backup og meta

สารอาหารกับเด็ก มีความสำคัญอย่างไร

สารอาหารกับเด็ก มีความสำคัญอย่างไร

สารอาหารกับเด็ก ถือเป็นเรื่องที่ต้องมาคู่กันเสมอ เนื่องจาก เด็กเป็นวัยที่ต้องการสารอาหาร เพื่อไปเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการการเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ เช่น พัฒนาการด้านสมอง โดยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กไม่ได้มีแค่วิตามินและแร่ธาตุเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่อาจช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และช่วยส่งเสริมพัฒนาการใดด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นด้วย

สารอาหาร คืออะไร

สารอาหาร คือ อาหารที่ให้พลังงานและเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตของร่างกายและการสืบพันธุ์ โดยสารอาหารอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สารอาหารหลัก (Macronutrients) และสารอาหารรอง (Micronutrients) ที่ให้พลังงานช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย รวมถึงอาจมีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวของกับระบบการทำงานอื่น ๆ เช่น การสร้างพลังงาน การย่อยสารอาหาร หากขาดสารอาหารหรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็อาจส่งผลต่อระบบการทำงานในร่างกายโดยรวมได้

สารอาหารกับเด็ก มีอะไรบ้าง

สารอาหารที่นอกเหนือกจากวิตามินและแร่ธาตุที่อาจมีความสำคัญต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็ก อาจมีดังนี้

กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA)

กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือดีเอชเอ คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัว เป็นสารอาหารที่จำเป็สำหรับทารกไปจนถึงเด็กอายุ 2 ขวบ เนื่องจาก สารอาหารชนิดนี้อาจเข้าไปช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับร่างกาย รวมไปถึงช่วยในเรื่องของการพัฒนาสมอง นอกจากนี้ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 ยังเป็นสารอาหารที่อาจช่วยปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของเด็ก ๆ ได้อีกด้วย เมื่อเด็กได้รับสารชนิดนี้มากเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็อาจช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น โดยดีเอชเออาจพบได้มากในอาหารทะเลที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ หรือปลาแอนโชวี่ เนื้อสัตว์ อาหารที่ทำจากนม หรืออาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก

กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA)

กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก จัดอยู่ในกลุ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นสารอาหารอีกหนึ่งชนิดที่อาจช่วยในเรื่องของการพัฒนา และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเด็กให้แข็งแรง เมื่อภูมิคุ้มกันแข็งแรงก็จะทำให้เด็กปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคผิวหนัง รวมถึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย โดยกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกอาจพบได้มากในอาหารจำพวกปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำเย็น ได้แก่ แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล ซาร์ดีน

แกมมาไลโนเลนิก แอซิด (Gamma-Linolenic Acid หรือ GLA)

แกมมาไลโนเลนิก แอซิด เป็นสารอาหารสำคัญที่อยู่ในรูปแบบกรดไขมันเช่นเดียวกับโอเมก้า 6 การบริโภคแกมมาไลโนเลนิก แอซิดในปริมาณที่เพียงพอ ไม่เพียงแต่จะช่วยบำรุงสมองของเด็กให้แข็งแรง ยังช่วยบำรุงกระดูกและผิวให้ดีขึ้นอีกด้วย โดยแกมมาไลโนเลนิก แอซิด อาจพบได้ในน้ำมันอีฟนิงพริมโรส น้ำมันโบราจ ตังกุย ขิง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

EPA (EICOSAPENTAENOIC ACID). https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-994/epa-eicosapentaenoic-acid. Accessed October 21, 2019

Feeding your baby: 6–12 months. https://www.unicef.org/parenting/food-nutrition/feeding-your-baby-6-12-months#:~:text=In%20addition%20to%20grains%20and%20potatoes%2C%20be%20sure%20your%20baby,all%20the%20nutrients%20he%20needs. Accessed June 09, 2022

Infant and Toddler Nutrition. https://www.cdc.gov/nutrition/infantandtoddlernutrition/index.html. Accessed June 09, 2022

Infant Nutrition: The First 6 Months. https://www.webmd.com/parenting/baby/nutrition. Accessed June 09, 2022

Infant and young child feeding. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/infant-and-young-child-feeding. Accessed June 09, 2022

Healthy food for babies and toddlers: the five food groups. https://raisingchildren.net.au/toddlers/nutrition-fitness/daily-food-guides/babies-toddlers-food-groups. Accessed June 09, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/06/2022

เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินและแร่ธาตุ สำหรับเด็ก มีอะไรบ้างที่จำเป็นต่อร่างกาย

วิตามิน ควรกินเวลาไหน เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 09/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา