backup og meta

เด็กคว่ำกี่เดือน และการฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธี

เด็กคว่ำกี่เดือน และการฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธี

เด็กคว่ำกี่เดือน อาจเป็นหนึ่งในคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบคำตอบ เพื่อใช้ตรวจสอบว่าพัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างเหมาะสมตามวัยหรือไม่ ปกติแล้ว เด็กทารกจะเริ่มรู้จักพลิกตัวและคว่ำเองได้ตั้งแต่อายุประมาณ 4-6 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกให้เด็กนอนคว่ำได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์ การฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้กับเด็ก อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีพฤติกรรมที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะพัฒนาการล่าช้า ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

เด็กคว่ำกี่เดือน

โดยเด็กทารกส่วนใหญ่มักจะเริ่มคว่ำตัวเองได้ตอนอายุประมาณ 4 เดือน แล้วจากนั้นถึงจะเรียนรู้การพลิกตัวจากท่าคว่ำไปนอนหงาย ในขณะนอนคว่ำ เด็กจะเริ่มเอื้อมมือและขยับนิ้วมือหยิบจับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และชันคอขึ้นเพื่อมองสิ่งรอบตัว เป็นพัฒนาการก้าวเริ่มต้นไปสู่การนั่ง คลาน และเดินได้ด้วยตัวเองทั้งนี้ เด็กแต่ละคนอาจพลิกคว่ำได้เร็วช้าแตกต่างกัน บางรายคว่ำได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน ในขณะที่บางรายคว่ำได้ตอนอายุประมาณ 6 เดือน แต่หากเด็กอายุ 6 เดือนแล้วยังไม่เริ่มพลิกคว่ำ อาจต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า

ประโยชน์ของการฝึกให้เด็กนอนคว่ำ

คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้เด็กนอนคว่ำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยอาจเริ่มให้เด็กฝึกนอนคว่ำบนอกหรือลำตัวของคุณพ่อคุณแม่ 1-2 นาที หรือ 2-3 นาทีต่อวัน และอาจเพิ่มเวลาเป็น 10-15 นาทีต่อครั้ง วันละหลาย ๆ ครั้ง เมื่อเด็กโตขึ้น การฝึกนอนคว่ำอาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณคอ แขน และไหล่ ทำให้เด็กหัดลุกขึ้นนั่ง พลิกตัว คลาน และเดินได้ นอกจากนี้ ในขณะนอนคว่ำ เด็กยังสามารถฝึกทักษะการมองเห็นและได้สังเกตสิ่งต่าง ๆ ได้รอบด้านขึ้น ทั้งบน ล่าง ซ้ายและขวา (เน้นย้ำว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องอยู่ด้วยตลอดเวลาขณะฝึกลูกคว่ำ)

วิธีฝึกให้เด็กนอนคว่ำ

การฝึกให้เด็กนอนคว่ำหรือที่เรียกว่า Tummy Time อย่างปลอดภัย อาจทำได้ดังนี้

  • ฝึกให้เด็กนอนคว่ำบนพื้นราบเรียบเสมอกับที่ปูผ้าที่ห่มหรือเสื่อเอาไว้ หากเด็กไม่ชอบนอนคว่ำบนพื้น อาจจับเด็กนอนคว่ำบนตักหรือหน้าอกคุณพ่อคุณแม่แทนก็ได้ คุณพ่อคุณแม่นอนหงาย แล้วจึงอุมลูกมาคว่ำบนหน้าอก) ทั้งนี้ในขณะฝึกให้เด็กนอนคว่ำ คุณพ่อคุณแม่หรือพี่เลี้ยงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด แรกเริ่มใช้เวลาเพียง 1-2 นาที
  • วางของเล่นที่เด็กคุ้นเคยไว้รอบตัวของเด็ก ขยับของเล่นไปมาตรงหน้าเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ขยับตัว ชันคอและหันศีรษะไปมา พูดคุยกับเด็ก หรือร้องเพลงมีเสียงสูงต่ำ เพื่อสร้างบรรยากาศสนุกสบาย
  • หากฝึกน้องคว่ำบนพื้นราบ คุณพ่อคุณแม่สามารถลงไปนอนเล่นข้าง ๆ เด็กและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กได้ เช่น เลือกหนังสือนิทานภาพมาพลิกเปิดดูไปพร้อมกัน ร้องเพลงหรือพูดคุยกับเด็กในขณะที่เด็กกำลังนอนคว่ำ วิธีเหล่านี้อาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็กและดึงความสนใจของเด็กให้จดจ่อกับกิจกรรมตรงหน้า
  • วางกระจกที่ไม่แตกง่าย เช่นกระจกที่ทำจากพลาสติก ให้เด็กได้ใช้เวลาในการมองหรือสัมผัสภาพสะท้อนของตัวเอง อาจช่วยในการพัฒนาประสาทสัมผัส สร้างการตระหนักรู้ในตัวเอง ช่วยในการเรียนรู้เรื่องรูปทรงของใบหน้า และกระตุ้นให้เด็กตอบสนองต่อสิ่งที่เห็น

สัญญาณพัฒนาการล่าช้า ที่ควรไปพบคุณหมอ

ช่วงวัย 4-6 เดือน หากเด็กมีพฤติกรรมหรือภาวะเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า และควรพาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุ และหาวิธีรักษาที่เหมาะสมโดยด่วน

  • ไม่มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวศีรษะ
  • ไม่มีการตอบสนองต่อเสียง เช่น ไม่สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง
  • ไม่พยายามพลิกตัวหรือพยายามลุกขึ้นนั่ง
  • ใช้มือข้างเดียวเอื้อมมือหยิบของทุกครั้ง ไม่มีการเปลี่ยนมือ
  • ไม่เอื้อมหยิบสิ่งของเข้าปาก
  • ไม่พูดอ้อแอ้คนเดียว
  • แขนขาเด็กตึง บิดเกร็ง
  • ดูอ่อนแรงผิดปกติ ตัวอ่อน
  • ไม่ร่าเริง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมเมื่ออยู่กับคนเยอะ ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health Benefits of Pineapple. https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-health-benefits-pineapple/. Accessed May 19, 2022

Pineapple, raw, all varieties. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/169124/nutrients. Accessed May 19, 2022

Antioxidant Activity of Crude Bromelain of Pineapple (Ananas comosus (L.) Merr) Crown from Subang District, Indonesia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7020843/. Accessed May 19, 2022

Bromelain as a Treatment for Osteoarthritis: a Review of Clinical Studies. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC538506/#b30. Accessed May 19, 2022

Potential role of bromelain in clinical and therapeutic applications (Review). https://www.spandidos-publications.com/10.3892/br.2016.720#b62-br-0-0-720. Accessed May 19, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/07/2022

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท่าอุ้มทารก และวิธีอุ้มทารกอย่างปลอดภัย

ทารก1เดือน พัฒนาการ และการดูแล


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 29/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา