banner

เช็กความเสี่ยงสุขภาพหัวใจ!

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

ความดันสูง ภัยเงียบอันตราย

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือด (arteries) ในความดันที่สูงกว่าปกติ ค่าความดันเลือดมักมีค่าอยู่ที่ 140/90 หรือสูงกว่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยสามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดันที่แขน ซึ่งหากมีค่าความดันโลหิตสูงติดต่อกัน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ความดันโลหิตสูงคืออะไร ความดันโลหิตสูง (High blood pressure) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือด (arteries) ในความดันที่สูงกว่าปกติ ค่าความดันเลือดมักมีค่า 140/90 หรือสูงกว่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบได้บ่อยเพียงใด ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้คนทุกวัย แต่มักจะพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากขึ้นหลังจากอายุ 55 ปี ทั้งนี้ความดันโลหิตสูงสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการใด ๆ และรู้สึกปกติดี คนส่วนใหญ่รู้ตัวว่ามีภาวะนี้ เมื่อไปตรวจร่างกายกับแพทย์ตามปกติ อย่างไรก็ดี อาการของความดันโลหิตสูงที่รุนแรงมาก ได้แก่ อาการปวดศีรษะมาก หรือการมองเห็นไม่ชัด อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้เข้ารับการรักษาทันที เพราะอาการความดันโลหิตสูงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น สายตาพร่ามัว โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ไตวาย หัวใจล้มเหลว สาเหตุ สาเหตุของความดันโลหิตสูง สาเหตุที่แน่ชัดของความดันโลหิตสูงยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง อายุที่มากขึ้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือมากกว่า 1 แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิง การบริโภคโซเดียมในปริมาณมาก […]

ความดันสูงในเด็กและวัยรุ่น

โภชนาการเด็กวัยเรียน

โซเดียมในขนม ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง

ขนมขบเคี้ยวที่เด็ก ๆ ชอบกินมักจะอุดมไปด้วยน้ำตาล แป้ง และผงชูรส พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าผงชูรสเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งที่พ่อแม่อาจมองข้าม นั่นก็คือ โซเดียมในขนม ที่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคไต และโรคอื่น ๆ ตามมา [embed-health-tool-heart-rate] โซเดียม คืออะไร โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ โซเดียมช่วยควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ โดยอวัยวะที่ควบคุมการทำงานของโซเดียม คือ ไต ร่างกายรับโซเดียมจากอาหารที่มีรสเค็ม และจากเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำปลา กะปิ ซึ่งโซเดียมที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมกับคลอไรด์ ส่วนการขับโซเดียมออกจากร่างกาย ร่างกายอาจขับโซเดียมส่วนเกินออกทางไตในรูปแบบปัสสาวะมากที่สุด รองลงมา คือ ขับออกทางเหงื่อ วันละประมาณ 25 มิลลิโมล และขับโซเดียมออกทางอุจจาระในปริมาณน้อยประมาณ 1-2 มิลลิโมล นอกจากนี้โซเดียมอาจมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้ เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย การขาดโซเดียมอาจทำให้เกิดโรค เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูก โซเดียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยอาหาร และเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ผลเสียจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ควบคุมการใช้โซเดียมในร่างกาย การที่ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อไต โดยปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม […]

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก กับความรู้พื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก ส่วนใหญ่จะพบได้ในเด็กที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีไขมันสูง มักเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็อาจส่งผลระยะยาว ทำให้มีปัญหาสุขภาพในอนาคตได้  [embed-health-tool-heart-rate] โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก (Hypertension in children) คืออะไร โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก (Hypertension in children) เกิดขึ้นในเด็กที่มีระดับความดันโลหิตมากกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออยู่ในภาวะอ้วน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในวัยเด็ก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ระบบฮอร์โมนผิดปกติ มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โรคความดันโลหิตสูงในวัยเด็ก ถือเป็นภาวะที่น่ากังวอย่างมาก หากปล่อยทิ้งไว้ระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับคำแนะนำหรือรับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงต่อเนื่องในวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ  เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน เป็นต้น  สัญญาณเตือนโรคความดันโลหิตสูงในเด็ก อาการที่พบได้บ่อยในเด็กที่อยู่ในภาวะ ความดันโลหิตสูง มีลักษณะดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ อาการชัก อาเจียน […]

ไลฟ์สไตล์กับสุขภาพหัวใจ

ข้อมูลโภชนาการ

โซเดียม ประโยชน์ และคำแนะนำการในการรับประทาน

โซเดียม ประโยชน์ คืออาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ รักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย และอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยโซเดียมสามารถพบได้ในอาหารต่าง ๆ เช่น อาหารแปรรูป ธัญพืชอบแห้ง เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ รวมถึงเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น เกลือ ซอสถั่วเหลือง หอยนางรม อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากรับประทานมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] โซเดียม คืออะไร โซเดียม คือ สารอาหารชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถพบได้ในอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารแปรรูปและเครื่องปรุง เช่น ไส้กรอก กุ้งแห้ง ขนมกรุบกรอบ อาหารดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซีอิ๊ว น้ำปลา เกลือ ผงปรุงรส ร่างกายต้องการโซเดียมเพื่อการทำงานที่เป็นปกติของอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมอง แต่หากรับประทานในปริมาณมากและบ่อยครั้งก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด สมองบวม สูญเสียความทรงจำ อาการชัก และหมดสติได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกรับประทานโซเดียมจากแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี […]

โรคความดันโลหิตสูง

5 วิธีง่าย ๆ ช่วย ลดความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่สามารถลดความดันโลหิตได้ โดยไม่ต้องพึ่งยา แต่จะมีวิธีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ [embed-health-tool-heart-rate] เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้อย่างไร? โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากปล่อยไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นเราจึงควรทำการลดความดันโลหิตสูง หรือควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในอัตราคงที่ แต่ในการลดความดันโลหิตมักมีด้วยกันหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของแต่ละบุคคล ในเบื้องต้น หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่หากมีอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาร่วมด้วย เพื่อควบคุมความดันโลหิต 5 วิธีลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา เราสามารถลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยมีวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ควบคุมน้ำหนัก เราต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และคอยสังเกตรอบเอว หากรอบเอวกว้างมากจนเกินไป (รอบเอวผู้ชายมากกว่า 40 นิ้ว และรอบเอวผู้หญิงมากกว่า 35 นิ้ว) อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง ได้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 5-8 มิลลิเมตรปรอท  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยผัก […]

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สามารถ ออกกำลังกาย ในรูปแบบใดได้บ้าง

การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นอีกทางเลือนึ่งที่อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง ลดความเครียด และยังทำให้รู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาวะอาการของตนเอง หรือศึกษาข้อมูลในบทความของ Hello คุณหมอ ว่าคนที่มี ความดันโลหิตสูง ควรมีการ ออกกำลังกาย ด้วยวิธีใดบ้าง เพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้อย่างไร ปกติแล้วการออกกำลังกายจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ซึ่งเมื่อหัวใจแข็งแรงก็จะสามารถสูบฉีดเลือดได้ดี ไม่ต้องทำงานหนักมาก และมักจะส่งผลให้ค่าความดันโลหิตลดลง เกณฐ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีตัวเลขค่ารัดับความดันที่สูงขึ้น การออกกำลังกายอาจช่วยทำให้ค่าความดันโลหิตลดลงได้ โดยจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อให้เห็นผล และควรออกกำลังกายต่อไป อย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกตองที่สามารถทำการเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ ความดันโลหิตสูง ควร ออกกำลังกาย แบบไหนดี การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือแบบคาร์ดิโอ สามาช่วยลดความดันโลหิต และทำให้หัวใจแข็งแรง เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การกระโดดเชือก การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค และการว่ายน้ำ การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ในระหว่างวัน และช่วยทำให้ข้อต่อและกระดูกแข็งแรงด้วย การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้คุณเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บด้วย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงอาจออกกำลังกายแบบแอโรบิค […]

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ปริมาณโซเดียมต่อวัน ที่ควรรับประทานอยู่ที่เท่าไรกันนะ

โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั่วไปในอาหารที่เรารับประทาน โซเดียมเกิดขึ้นตามธรรมชาติ บางครั้งก็มีการเพิ่มเข้าไปในอาหารหลาย ๆ ชนิดในระหว่างกระบวนการผลิต หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินมาว่าการบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปดูว่า ปริมาณโซเดียมต่อวัน ที่เราควรรับประทานนั้นอยู่ที่เท่าไร และโซเดียมส่งผลต่อร่างกายได้อย่างไรบ้าง [embed-health-tool-bmi] โซเดียม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร โซเดียม (Sodium) ถือเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และมีส่วนช่วยให้สุขภาพดีได้หากได้รับในปริมาณที่พอเหมาะ โซเดียมส่วนใหญ่ในร่างกายมักจะอยู่ในเลือดและของเหลวรอบ ๆ เซลล์ เพื่อช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย ไม่เพียงเท่านั้น โซเดียมยังมีส่วนช่วยในระบบประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ หากร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตสูง จากงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาคนจำนวน 100,000 คน จาก 18 ประเทศ ใน 5 ทวีป พบว่าผู้ที่บริโภคโซเดียมมากกว่าจะมีความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญ และยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูง มากไปกว่านั้นยังอาจมีโอกาสเสียชีวิตได้เร็วกว่าปกติด้วย แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคโซเดียมไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเหล่านี้ ยังมีปัจจัยแวดล้อม ๆ อื่นที่สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงเหล่านี้ได้อีกด้วย ปริมาณโซเดียมต่อวัน ที่ควรบริโภคอยู่ที่เท่าไรกันนะ ในละวันนั้นร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมเพียง 186 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้ทำงานอย่างปกติ แต่อาหารที่เราบริโภคอยู่ในทุก ๆ วันนั้นมักจะมีโซเดียมในปริมาณที่มาก จึงเป็นไปได้ยากที่จะบริโภคโซเดียมในปริมาณเพียง 186 มิลลิกรัมต่อวัน หากยังต้องการสารอาหารอื่น ๆ อย่างครบถ้วน สถาบันแพทยศาสตร์ (the […]

โภชนาการพิเศษ

ความดันสูงห้ามกินอะไร และควรกินอะไรเพื่อควบคุมความดันโลหิต

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร หากทราบว่า ความดันสูงห้ามกินอะไร อาจช่วยให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยทั่วไป คนความดันสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารแปรรูป น้ำตาล ไขมันทรานส์ เครื่องปรุงรส และควรเลือกกินอาหารที่เหมาะสม เน้นอาหารจากธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาที่มีไขมันดี ผักและผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี นมไขมันต่ำ เพราะมีสารอาหารหลากหลาย จึงอาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ [embed-health-tool-bmi] ความดันสูงเกิดจากอะไร ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือที่นิยมเรียกว่า ความดันสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่พันธุกรรม พฤติกรรมการกินอาหารรสหวาน มัน เค็ม เปรี้ยวจัด ภาวะสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ เมื่อแรงดันของเลือดในหลอดเลือดที่กระทบกับผนังหลอดเลือดสูงเกินไป จะส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา หรือไม่ปรับระดับความดันโลหิตให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย และหากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง […]

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

ความดันโลหิตสูง คือ ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน เนื่องจาก โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง โดยการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์อาจทำได้ด้วยการเลือกรับผระทานอาหาร ออกกำลังกาย นอกจากนี้ ศาสตร์แพทย์แผนจีนอย่าง นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ [embed-health-tool-heart-rate] นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ลดความดันโลหิตได้จริงหรือ นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง เป็นวิธีการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยการใช้นิ้วมือกดตามจุดสำคัญต่าง ๆ บนร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจช่วยป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานได้ จากการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-based Complementary and Alternative Medicine เมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า หลังจากการนวดกดจุดตำแหน่ง ไท่จง (Taichong Acupoint) จะช่วยให้ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) ลดลงทันที 15-30 นาที  3 ตำแหน่งนวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ตำแหน่งสำคัญในการนวดกดจุดที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจมีดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่ 1 จุดไท่จง Taichong (LV3) หรือ จุดตับ ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างจุดกำเนิดของนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง คือ ตำแหน่งระหว่างหัวแม่เท้าและนิ้วเท้า […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ

อาหารบำรุงใจ