backup og meta

ฝึกลูกนอนเร็ว มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ฝึกลูกนอนเร็ว มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การ ฝึกลูกนอนเร็ว อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่ละครอบครัวต่างมีวิธีที่แตกต่างกันไป บางคนเลือกเล่านิทาน บางครอบครัวอาจเลือกร้องเพลงกล่อม แต่อาจจะไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ทั้งนี้ อาจต้องอาศัยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการฝึกสร้างระเบียบวินัย การสร้างบรรยากาศ การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจถึงเหตุผลในการนอนเร็ว เพื่อฝึกให้ลูกนอนเร็วได้ผลดียิ่งขึ้น

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ฝึกลูกนอนเร็ว มีประโยชน์อย่างไร

การฝึกลูกเข้านอนเร็ว ถือเป็นกิจวัตรประจำวันที่ส่งผลดีและมีประโยชน์ต่อเด็กในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

  • การเข้านอนแต่หัววัน จะทำให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่รู้สึกอ่อนเพลียเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
  • มีส่วนช่วยให้พัฒนาการด้านความจำและสุขภาพจิตดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • การฝึกลูกนอนเร็วมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาความดันโลหิตได้
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วน การฝึกลูกนอนเร็วจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคอ้วนในเด็กได้
  • หากลูกน้อยนอนดึกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ซึมเศร้า เมื่อลูกเข้านอนเร็วจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าได้

ฝึกลูกนอนเร็ว ทำได้อย่างไร

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เคยเลี้ยงลูกมาแล้วอาจสามารถรับมือกับปัญหาลูกเข้านอนดึกได้ดีกว่าเพราะมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การพาลูกเข้านอนแต่ละครั้งอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย หากกำลังประสบกับปัญหาลูกน้อนไม่ยอมนอนหรือนอนดึก อาจลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อฝึกลูกนอนเร็ว 

  • กำหนดเวลาเข้านอนให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกน้อยสามารถจดจำได้ว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ควรจะพักผ่อนนอนหลับ และควรกำหนดเวลาเข้านอนจนถึงเวลาตื่นนอนให้ได้อย่างน้อย 9-11 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ผ่อนคลายก่อนนอน การชวนลูกทำกิจกรรม เช่น เล่นเกม ร้องเพลงกล่อม เล่านิทาน สัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน จะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย และง่วงนอนโดยอัตโนมัติ
  • ปิดหน้าจอก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รบกวนเวลานอนของลูกน้อย หรือทำให้ลูกน้อยนอนดึกเพราะอาจติดหน้าจอ ควรกำหนดให้ลูกปิดหน้าจอทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน หรือควรมีกฎไม่ให้นำสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดเข้าห้องนอน
  • สร้างบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน ตั้งแต่การตั้งอุณหภูมิในห้องนอนให้เย็นสบาย มีแสงสว่างที่น้อยลง มีความเงียบสงบ หรือแม้แต่การตกแต่งห้องนอนให้น่าอยู่ สิ่งเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยรู้สึกอยากนอนได้
  • จัดการกับความกลัว หากลูกน้อยต้องนอนคนเดียวอาจรู้สึกกลัวความมืด หรือกลัวการนอนคนเดียว ควรบรรเทาความกลัวให้ลดลง เช่น เปิดโคมไฟที่ให้แสงสว่างเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ห้องนอนมืดเกินไป หาน้องเน่าให้มาอยู่เป็นเพื่อนลูก หรืออาจจะนอนเป็นเพื่อนลูก รอจนลูกหลับแล้วจึงแยกตัวออกมา หรือหลีกเลี่ยงบทสนทนา นิทาน หรือเรื่องเล่าที่ทำให้ลูกกลัว 
  • ให้รางวัลบ้าง ในบางครั้ง หากลูกสามารถเข้านอนเร็ว เช้าวันต่อมาอาจจะมีรางวัลเล็กน้อย วิธีนี้อาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้อยรู้สึกได้ว่าการเข้านอนแต่หัววัน และหลับอย่างเต็มอิ่มนั้นคุ้มค่ากว่าที่คิด แต่ระวัง อย่าให้ลูกติดของรางวัลเพราะอาจกลายเป็นว่า ไม่ว่าฝึกให้ลูกทำอะไร เขาก็จะเรียกร้องขอของรางวัลอยู่เสมอ
  • ไปพบคุณหมอ ในกรณีที่รู้สึกว่าลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องการนอนเกินกว่าที่คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือได้ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับคำปรึกษาหรือคำแนะนำเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและปัญหาได้อย่างตรงจุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to sleep better: 10 tips for children. https://raisingchildren.net.au/toddlers/sleep/better-sleep-settling/sleep-better-tips. Accessed June 7, 2022.

9 Ways to Make a Child’s Bedtime Easy. https://www.webmd.com/parenting/bedtime-routine-tips#1. Accessed June 7, 2022.

How to help your kids get a good night’s sleep. https://www.stanfordchildrens.org/en/service/sleep-disorders/good-night-sleep. Accessed June 7, 2022.

Healthy sleep tips for children. https://www.nhs.uk/live-well/sleep-and-tiredness/healthy-sleep-tips-for-children/. Accessed June 7, 2022.

The Importance of Sleep for Kids. 

https://www.hopkinsallchildrens.org/ACH-News/General-News/The-importance-of-sleep-for-kids. Accessed June 7, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/12/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝึกลูกกินข้าวเอง เคล็ดลับง่าย ๆ ที่พ่อแม่ควรใส่ใจตั้งแต่ขวบปีแรก

ฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ ควรทำอย่างไร และควรเริ่มฝึกตอนไหน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา