backup og meta

ของเล่น เด็ก โต ส่งเสริมพัฒนาการลูกให้เรียนรู้ไวตั้งแต่เด็กจนโต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 19/04/2023

    ของเล่น เด็ก โต ส่งเสริมพัฒนาการลูกให้เรียนรู้ไวตั้งแต่เด็กจนโต

    ตั้งแต่เล็กจนโต ของเล่นมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก เด็กแต่ละวัยจะมีการเล่นหรือของเล่นที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ของเล่นไม่เพียงทำให้เด็กรู้สึกสนุกเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะตั้งแต่วัยเยาว์ พ่อแม่จึงควรเลือกของเล่นให้เหมาะกับช่วงวัย เช่น ของเล่นเด็กเล็ก ของเล่น เด็ก โต เพราะพฤติกรรมการเล่นของเด็กจะพัฒนาตามวุฒิภาวะ ความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

    พฤติกรรมการเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย

    การเล่นจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสในร่างกายของลูก จึงควรทราบถึงพฤติกรรมการเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อพิจารณาเลือกของเล่นให้เหมาะว่า ของเล่นประเภทไหนสำหรับเด็กเล็ก หรือเป็นของเล่นเด็กโต ให้ทุกการเล่นของลูกได้พัฒนาร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ 

  • พฤติกรรมการเล่นของเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี เด็กวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน จะเริ่มมีพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยินในช่วงแรกของชีวิต จึงเหมาะกับของเล่นที่มีสีสันสดใส มีเสียง และเคลื่อนไหวได้ การแขวนของเล่นสีสดใสที่มีเสียงแกว่งไปมา จะช่วยให้เด็กกรอกตามอง สังเกตความเคลื่อนไหว และได้ยินเสียงไปด้วย ต่อมาเด็กจะสามารถใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวได้ เริ่มบังคับกล้ามเนื้อได้ และชอบคว้าของเล่นเข้าปาก จึงควรเลือกของเล่นที่ปลอดภัย สามารถนำเข้าปากได้ ไม่อันตราย และไม่ควรมีขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้ติดคอหรือสำลัก
  • พฤติกรรมการเล่นของเด็กช่วงวัย 1-2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเกาะเดินได้ จึงควรได้ฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ อีกทั้งเป็นช่วงวัยที่ชอบเรียนรู้ สนุกกับอะไรใหม่ ๆ ผู้ใหญ่จึงควรอยู่ใกล้ชิดขณะที่เด็กเล่นของเล่นเพื่อความปลอดภัย ในช่วงวัยนี้เลือกของเล่นที่ลากจูงได้ เช่น รถลาก รถไฟ จะช่วยฝึกการเคลื่อนไหวได้ดี 
  • พฤติกรรมการเล่นของเด็กช่วงวัย 2-4 ปี เป็นช่วงวัยที่เด็กใช้ร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วขึ้น ทรงตัวได้ดี และอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัยนี้จะชอบการออกแรง เริ่มเล่นอย่างมีอิสระ วัยนี้สามารถให้เด็กขี่จักรยานสามล้อ เล่นลูกบอล หรือโยนลูกบอลได้ รวมถึงของเล่นที่ใช้นิ้วมือหยิบจับหรือหมุนได้ เช่น ไม้บล็อกใส่ตามรูปทรง หรือกระดานหมุดค้อนตอก ยิ่งช่วยเสริมพัฒนาการ 
  • พฤติกรรมการเล่นของเด็กช่วงวัย 4-6 ปี ด้วยร่างกายของวัยที่พร้อมในด้านต่าง ๆ จึงมีความกระฉับกระเฉง ใช้นิ้วมือจับสิ่งของได้เก่งขึ้น ชอบเข้าสังคมและเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มมากขึ้น วัยนี้จะชอบการเล่นกลางแจ้ง หรือเล่นพร้อมกับเพื่อนในสนามเด็กเล่น จึงควรดูมาตรฐานของเล่นให้ปลอดภัยกับเด็ก วัยนี้ยังฝึกความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องได้ ด้วยการวาดภาพระบายสี หรือลองให้ประดิษฐ์สิ่งของง่าย ๆ ก็จะช่วยให้เด็กมีจินตนาการ
  • ของเล่น เด็ก โต เลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูก

    การเลือกของเล่นเด็กโต ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และเลือกลักษณะของเล่นที่ดี ได้แก่

    1. ของเล่นต้องปลอดภัย ของเล่นต้องแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายต่อลูก แม้ว่าลูกจะโตแล้ว แต่พ่อแม่ก็ยังต้องหมั่นตรวจสภาพของเล่นบ่อย ๆ เพื่อความปลอดภัย
    2. ของเล่นต้องเหมาะสมกับวัย ของเล่นเด็กโต ควรเป็นของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ ไม่ง่ายเกินไป เลือกของเล่นที่เริ่มมีกลไกมากขึ้น หรือของเล่นที่ฝึกแก้ปัญหา ช่วยพัฒนาทักษะของเด็กโต
    3. ของเล่นควรเล่นได้หลากหลายวิธี เลือกของเล่นที่ไม่ทำให้เด็กเบื่อง่าย จะช่วยให้เด็กจดจ่อได้นาน เช่น เกมกระตุ้นเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาแก่เด็ก
    4. ของเล่นไม่ควรราคาแพงเกินไป นอกจากการเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัยแล้ว ควรเลือกที่คุณภาพดี ใช้วัสดุที่ทนทาน ราคาไม่แพงมาก เพราะเด็กเบื่อง่าย มักมีความสนใจอื่นเข้ามา พ่อแม่ต้องเปลี่ยนของเล่นบ่อย ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องฝึกความรับผิดชอบต่อของเล่นด้วย ฝีกให้ลูกเล่นของเล่นอย่างระวัง ดูแลรักษาให้ดี ช่วยยืดอายุการใช้งาน
    5. ของเล่นควรมีประโยชน์ ของเล่นที่ดีควรส่งเสริมจินตนาการ ดีต่อพัฒนาการของลูก แต่ปัจจุบันมีของเล่นหลากหลายให้เลือก พ่อแม่จึงควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เช่น มือถือ แท็ปเล็ต ไม่ควรให้ลูกเริ่มเล่นเร็วเกินไป หากให้ลูกเล่นเกมจากมือถือและแท็ปเล็ต ควรมีกฎเกณฑ์หรือจำกัดเวลาที่เหมาะสม เพราะอาจเกิดความขัดแย้งกันได้ง่าย เมื่อเด็กติดจอก็ยากที่จะเลิกเล่น

    การเลือกซื้อของเล่นแต่ละวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะ ของเล่นเด็กโต ควรส่งเสริมทักษะที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้การแก้ปัญหา แก้ไขโจทย์ที่ยากขึ้น เพื่อฝึกพัฒนะทักษะสมอง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 19/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา