backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 หรือประมาณ 4 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจเริ่มมีพัฒนาการด้านการสื่อสารมากขึ้น อาจพยายามเปร่งเสียงเลียนแบบคำง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น แม่ พ่อ รวมถึงอาจพยายามอ้อแอ้เพื่อสื่อสารกับพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่อาจลองพยายามพูดคุยกับลูกให้มาก ๆ เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังควรดูแลและเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อในหู ที่อาจส่งผลให้เด็กมีอาการเบื่ออาการ มีไข้ หูหนวก และร้องไห้งอแงได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

นักวิจัยเชื่อว่าลูกน้อยสามารถเข้าใจเสียงพื้นฐานในภาษาพูดแล้ว ซึ่งตั้งแต่ตอนนี้จนถึงอายุ 6 เดือน ลูกจะพัฒนาความสามารถในการใช้เสียงได้ ซึ่งก็หมายความว่าจะได้ยินลูกน้อยพูดคำว่า ‘คุณแม่’ และ ‘พ่อ’ ได้ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการของเด็กกล่าวว่า นี่ยังเร็วเกินไปที่ลูกน้อยจะรู้จักความหมายที่แท้จริงของคำพวกนั้น

อาจกระตุ้นให้ลูกพยายามที่จะสื่อสารออกมา ด้วยการลอกเลียนแบบการแสดงออกและเลียนเสียงของลูก ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยพยายามเลียนแบบเช่นกัน เช่น พูดคำว่า “บา” และลูกอาจจะพยายามพูดเลียนเสียงกลับมา

การโต้ตอบเมื่อลูกทำเสียงหรือพยายามพูดอะไรออกมา จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงความสำคัญของภาษา และเข้าใจเหตุและผลได้ดีขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มความยอมรับนับถือในตัวเองให้ลูกด้วย เมื่อลูกเริ่มสังเกตว่าพูดอะไรออกไปแล้วใคร ๆ ก็ให้ความสนใจ

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17

  • ยกศีรษะขึ้น 90 องศา เมื่อนอนราบ
  • หัวเราะเสียงดัง
  • รู้จักใช้เสียงพื้นฐานในการสื่อสาร
  • พูดคำง่าย ๆ ได้เช่น “คุณแม่” และ “พ่อ” แต่ยังไม่เข้าใจความหมายจริงๆ
  • คลานตามวัตถุที่อยู่ห่าง 15 เซนติเมตรได้ และหันได้ 180 องศา หันจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

สามารถกระตุ้นให้ลูกน้อยพูดคุย โดยการให้นั่งอยู่หน้ากระจก หรือพยามเลียนเสียงที่ลูกน้อยพูด นอกจากนี้ก็ควรโต้ตอบกลับไป เมื่อลูกน้อยเปล่งเสียงหรือพยายามพูดอะไรออกมา เพื่อช่วยให้ลูกเข้าใจถึงความสำคัญของภาษา และความเข้าใจวิธีที่เราใช้ในการสื่อสาร

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

คุณหมอแต่ละคนจะมีวิธีการตรวจสุขภาพลูกน้อยต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน การทดสอบทางกายภาพ รวมทั้งการทดสอบอื่น ๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป แต่สามารถมีส่วนร่วมและปรึกษาเกี่ยวกับปัญหานี้ได้ หลังจากที่เด็กได้รับการตรวจสุขภาพ

  • บอกเล่าให้หมอฟังว่า และลูกใช้ชีวิตอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน การนอน และการเจริญเติบโต รวมทั้งวิธีการดูแลลูกน้อย
  • คุณหมอจะทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดขนาดของศีรษะของทารก รวมทั้งพิจารณาการเจริญเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิด

สิ่งที่ควรรู้

การติดเชื้อในหู

การติดเชื้อในหูหรือที่เรียกว่าโรคหูน้ำหนวกอักเสบเฉียบพลันนั้น มักเกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียติดอยู่ในของเหลวที่อยู่หลังแก้วหู การติดเชื้อทำให้เกิดอาการบวมและมีไข้ การติดเชื้อในหูเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งเด็กแรกเกิดมากกว่าครึ่งมักจะเป็นโรคนี้

อาการของโรคนี้ก็คือ

  • เบื่ออาหาร การติดเชื้อในหูอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อลูกน้อยเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
  • ดึงหูอยู่ตลอดเวลา
  • มีไข้ตั้งแต่ 38 ถึง 40 องศาเซลเซียส
  • มีอาการหนาวสั่น ความดันในหูอาจส่งผลให้ทารกเกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกกลืนอาหารหรือกำลังนอน
  • หูเป็นน้ำหนวก ซึ่งอาจจะมีสีเหลือง ขาว หรือสีแดงแบบสีเลือด
  • อาการท้องร่วง การติดเชื้อที่หูมักเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไว้รัสอาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้

อาการติดเชื้อในหูมักจะหายไปเองเมื่อถึงช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่คุณหมออาจให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่รุนแรง ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายขึ้นได้ คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดและลดไข้ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นภายในสองวัน

เพื่อเป็นป้องกันการติดเชื้อในหู นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรต้องเฝ้าระวัง

  • ดูแลลูกน้อยให้อยู่ห่างจากควันไฟ เนื่องจากควันไฟทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงได้
  • ให้ลูกกินนมคุณแม่ต่อไป เพราะผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าทารกที่กินนมคุณแม่มีโอกาสจะติดเชื้อในหูได้น้อย
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กได้รับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดบวมและไข้หวัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในหู
  • ให้ใช้จุกนมปลอมในระยะเวลาจำกัด เพราะผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าจุกนมปลอมทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในหู

การช่วยลูกน้อยให้ลุกขึ้นยืน

หากลูกน้อยไม่สามารถลุกขึ้นเองได้ ก็แสดงว่าลูกต้องการให้ช่วย ถ้าเกิดลื่นไถลเนื่องจากกล้ามเนื้อคอและหลังของลูกน้อยยังพัฒนาไม่เต็มที่ ฉะนั้นจึงควรพยุงลูกน้อยที่มีอายุ 3-4 เดือนแล้วตอนนี้ ซึ่งจะช่วยให้ลูกรักษาสมดุลของศีรษะและไม่ลื่นล้ม

การจับให้ลูกอยู่ในท่านั่งจะช่วยให้ลูกสามารถมองได้ไกลขึ้น แทนที่จะมองขึ้นไปบนฟ้า หรือมองจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งในรถเข็น การอยู่ในท่านั่งจะทำให้ลูกสามารถมองเห็นคนเดินผ่านไปมา ร้านค้า บ้าน ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง รถบนถนน และสิ่งรอบตัวลูก ลูกจะรู้สึกสนุกสนานกว่าการนอนมองอะไร ๆ เวลาที่อยู่ในท่านั่งจะทำให้ลูกเล่นซนน้อยลง ซึ่งช่วยให้เหนื่อยน้อยลงด้วย

เด็กที่อ้วนเกินไป

รูปร่างที่อ้วนของลูกน้อยไม่จำเป็นต้องมาจากการรับประทานอาหาร ฉะนั้นแทนที่จะพยายามลดน้ำหนักให้ลูกน้อย ก็ควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักของลูกน้อย ซึ่งเมื่อลูกน้อยโตขึ้นและมีความคล่องตัวมากขึ้น ลูกจะมีรูปร่างผอมลงเรื่อย ๆ และนี่คือเคล็ดลับที่ช่วยระวังเรื่องน้ำหนักให้ลูกน้อยได้

  • ป้อนนมคุณแม่ในยามที่ลูกหิวเท่านั้น
  • ปรับเปลี่ยนอาหารเมื่อจำเป็น
  • สอนลูกให้ดื่มน้ำ และไม่รับประทานของที่มีพลังงานสูง
  • ไม่ควรให้ลูกหย่านมเร็วเกินไปเพียงเพื่อจะให้ลูกนอนหลับได้ตลอดทั้งคืน วิธีนี้นอกจากจะไม่เวิร์คแล้ว ยังทำให้เด็กน้ำหนักขึ้นด้วย
  • ควบคุมอาหารของลูกน้อย
  • กระตุ้นให้ลูกมีความเคลื่อนไหวมากกว่าเดิม

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ลูกไม่ดื่มนมจากเต้า

การปฏิเสธนมคุณแม่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุบางอย่าง ซึ่งก็ได้แก่

  • อาหารที่รับประทาน ลูกน้อยอาจเห็นกินอาหารบางอย่าง เลยทำให้ไม่อยากจะกินนมคุณแม่ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกนั้นจนกว่าลูกจะหย่านมแล้ว
  • ลูกน้อยเป็นหวัด เมื่อจมูกมีน้ำมูก ลูกน้อยจะไม่สามารถหายใจได้ ซึ่งจะทำให้ลูกต้องหายใจทางปากแทน จึงทำให้กินอาหารไม่ถนัด
  • ฟันของเด็ก แม้ว่าลูกจะไม่มีฟันจนกว่าจะมีอายุอย่างน้อย 5-6 เดือน แต่ลูกบางบ้านเริ่มมีฟันเร็วกว่าปกติ บ่อยครั้งฟันของลูกจะโตขึ้น 1-2 ซี่ในช่วง 4 เดือนแรก การให้อาหารจะทำให้เกิดการดันเหงือก และอาจทำให้เหงือกบวมจนรู้สึกไม่สบายได้
  • มีอาการปวดหู
  • เป็นแผลในปาก
  • น้ำนมไหลช้า เมื่อลูกหิวมาก ๆ ลูกจะหมดความอดทนถ้าน้ำนมไหลช้าเกินไป
  • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของมารดา คุณแม่มือใหม่จะผลิตฮอร์โมนซึ่งทำให้รสชาติของน้ำนมเปลี่ยนไป ลูกน้อยจึงอาจปฎิเสธนมคุณแม่ได้
  • คุณแม่มีความเครียด
  • ลูกน้อยกำลังเตรียมจะหย่านม

อาจลองวิธีดังต่อไปนี้

  • อย่าพยายามให้ลูกน้อยดื่มนมชนิดอื่นๆ
  • พยายามเทนมใส่ขวด
  • ลองพยายามไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าลูกจะปฏิเสธนมคุณแม่ แต่ถ้าผ่านไปซักพักลูกอาจกลับมากินนมคุณแม่อีกก็ได้
  • ป้อนอาหารแข็งให้ลูกน้อยกินอย่างช้าๆ

หากลูกยังปฏิเสธนมคุณแม่ หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการเลี้ยงดูลูก

เปลี่ยนผ้าอ้อมได้ลำบาก

ถ้าก่อนหน้านี้ลูกน้อยไม่ให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนผ้าอ้อม อาจจะเปลี่ยนผ้าอ้อมได้ยากขึ้น ลูกน้อยจะรู้สึกอึดอัดและจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้สวมผ้าอ้อม ซึ่งนั่นจะทำให้การเปลี่ยนผ้าอ้อมกลายเป็นเรื่องยาก เคล็ดลับคือควรทำอย่างรวดเร็ว โดยการเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ให้พร้อม ก่อนจะวางลูกน้อยลงบนโต๊ะ แล้วทำการเปลี่ยนผ้าอ้อม นอกจากนี้ควรทำเสียง เพื่อดึงดูดความสนใจของพวกลูก เช่น เสียงจากโทรศัพท์มือถือ กล่องดนตรี หรือของเล่นที่ลูกน้อยชอบ หลอกล่อให้ลูกน้อยสนใจกับเสียงเพลงหรือการพูดคุย เพื่อที่จะได้เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกได้ง่ายขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Murkoff, Heidi. What to Expect, The First Year. New York: Workman Publishing Company, 2009. Print. Page 289-309

17 Week Old Baby Development. https://www.parents.com/baby/development/17-week-old-baby-development/

Your 17 Week Old Baby – Development, Milestones & Care. https://parenting.firstcry.com/articles/your-17-week-old-baby/

Important Milestones: Your Baby By Six Months. https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-6mo.html. Accessed 30, 2022

Infant development: Milestones from 4 to 6 months. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/infant-development/art-20048178. Accessed 30, 2022

Baby Development: Your 4-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-4-month-old. Accessed 30, 2022

Your baby’s growth and development – 4 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-4-months-old. Accessed 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการกรดไหลย้อนในเด็ก และการรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

นม กับประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็ก ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา