ลูกน้อยวัย 15 เดือน หรือประมาณ 1 ขวบนิด ๆ เป็นช่วงวัยที่อาจเริ่มมีพัฒนาการด้านการเดินแล้ว อีกทั้งพัฒนาการด้านการพูดก็อาจเพิ่มขึ้นจนทำให้สามารถพูดได้บ้างเล็กน้อยเช่นกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการดูแลลูกที่เหมาะสม รวมถึงคอยสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการล่าช้า เช่น ไม่ยอมพูด ไม่ยอมเดิน ไม่สบตา และควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาในทันที
การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 15 เดือน
ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง
ขณะนี้ลูกน้อยมีอายุได้ 15 เดือนแล้ว เมื่อมาถึงตอนนี้เขาน่าจะเริ่มหัดเดินแล้ว จัดสถานที่ให้เขาใช้เป็นที่หัดเดินซะ ถ้าเขาหกล้มก็ไม่ต้องเป็นกังวล นี่เป็นวิธีที่เขาเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกดันกล่อง หรือดันรถเข็นเด็ก ซึ่งจะทำให้ลูกได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวได้
ลูกน้อยอาจเริ่มอยากเป็นอิสระมากขึ้น โดยอาจต้องการนั่งกินอาหารค่ำแทนที่จะนั่งบนเก้าอี้เด็ก นอกจากนี้ ลูกอาจชอบดิ้นบ่อยและรุนแรง โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม และแปรงฟัน สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำก็คือควรทำใจเย็นๆ เข้าไว้ และพยายามเรียบเรียงคำพูดใหม่ในการออกคำสั่ง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ไปแปรงฟันซะ!” อาจบอกว่า “ไปทำอะไรสนุกๆ กันดีกว่า” หรือ “ไปแปรงฟันด้วยกันนะ”
พัฒนาการโดยทั่วไปของ ลูกน้อยวัย 15 เดือน มีดังนี้
- พูดได้อย่างน้อยสามคำ
- เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ (“ไม่” หรือ “ส่งมาให้แม่นะจ๊ะ”)
- ชี้ไปที่อวัยวะบนร่างกาย
- ใช้สีเทียนระบายสีแบบลวก ๆ ได้
- โยนลูกบอล วิ่ง ปีนป่าย
- เดินได้ด้วยตัวเอง
ควรเตรียมตัวอย่างไร
วิธีที่ดีที่สุดในการสนับสนุนพัฒนาการของลูกน้อย ก็คือการอ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เด็กวัยนี้บางคนสามารถนั่งนิ่งๆ แต่เด็กบางคนก็ทำไม่ได้ ฉะนั้นก็อย่ายอมแพ้ถ้าลูกน้อยอยู่ไม่สุข ในช่วงเวลาของการอ่านหนังสือ ถ้าคุณพ่อคุณแม่แนะนำหนังสือให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง ลูกก็จะนั่งนิ่งๆ และตั้งใจฟังเรื่องราวได้ในที่สุด ซึ่งการอ่านหนังสือด้วยกันนี้ จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาว เด็กมักอยากจะฟังเรื่องเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก การเล่าซ้ำจะทำให้เขาเรียนรู้คำศัพท์ และสร้างความคุ้นเคยกับเรื่องราว
ถ้าลูกน้อยมีบุคลิกที่ดูเหมือนชอบเก็บตัว อย่าอย่าเพิ่งไปตัดสินว่าลูกเป็นคน “ขี้อาย” เพราะอาจจะปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ช้า แต่เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่มักทำตัวขี้อาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ใหม่ ๆ การติดแม่อาจส่งผลทางด้านสังคมและความกล้า ตลอดจนเพื่อนที่มีความขี้อายมากกว่าด้วย
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
ถึงเวลาตรวจร่างกายสำหรับลูกน้อยในวัย 15 เดือนแล้ว คุณหมออาจซักถามด้วยคำถามต่อไปนี้
- ความอยากอาหารของเขาเป็นอย่างไร ? เขากินอาหารและของว่างวันละกี่มื้อ ?
- เขาขับถ่ายเป็นประจำหรือเปล่า ? ต้องเปลี่ยนอาหารให้ลูกน้อยหรือเปล่า ?
- ตารางการนอนหลับ และงีบหลับของเขาเป็นยังไงบ้าง ? เด็กในวัย 1 ถึง 2 ขวบยังคงต้องนอนวันละ 13 ถึง 14 ชั่วโมง
คำถามเหล่านี้ช่วยให้คุณหมอเข้าใจถึงพัฒนาการ และสุขภาพของเด็ก ควรปรึกษาคุณหมอหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม
จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ
เด็กในช่วงวัยนี้อาจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุได้ 15 เดือน ก็อาจต้องทำการตรวจวัดลูกน้อยดังต่อไปนี้
- น้ำหนัก: 9.2 กก. ถึง 13.6 กก. (ชาย) และ 8.6 กก. ถึง 12.5 กก. (หญิง)
- ความสูง: 74 ซม. ถึง 84 ซม. (ชาย) และ 73 ซม. ถึง 83 ซม. (หญิง)
- เส้นรอบศีรษะ: 45 ซม. ถึง 50 ซม. (ชาย) และ 44 ซม. ถึง 48 ซม. (หญิง)
แผนภูมิการเจริญเติบโตจะแสดงเกี่ยวกับพัฒนาการทางกายภาพของลูกน้อย คุณหมอจะทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดขนาดเส้นรอบวงศีรษะของเด็ก เพื่อให้แน่ใจว่าเขาเติบโตขึ้นในอัตราเป็นปกติและมีสุขภาพดี แล้วดูซิว่าผลการตรวจนี้ต่างจากวัย 15 เดือนคนอื่นอย่างไร
สิ่งที่ต้องกังวล
พัฒนาการของเด็กจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน แต่สัญญาณที่สามารถบอกได้ว่า เด็กมีพัฒนาการช้ามีดังต่อไปนี้ ซึ่งถ้าลูกมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาคุณหมอทันที
- ไม่สามารถออกเสียง “บา” “ดา” “กา” ได้ หรือเสียงต่างๆ ที่แสดงความต้องการของลูก
- ไม่ตอบสนองเวลาแสดงความรัก เช่น เวลากอด หรือจูบ
- ไม่ได้สนใจเด็กคนอื่น
[embed-health-tool-vaccination-tool]