backup og meta

ลูกน้อยวัย 26 เดือน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/12/2022

    ลูกน้อยวัย 26 เดือน

    ลูกน้อยวัย 26 เดือน เป็นช่วงที่ลูกมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงนี้ลูกจะเริ่มใช้มือข้างใดข้างหนึ่งในการกินอาหาร เอื้อมมือหยิบของ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มสังเกตได้ว่าลูกถนัดมือซ้ายหรือมือขวา นอกจากนี้ ลูกจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรค่อย ๆ สอนคำศัพท์ใหม่ ๆ ให้ลูก เพื่อส่งเสริมด้านการเรียนรู้

    การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 26 เดือน 

    ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง

    ในช่วงเวลานี้ คุณแม่อาจปวดศีรษะเนื่องจากลูกอาจจะชอบกัดเวลาที่โกรธหรือรู้สึกถูกคุกคาม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นผลมาจากการที่เด็กมีปัญหาในการสื่อสารอารมณ์

    ในปีที่ผ่านมา คุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยเริ่มใช้มือข้างใดข้างหนึ่งในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลากินอาหาร หรือเอื้อมหยิบอะไร (ทารกมักใช้มือทั้งสองข้างสลับกัน) ซึ่งในปีต่อไปหลังจากนี้ เด็กจะเริ่มมีการใช้มือข้างที่ถนัดมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถที่จะรู้ได้อย่างแน่นอนแล้วว่าลูกเป็นคนถนัดซ้ายหรือถนัดขวา

    ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร

    ถึงแม้จะเข้าใจได้ว่าทำไมลูกถึงต้องกัด แต่การกัดก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีนัก ฉะนั้นจึงควรพูดให้ลูกน้อยรับรู้ว่า นั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ โดยพูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นและสงบ เช่น “ห้ามกัด การกัดทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บนะ” จากนั้นก็หันไปปลอบโยนเด็กที่โดนกัด การดุด่าว่ากล่าวคนกัดในตอนนี้ ก็เหมือนเป็นการให้ท้ายว่าเขาไม่ควรทำการเรียกร้องความสนใจแบบนี้อีกในครั้งต่อไป

    ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กกล่าวว่า เด็กในวัย 2 ขวบนั้นเหมาะจะ “จับเข้ามุม” เพื่อเป็นการลงโทษได้แล้ว เนื่องจากเด็กโตพอที่จะสามารถเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเคล็ดลับในการ “จับเข้ามุม” ให้สำเร็จนั้นก็ได้แก่…

  • ตักเตือน ให้โอกาสลูกน้อยหยุดทำสิ่งที่ไม่ควรทำ อาจพูดกับลูกว่า ‘ไม่เช่นนั้นจะโดนจับเข้ามุมเพื่อสงบสติอารมณ์นะ”
  • สถานที่ คุณแม่สามารถกำหนดสถานที่สำหรับ “จับเข้ามุม” หรือเพียงแค่ให้เขานั่งนิ่ง ๆ อยู่ที่ใดที่หนึ่งก็ได้
  • การกระทำที่ถูกต้อง ควรใจเย็นและมีเหตุผล อย่าไปดุด่าว่ากล่าวอะไรในช่วงที่เขาโดน “จับเข้ามุม”
  • เข้าใจให้ถูกจุด คุณแม่ควรทำความเข้าใจว่าให้ดีว่า สิ่งที่คุณแม่ไม่ชอบนั้นคือพฤติกรรม ไม่ใช่ตัวของลูกน้อย
  • จับเวลา การลงโทษโดยทั่วไปก็คือขวบละ 1 นาที แต่สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ การลงโทษเพียงแค่ 30 วินาที ก็ถือว่านานพอแล้ว
  • เวลาที่เด็กทำอะไรผิดก็อย่าลงโทษอยู่อย่างนั้นต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาทำโทษจบลงแล้ว ควรให้เด็กได้ทำกิจกรรมใหม่ที่มีความสนุกสนาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย

    จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ

    เด็กในวัย 2-3 ขวบจะรู้คำศัพท์ในการพูดได้ถึง 300 คำ และสามารถเข้าใจคำศัพท์ได้ถึง 900 คำ แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนจะสามารถเรียบเรียงประโยคได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ซึ่งสัญญาณอันตรายเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านการพูดของเด็กในวัย 2 ขวบนี้ก็ ได้แก่

  • แทบจะไม่พูดอะไรเลย
  • ไม่เลียนแบบคำพูดของผู้อื่น
  • ละเลยการใช้พยัญชนะ
  • ไม่สามารถเรียบเรียงประโยคด้วยการใช้คำเพียง 2-4 คำได้ โดยเฉพาะถ้ามีอายุใกล้ 3 ขวบแล้ว
  • ไม่เคยถามคำถามหรือแสดงความรู้สึกท้อแท้เมื่อไม่เข้าใจ
  • ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    เมื่อมีอายุได้ 2 ขวบ เด็กจะเริ่มมีทักษะในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นคุณหมอควรต้องรู้ถึงพัฒนาการที่สำคัญๆ ของเด็กด้วย ซึ่งเด็กอายุ 2 ขวบควรจะสามารถ

    • ชี้ไปยังข้าวของที่คุณบอก
    • จำชื่อคนคุ้นเคย ข้าวของ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
    • ใช้วลีสั้น ๆ และประโยคที่ประกอบไปด้วยคำ 2-4 คำ
    • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
    • พูดซ้ำคำที่เคยได้ยินมาได้
    • ค้นหาสิ่งของที่ซ่อนไว้ภายใต้ผ้าห่ม 2-3 ชั้นได้
    • จัดเรียงวัตถุตามรูปร่างหรือสีได้

    ถ้าคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกน้อยก่อนวัยเรียนจะมีพัฒนาการช้า ก็ควรพูดคุยกับคุณหมอ การวินิจฉัยปัญหาที่ดีที่สุด ก็คือการตรวจสอบและสังเกตการณ์อย่างต่อเนื่อง พร้อมข้อมูลจากผู้ปกครอง ซึ่งคุณหมอจะเห็นสัญญานผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว

    สิ่งที่ต้องกังวล

    คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นกังวลเกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้เบาะนั่งนิรภัย เพราะคิดว่าการให้ลูกน้อยนั่งบนตักนั้น เป็นอะไรที่สะดวกกว่าการใช้เบาะนั่งนิรภัย แต่รู้หรือไม่ว่า เบาะนั่งนิรภัยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและอาการบาดเจ็บสาหัส เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านควรเตรียมเบาะนั่งนิรภัยไว้ให้พร้อมเสมอ และควรทำให้เป็นนิสัยโดยไม่ต้องลังเลอะไร เพราะเบาะนั่งนิรภัยสามารถช่วยชีวิตลูกน้อยได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา