ว หลังจากคว่ำโต๊ะกาแฟเป็นครั้งแรก ลูกน้อยจะล่าถอยไป 2-3 วัน แล้วจากนั้นก็ใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ส่วนเด็กคนอื่นๆ ที่ชอบทำอะไรตื่นเต้นๆ ก็ดูเหมือนจะไม่ได้เรียนรู้ในการระมัดระวัง ไม่รู้จักความกลัว ไม่รู้จักความเจ็บปวด หลังจากหกล้มหัวคะมำไปได้ห้านาที ก็กลับมาหกล้มหัวคะมำกันอีกแล้ว

    การเรียนรู้ที่จะเดินเป็นการลองผิดลองถูก หรือพูดให้ชัดๆ ก็คือเดินแล้วต้องล้ม คุณไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกระบวนการนี้ได้ แต่ควรจัดเตรียมสถานที่ เตรียมความพร้อมที่ทำให้การหกล้มนั้นมีความปลอดภัยมากที่สุด ในขณะที่การชนเข้ากับขอบโซฟาอาจทำให้เขาเสียน้ำตา แต่การชนเข้ากับมุมแหลมๆ ของโต๊ะกระจก ก็อาจทำให้เขาเลือดออกได้ คุณต้องแน่ใจว่าภายในบ้านนั้นมีความปลอดภัยสำหรับลูกน้อย แม้ว่าเขาจะล้มก็จะไม่เกิดอาการบาดเจ็บที่รุนแรงได้ และถึงแม้ว่าคุณจะเคลื่อนย้ายสิ่งที่อาจเป็นอันตรายออกจากเส้นทางของลูกน้อยหมดแล้ว ก็ควรจำไว้ด้วยว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือต้องมีคนคอยดูเพื่อระวังให้เขาอยู่ตลอด

    การบาดเจ็บที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นได้แม้ในบ้านที่มีความปลอดภัยมากที่สุดแล้ว แต้คุณก็ต้องมีการเตรียมตัวไว้ให้พร้อม และรู้ว่าเมื่อเกิดอะไรขึ้นแล้วต้องทำยังไง คุณอาจไปเข้าคลาสเรียนการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตลูกน้อยก็ได้

    ปฏิกิริยาของพ่อแม่มักมีผลต่อทารกในการตอบสนองกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ถ้าการหกล้มนั้นทำให้พ่อแม่ตื่นตระหนก รีบลนลานเข้าไปช่วยเหลือ พร้อมกับพร่ำถามลูกน้อยว่า “เป็นอะไรมั้ย?” อย่างซ้ำ การแสดงออกที่เกินความจำเป็นแบบนี้ จะทำให้เด็กยิ่งร้องไห้ แม้เขาจะไม่ได้เจ็บจริงๆ ก็ตาม แล้วในไม่ช้าเขาจะกลายเป็นเด็กที่ระมัดระวังเกินเหตุ และไม่ชอบที่ทำอะไรเสี่ยงๆ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าการตอบสนองของผู้ใหญ่อยู่ในอาการสงบ “อ้าว…หกล้มเหรอ ไม่เป็นไรนะ ลุกขึ้นได้แล้ว”  เด็กก็จะลุกขึ้นโดยไม่รู้สึกตกใจอะไร

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ต้องกังวลในเรื่องใด

    เด็กในสัปดาห์ที่ 45 คุณอาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับการหย่านมขวด คำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณเปลี่ยนจากการดื่มนมจากขวดเป็นการดื่มนมจากถ้วยได้อย่างราบรื่นขึ้น

    • ทำการหย่านมในเวลาที่เหมาะสม
    • ทำอย่างช้าๆ
    • เก็บขวดให้ห่างจากสายตา
    • ทำอะไรให้ถ้วยดูน่าตื่นเต้นขึ้น
    • เตรียมพร้อมกับความเลอะเทอะ
    • ไม่ต้องหวังอะไรมาก
    • สอนโดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
    • คิดในทางที่ดีเข้าไว
    • อดทนเข้าไว้
    • ให้ความรักมากเป็นพิเศษ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 27/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา