backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 จะเริ่มก้าวเท้า สำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว และสามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ เด็ก ๆ อาจเริ่มปีนป่าย และมักหกล้มได้ง่าย จึงไม่ควรปล่อยให้คลาดสายตา

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ทารกอายุ 8 เดือน ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว สามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ ความสามารถในการเคลื่อนไหวนี้ จะทำให้หกล้มหรือกระแทกโน่นกระแทกนี้ได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้สึกใจหายใจคว่ำ แต่การนั่งมองดูเขาสำรวจสิ่งรอบตัว และค้นหาข้อจำกัดของตัวเอง ก็นับว่าเป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่งเลยทีเดียว

    พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 33

  • ใช้ขารับน้ำหนักตัวเวลายืนตรงได้
  • รับประทานขนมปังกรอบได้เอง
  • ใช้นิ้วหยิบของแล้วกำไว้ในมือ ดังนั้น ควรเก็บของอันตรายให้พ้นมือเด็ก
  • หันไปตามทิศทางของเสียง
  • มองหาของที่ทำตกหล่น
  • ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    สัญชาตญาณแรกของคุณพ่อคุณแม่คือการปกป้องลูกน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติ วิธีเลี้ยงดูที่ดีที่สุดก็คือให้เขามีโลกส่วนตัวในการเติบโตและเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความต้องปล่อยให้เขาอยู่เพียงลำพังตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่มีความปลอดภัยขึ้นมาได้ โดยนึกภาพเอาว่า อะไรที่จะเป็นอันตรายในขนาดความสูงของลูกน้อย แล้วหาทางแก้ไขจนไม่เป็นอันตราย ซี่งอาจจะแก้ปัญหาด้วยการเก็บของที่ตกแตกง่ายไว้ในที่ที่เขาเอื้อมไม่ถึง รวมทั้งเก็บของที่เป็นอันตรายไว้ในตู้ที่ล็อกกุญแจเอาไว้

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

    อาจไม่มีตารางการนัดพบแพทย์ในช่วงนี้ แต่ถ้าความกังวลใจเร่งเด่วนเกิดขึ้น ก็ไม่ควรรอจนกว่าจะถึงเวลานัดครั้งต่อไป นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพูดคุยกับคุณหมอทันทีหากเกิดปัญหา

    ถ้าคิดว่าลูกน้อยมีพัฒนาการที่ไม่ปกติ ควรจดสัญญานที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลเอาไว้ แล้วพูดคุยกับคุณหมอในเรื่องนี้ อาจต้องปรึกษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการทางการพูดของเด็ก อย่างไรก็ตาม บางครั้งพัฒนาการที่ช้าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร เด็กบางคนก็ต้องการเวลาที่จะพัฒนาตัวเองให้ไล่ตามเด็กคนอื่นให้ทัน

    สิ่งที่ควรรู้

    การคลาน

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ทารกกำลังคืบโดยใช้พุงดันตัวเองไปรอบ ๆ รวมทั้งคลาน หรือเคลื่อนที่โดยการกระเถิบก้น ใช้มือยันข้างหลังแล้วใช้ขากระเถิบไปข้างหน้า เพื่อผลักดันตัวเองให้เคลื่อนที่

    การคืบ คือวิธีแรกที่ลูกน้อยใช้ผลักดันตัวเองไปรอบๆ อย่างได้ผล โดยปกติแล้ว เด็กมักจะเรียนรู้การใช้มือดันตัวเองก่อน จากนั้นก็เรียนรู้ที่จะลุกขึ้นโดยใช้มือและหัวเข่า จากนั้นเขาก็จะเรียนรู้วิธีเคลื่อนไหวไปข้างหน้าและข้างหลังด้วยการใช้เข่าดัน

    ตัวแปรสำคัญเหล่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ซึ่งจะทำให้เขาเดินได้ในไม่ช้า ไม่ว่าเขาจะเคลื่อนไหวด้วยวิธีไหน ก็นับเป็นความน่าประทับใจสำหรับพ่อแม่ที่ได้เห็นลูกของตัวเองมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว

    การยืน

    ทารกในวัยนี้อาจจะสามารถรั้งตัวเองให้ยืนขึ้นโดยจับเฟอร์นิเจอร์เอาไว้ ถ้าปล่อยให้เขาอยู่ข้างโซฟา เขาก็อาจใช้โซฟาเป็นที่รั้ง ดึงตัวเองให้ยืนขึ้น ถึงแม้ว่าจะยืนได้ไม่มั่นคงนักก็ตาม

    ในช่วงวัยนี้ พ่อแม่บางคนอาจให้ลูกน้อยใช้เครื่องช่วยเดิน แต่นั่นไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย เนื่องจากเครื่องช่วยเดินนั้นไม่มีความปลอดภัย ลูกน้อยอาจใช้เครื่องช่วยเดินเป็นบันไดในการหยิบของที่เอื้อมไม่ถึง อย่างเช่น เตาหุงต้มร้อน ๆ หรือขวดน้ำยาฟอกผ้าขาว ยิ่งไปกว่านั้นเขายังหมดโอกาสที่จะได้เล่นซนบนพื้น เพื่อจะได้เรียนรู้การคลาน การดึงตัวขึ้นมา หรือเดินสำรวจไปรอบ ๆ โดยกายยึดเฟอร์นิเจอร์เอาไว้ ซึ่งกิจกรรมทั้งหลายแหล่นั้นจะช่วยสร้างพัฒนาการในการเดินในเข้าได้

    ปลอดภัยไว้ก่อน

    ความสามารถใหม่ในการเคลื่อนที่นี่ อาจหมายถึงการที่ลูกน้อยจะต้องพุ่งชน และหกล้มได้ง่ายขึ้นด้วย ช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่ควรเคลื่อนย้ายผ้าม่านและสายไฟให้อยู่ห่างจากเด็ก หาอะไรมาหุ้มมุมโต๊ะที่เป็นเหลี่ยมเอาไว้ ใช้กุญแจล็อกที่นั่งชักโครกเอาไว้ ยกต้นไม้ที่อาจเป็นอันตรายไว้ในที่ที่สูงขึ้น เก็บผงซักฟอกและยาที่อาจเกิดพิษภัยต่อเด็กให้ห่างจากมือเขา รวมทั้งหาอะไรมาอุดปลั๊กไฟฟ้าเอาไว้ และติดตั้งแผงกั้นเพื่อความปลอดภัย บนบันไดขึ้นสูงสุดและขั้นล่างสุดด้วย

    พัฒนาการช้า

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 อาจมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กคนอื่น แต่ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่าเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการ เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกันไป ตัเช่น ในเด็กที่เกิดก่อนกำหนดนั้น พัฒนาการของเด็กอาจจะช้าเมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ แต่เมื่อเขาเติบโตขึ้นความสูงและน้ำหนักก็จะเป็นปกติ

    กระบวนการของพัฒนาการของแต่ละคนนั้น มักจะมีลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน ถึงแม้ว่ามักจะพัฒนาการทางด้านทักษะที่คล้ายคลึงเกิดขึ้นในกระบวนการนั้น เด็กบางคนพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว อย่างเช่น การนั่งได้ก่อน ในขณะที่เด็กคนอื่น ๆ อาจพัฒนาในการหยิบจับสิ่งของอันเล็ก ๆ ได้เร็วกว่า  เด็กบางอาจเดินได้ช้า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อวันเวลาผ่านไปลูกน้อยก็จะมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเติบโตสมวัยในที่สุด

    อย่างไรก็ตาม ควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางภาษา หากล่าช้า อาจเป็นผลมาจากการขาดการสื่อสารกับผู้ใหญ่ เด็กมีปัญหาทางการได้ยิน เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างน้อย อย่างเช่น กระดูกสันหลังเกิดความผิดปกติ หรือมีความผิดปกติทางการสื่อสารและอารมณ์

    ถ้าคิดว่าลูกมีพัฒนาการช้าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับกระบวนการพัฒนาตามปกติ ควรให้เวลาในการเรียนรู้ทางภาษา และการพัฒนาทางกายภาพ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเอาไว้ หรืออาจทำการประเมินพัฒนาการทางการได้ยินและการมองเห็นของเด็กก่อน 

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ต้องกังวลในเรื่องใด

    หากลูกน้อยคลานไปรอบ ๆ และดึงทุกสิ่งทุกอย่างเล่น และคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถตามไปเก็บกวาดได้ ก็ไม่ต้องเป็นกังวล อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

    • เริ่มต้นด้วยความปลอดภัย ก่อนที่จะปล่อยให้ลูกน้อยทำการสำรวจบ้าน ควรจัดระเบียบทำให้บ้านมีความปลอดภัยเสียก่อน
    • จำกัดสถานที่ อาจต้องพยายามจำกัดขอบเขตในการสร้างความเลอะเทอะ ซึ่งก็หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถปล่อยลูกน้อยวิ่งได้อย่างเสรีในห้องของตัวเอง หรือที่ใดก็ตามที่อยูกับลูกโดยไม่คลาดสายตา
    • ยับยั้งตัวเอง อย่าตามไปยื้อแย่งหรือเก็บของที่เขาดึงออกมาในทุก ๆ ครั้ง เพราะนั่นจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่พอใจ
    • สอนลูกน้อยเรื่องความสะอาด โดยทำซ้ำแล้วซ้ำอีกไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องทำความสะอาดอย่างจริงจังอะไร แค่หยิบของเล่นขึ้นมาชิ้นสองชิ้นหลังเขาเล่นเสร็จแล้ว และบอกเขาว่า “ช่วยเก็บของให้เข้าที่เดิมด้วยนะคะถึงแม้เขาจะไม่เข้าใจก็ตาม
    • ปล่อยให้เขาได้เล่นซนบ้าง อย่าบ่นว่าอะไรยืดยาว เพราะจะทำให้เขารู้สึกว่าการแสดงออกตามธรรมชาติ หรืออาการอยากรู้เห็นนั้นเป็นสิ่งไม่ดี และควรบอกให้ลูกน้อยรับรู้แบบจริงจังไม่ใช่บ่นไปเรื่อย ๆ
    • ควรพยายามหาที่สงบ ๆ ในบ้านเอาไว้สักแห่ง อาจจะเป็นห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น โดยไม่อนุญาตให้ลูกน้อยสร้างความปั่นป่วนในห้องนี้ เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้มีที่ไว้พักใจในช่วงท้ายของวันที่รู้สึกหน่อยกับการเลี้ยงลูก
    • เล่นอย่างปลอดภัย ควรจับตาดูว่ามีอะไรที่จะเป็นอันตราย ไม่ปลอดภัยต่อลูก ๆ หรือไม่ ถ้าลูกทำน้ำหก ก็ควรรีบเช็ดทันที เพราะอาจทำให้ลูกน้อยลื่นหกล้มได้ รวมทั้งเก็บไม่ให้ขวางทางลูกน้อย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา