backup og meta

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้นมลูก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้นมลูก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

คุณแม่มือใหม่มักจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับ การให้นมลูก จากเหล่าคุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน หรือจากเพื่อนๆ และญาติๆ ซึ่งบางคำแนะนำก็อาจเป็นความเข้าใจผิดที่สืบต่อกันมา ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้นมลูก รวมถึงปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การให้นมลูก

ความเข้าใจผิดที่ 1 ถ้าทารกกินนมแม่บ่อย แสดงว่าลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ

ทารกกินนมแม่บ่อย อาจไม่ได้หมายความว่าลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ เนื่องจากนมแม่ง่ายต่อการย่อย เด็กจึงมักจะรู้สึกหิวเร็วกว่า เมื่อเทียบกับการกินนมผง นอกจากนี้เวลาที่เหมาะสมที่ควรให้นมลูก คือทุกๆ 2-3 ชั่วโมง

ความเข้าใจผิดที่ 2 หยุดให้นมลูกสักพัก จะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น

ความจริงแล้ว ยิ่งให้นมลูกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีน้ำนมมากขึ้น ดังนั้นความเชื่อที่ว่าควรหยุดให้นมลูกเพื่อให้มีน้ำนมมาก จึงไม่ถูกต้องนัก นอกจากนี้คุณแม่บางคนอาจคิดว่า ควรหยุดปั๊มน้ำนมในช่วงกลางวัน เพื่อเก็บไปปั๊มน้ำนมทีเดียวตอนกลางคืน แต่ความจริงแล้วในวันต่อมา อาจมีน้ำนมน้อยลง ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า ควรปั๊มน้ำนมประมาณ 9-10 ครั้งต่อวัน

ความเข้าใจผิดที่ 3 เป็นเรื่องปกติที่จะเจ็บหัวนม เวลาให้นมลูก

คุณแม่ทุกคนย่อมรู้สึกไม่สบายตัว ในช่วงวันสองวันแรกของการให้นมลูก แต่เมื่อเรียนรู้การให้นมลูกแล้ว ก็จะรู้วิธีที่ถูกต้องที่ไม่ทำให้เจ็บหัวนม แต่หากคุณแม่มีอาการเจ็บหัวนมไม่หาย หรือเจ็บทุกครั้งที่ให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์

ความเข้าใจผิดที่ 4 นมผงทำให้ลูกนอนหลับดีกว่า

งานวิจัยชี้ว่าเด็กที่กินนมผงอาจนอนหลับนานขึ้น แต่คุณภาพนอนหลับอาจไม่ได้ดีขึ้น เนื่องจากนมผงไม่ได้ย่อยอย่างรวดเร็ว และอาจยืดระยะเวลาในการให้นมลูก จึงทำให้เด็กนอนหลับนานขึ้น นอกจากนี้ โดยปกติแล้วการกินนมแม่ ทารกจะเริ่มนอนหลับนานขึ้น ในสัปดาห์ที่ 4 และหลับนานพอๆ กับการกินนมผง

ความเข้าใจผิดที่ 5 การให้นมลูก ทำให้ขนาดและรูปทรงของเต้านมจะเปลี่ยนไป

บางคนเชื่อว่าการให้นมลูก อาจทำให้ขนาดและรูปทรงของเต้านมเปลี่ยนไป แต่ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า ‘ไม่เสมอไป’ เนื่องจากการให้นมลูกอาจไม่ใช่สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม มากไปกว่านั้น ความจริงแล้วการให้นมลูกช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ในอนาคตอีกด้วย

ความเข้าใจผิดที่ 6 ไม่ควรปลุกลูก

ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่า ถ้าปกติแล้วทารกนอนหลับหลังจากกินนมแม่ ก็ไม่เป็นไรถ้าจะปล่อยให้ลูกนอนหลับนานกว่าปกติ แต่คุณแม่ไม่ควรให้เด็กๆ นอนหลับนาน โดยคุณแม่สามารถปลุกให้ลูกตื่นขึ้นมากินนม ทุกๆ 2 ชั่วโมงครึ่งหรือทุกๆ 3 ชั่วโมงได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

7 Myths About Breastfeeding. https://www.webmd.com/parenting/baby/features/breastfeeding-myths#1. Accessed on June 21 2019.

Busted: 14 myths about breastfeeding. https://www.unicef.org/parenting/food-nutrition/14-myths-about-breastfeeding. Accessed on June 21 2019.

Breastfeeding Myths: Experts Set the Record Straight. https://www.parents.com/baby/breastfeeding/basics/breastfeeding-myths-experts-set-the-record-straight/. Accessed on June 21 2019.

Breastfeeding https://www.who.int/health-topics/breastfeeding#tab=tab_1. Accessed November 28, 2022.

Breastfeeding. https://www.nhs.uk/start4life/baby/feeding-your-baby/breastfeeding/. Accessed November 28, 2022.

Breastfeeding. https://www.cdc.gov/breastfeeding/index.htm. Accessed November 28, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/07/2023

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ เกิดจากสาเหตุใด แก้ไขยังไงได้บ้าง

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ ส่งผลกระทบอย่าไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา