backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 หรือประมาณ 4 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจเริ่มมีพัฒนาการด้านการสื่อสารมากขึ้น อาจพยายามเปร่งเสียงเลียนแบบคำง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น แม่ พ่อ รวมถึงอาจพยายามอ้อแอ้เพื่อสื่อสารกับพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่อาจลองพยายามพูดคุยกับลูกให้มาก ๆ เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังควรดูแลและเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อในหู ที่อาจส่งผลให้เด็กมีอาการเบื่ออาการ มีไข้ หูหนวก และร้องไห้งอแงได้

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    นักวิจัยเชื่อว่าลูกน้อยสามารถเข้าใจเสียงพื้นฐานในภาษาพูดแล้ว ซึ่งตั้งแต่ตอนนี้จนถึงอายุ 6 เดือน ลูกจะพัฒนาความสามารถในการใช้เสียงได้ ซึ่งก็หมายความว่าจะได้ยินลูกน้อยพูดคำว่า ‘คุณแม่’ และ ‘พ่อ’ ได้ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการของเด็กกล่าวว่า นี่ยังเร็วเกินไปที่ลูกน้อยจะรู้จักความหมายที่แท้จริงของคำพวกนั้น

    อาจกระตุ้นให้ลูกพยายามที่จะสื่อสารออกมา ด้วยการลอกเลียนแบบการแสดงออกและเลียนเสียงของลูก ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยพยายามเลียนแบบเช่นกัน เช่น พูดคำว่า “บา” และลูกอาจจะพยายามพูดเลียนเสียงกลับมา

    การโต้ตอบเมื่อลูกทำเสียงหรือพยายามพูดอะไรออกมา จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงความสำคัญของภาษา และเข้าใจเหตุและผลได้ดีขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มความยอมรับนับถือในตัวเองให้ลูกด้วย เมื่อลูกเริ่มสังเกตว่าพูดอะไรออกไปแล้วใคร ๆ ก็ให้ความสนใจ

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17

    • ยกศีรษะขึ้น 90 องศา เมื่อนอนราบ
    • หัวเราะเสียงดัง
    • รู้จักใช้เสียงพื้นฐานในการสื่อสาร
    • พูดคำง่าย ๆ ได้เช่น “คุณแม่” และ “พ่อ” แต่ยังไม่เข้าใจความหมายจริงๆ
    • คลานตามวัตถุที่อยู่ห่าง 15 เซนติเมตรได้ และหันได้ 180 องศา หันจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    สามารถกระตุ้นให้ลูกน้อยพูดคุย โดยการให้นั่งอยู่หน้ากระจก หรือพยามเลียนเสียงที่ลูกน้อยพูด นอกจากนี้ก็ควรโต้ตอบกลับไป เมื่อลูกน้อยเปล่งเสียงหรือพยายามพูดอะไรออกมา เพื่อช่วยให้ลูกเข้าใจถึงความสำคัญของภาษา และความเข้าใจวิธีที่เราใช้ในการสื่อสาร

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    คุณหมอแต่ละคนจะมีวิธีการตรวจสุขภาพลูกน้อยต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน การทดสอบทางกายภาพ รวมทั้งการทดสอบอื่น ๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป แต่สามารถมีส่วนร่วมและปรึกษาเกี่ยวกับปัญหานี้ได้ หลังจากที่เด็กได้รับการตรวจสุขภาพ

    • บอกเล่าให้หมอฟังว่า และลูกใช้ชีวิตอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน การนอน และการเจริญเติบโต รวมทั้งวิธีการดูแลลูกน้อย
    • คุณหมอจะทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดขนาดของศีรษะของทารก รวมทั้งพิจารณาการเจริญเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิด

    สิ่งที่ควรรู้

    การติดเชื้อในหู

    การติดเชื้อในหูหรือที่เรียกว่าโรคหูน้ำหนวกอักเสบเฉียบพลันนั้น มักเกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียติดอยู่ในของเหลวที่อยู่หลังแก้วหู การติดเชื้อทำให้เกิดอาการบวมและมีไข้ การติดเชื้อในหูเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งเด็กแรกเกิดมากกว่าครึ่งมักจะเป็นโรคนี้

    อาการของโรคนี้ก็คือ

    • เบื่ออาหาร การติดเชื้อในหูอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อลูกน้อยเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
    • ดึงหูอยู่ตลอดเวลา
    • มีไข้ตั้งแต่ 38 ถึง 40 องศาเซลเซียส
    • มีอาการหนาวสั่น ความดันในหูอาจส่งผลให้ทารกเกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกกลืนอาหารหรือกำลังนอน
    • หูเป็นน้ำหนวก ซึ่งอาจจะมีสีเหลือง ขาว หรือสีแดงแบบสีเลือด
    • อาการท้องร่วง การติดเชื้อที่หูมักเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไว้รัสอาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้

    อาการติดเชื้อในหูมักจะหายไปเองเมื่อถึงช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่คุณหมออาจให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่รุนแรง ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายขึ้นได้ คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดและลดไข้ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นภายในสองวัน

    เพื่อเป็นป้องกันการติดเชื้อในหู นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรต้องเฝ้าระวัง

    • ดูแลลูกน้อยให้อยู่ห่างจากควันไฟ เนื่องจากควันไฟทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงได้
    • ให้ลูกกินนมคุณแม่ต่อไป เพราะผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าทารกที่กินนมคุณแม่มีโอกาสจะติดเชื้อในหูได้น้อย
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กได้รับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดบวมและไข้หวัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในหู
    • ให้ใช้จุกนมปลอมในระยะเวลาจำกัด เพราะผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าจุกนมปลอมทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในหู

    การช่วยลูกน้อยให้ลุกขึ้นยืน

    หากลูกน้อยไม่สามารถลุกขึ้นเองได้ ก็แสดงว่าลูกต้องการให้ช่วย ถ้าเกิดลื่นไถลเนื่องจากกล้ามเนื้อคอและหลังของลูกน้อยยังพัฒนาไม่เต็มที่ ฉะนั้นจึงควรพยุงลูกน้อยที่มีอายุ 3-4 เดือนแล้วตอนนี้ ซึ่งจะช่วยให้ลูกรักษาสมดุลของศีรษะและไม่ลื่นล้ม

    การจับให้ลูกอยู่ในท่านั่งจะช่วยให้ลูกสามารถมองได้ไกลขึ้น แทนที่จะมองขึ้นไปบนฟ้า หรือมองจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งในรถเข็น การอยู่ในท่านั่งจะทำให้ลูกสามารถมองเห็นคนเดินผ่านไปมา ร้านค้า บ้าน ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง รถบนถนน และสิ่งรอบตัวลูก ลูกจะรู้สึกสนุกสนานกว่าการนอนมองอะไร ๆ เวลาที่อยู่ในท่านั่งจะทำให้ลูกเล่นซนน้อยลง ซึ่งช่วยให้เหนื่อยน้อยลงด้วย

    เด็กที่อ้วนเกินไป

    รูปร่างที่อ้วนของลูกน้อยไม่จำเป็นต้องมาจากการรับประทานอาหาร ฉะนั้นแทนที่จะพยายามลดน้ำหนักให้ลูกน้อย ก็ควรชะลอการเพิ่มน้ำหนักของลูกน้อย ซึ่งเมื่อลูกน้อยโตขึ้นและมีความคล่องตัวมากขึ้น ลูกจะมีรูปร่างผอมลงเรื่อย ๆ และนี่คือเคล็ดลับที่ช่วยระวังเรื่องน้ำหนักให้ลูกน้อยได้

    • ป้อนนมคุณแม่ในยามที่ลูกหิวเท่านั้น
    • ปรับเปลี่ยนอาหารเมื่อจำเป็น
    • สอนลูกให้ดื่มน้ำ และไม่รับประทานของที่มีพลังงานสูง
    • ไม่ควรให้ลูกหย่านมเร็วเกินไปเพียงเพื่อจะให้ลูกนอนหลับได้ตลอดทั้งคืน วิธีนี้นอกจากจะไม่เวิร์คแล้ว ยังทำให้เด็กน้ำหนักขึ้นด้วย
    • ควบคุมอาหารของลูกน้อย
    • กระตุ้นให้ลูกมีความเคลื่อนไหวมากกว่าเดิม

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ลูกไม่ดื่มนมจากเต้า

    การปฏิเสธนมคุณแม่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุบางอย่าง ซึ่งก็ได้แก่

    • อาหารที่รับประทาน ลูกน้อยอาจเห็นกินอาหารบางอย่าง เลยทำให้ไม่อยากจะกินนมคุณแม่ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกนั้นจนกว่าลูกจะหย่านมแล้ว
    • ลูกน้อยเป็นหวัด เมื่อจมูกมีน้ำมูก ลูกน้อยจะไม่สามารถหายใจได้ ซึ่งจะทำให้ลูกต้องหายใจทางปากแทน จึงทำให้กินอาหารไม่ถนัด
    • ฟันของเด็ก แม้ว่าลูกจะไม่มีฟันจนกว่าจะมีอายุอย่างน้อย 5-6 เดือน แต่ลูกบางบ้านเริ่มมีฟันเร็วกว่าปกติ บ่อยครั้งฟันของลูกจะโตขึ้น 1-2 ซี่ในช่วง 4 เดือนแรก การให้อาหารจะทำให้เกิดการดันเหงือก และอาจทำให้เหงือกบวมจนรู้สึกไม่สบายได้
    • มีอาการปวดหู
    • เป็นแผลในปาก
    • น้ำนมไหลช้า เมื่อลูกหิวมาก ๆ ลูกจะหมดความอดทนถ้าน้ำนมไหลช้าเกินไป
    • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของมารดา คุณแม่มือใหม่จะผลิตฮอร์โมนซึ่งทำให้รสชาติของน้ำนมเปลี่ยนไป ลูกน้อยจึงอาจปฎิเสธนมคุณแม่ได้
    • คุณแม่มีความเครียด
    • ลูกน้อยกำลังเตรียมจะหย่านม

    อาจลองวิธีดังต่อไปนี้

    • อย่าพยายามให้ลูกน้อยดื่มนมชนิดอื่นๆ
    • พยายามเทนมใส่ขวด
    • ลองพยายามไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าลูกจะปฏิเสธนมคุณแม่ แต่ถ้าผ่านไปซักพักลูกอาจกลับมากินนมคุณแม่อีกก็ได้
    • ป้อนอาหารแข็งให้ลูกน้อยกินอย่างช้าๆ

    หากลูกยังปฏิเสธนมคุณแม่ หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการเลี้ยงดูลูก

    เปลี่ยนผ้าอ้อมได้ลำบาก

    ถ้าก่อนหน้านี้ลูกน้อยไม่ให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนผ้าอ้อม อาจจะเปลี่ยนผ้าอ้อมได้ยากขึ้น ลูกน้อยจะรู้สึกอึดอัดและจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้สวมผ้าอ้อม ซึ่งนั่นจะทำให้การเปลี่ยนผ้าอ้อมกลายเป็นเรื่องยาก เคล็ดลับคือควรทำอย่างรวดเร็ว โดยการเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ให้พร้อม ก่อนจะวางลูกน้อยลงบนโต๊ะ แล้วทำการเปลี่ยนผ้าอ้อม นอกจากนี้ควรทำเสียง เพื่อดึงดูดความสนใจของพวกลูก เช่น เสียงจากโทรศัพท์มือถือ กล่องดนตรี หรือของเล่นที่ลูกน้อยชอบ หลอกล่อให้ลูกน้อยสนใจกับเสียงเพลงหรือการพูดคุย เพื่อที่จะได้เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกได้ง่ายขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา