backup og meta

พัฒนาการด้าน การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน

พัฒนาการด้าน การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน

พัฒนาการด้าน การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน เป็นกระบวนการที่เด็กเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการเข้าสังคมของเด็กวัยนี้ให้ดี เพื่อจะได้ช่วยฝึกฝนทักษะของเด็กให้เป็นไปตามวัย

สาเหตุที่ทำให้เด็กวัยเรียนปฏิเสธการเข้าสังคม

เด็กวัยเรียน บางคนอาจจะปฏิเสธการเข้าสังคมหรือปฏิเสธการไปโรงเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ความรู้สึกไม่ดี เด็กอาจกำลังพยายามหลีกเลี่ยงบางสิ่งที่โรงเรียนเหรือเพื่อนทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือรู้สึกลำบากใจ เช่น การแกล้งกัน การถูกทำร้าย
  • หลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กอาจมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัญหาการสร้างมิตรภาพกับเพื่อน หรืออาจไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อเจอกับเหตุการณ์นั้น
  • มีความสนใจนอกโรงเรียน เด็กอาจสนใจทำกิจกรรม เล่นเกม ดูทีวีอยู่ที่บ้านมากกว่าการมาโรงเรียน
  • ติดพ่อแม่ เด็กอาจติดพ่อแม่ ไม่ชอบที่จะแยกจากพ่อแม่จึงทำให้เกิดการปฏิเสธสังคมขึ้น

การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน ส่งผลต่อเด็กอย่างไร

ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวันกับผู้ปกครองเป็นสิ่งพื้นฐานในการพัฒนาการเข้าสังคมของวัยเรียน พ่อแม่ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาความสัมพันธ์ พูดคุย โต้ตอบกัน เป็นแบบอย่างที่เด็กสามารถจดจำ และนำไปใช้โต้ตอบกับคนรอบข้างได้

เด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีพัฒนาการทางสังคม เด็กวัยเรียน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาทั้งวันไปกับการพูดคุย เล่น กับเด็กคนอื่น ๆ ดังนี้

  • สร้างมิตรภาพ
  • พยายามทำให้เพื่อนพอใจ หรือพยายามทำตามเพื่อน
  • เรียนรู้การสร้างสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ
  • รับรู้ถึงการถูกรังแก กลัวการรังแก หรือเริ่มทำตัวรังแกผู้อื่น
  • เด็กบางคนที่มีอายุ 10 ขวบขึ้นไป อาจเริ่มปฏิเสธความคิดเห็นของพ่อแม่ แต่จะเชื่อในความคิดเห็นของเพื่อนมากกว่า

ตัวอย่างพัฒนาการการเข้าสังคมของเด็กวัยเรียนและพัฒนาการทางอารมณ์ในแต่ละช่วงอายุ

  • 5-7 ขวบ เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุนี้จะเริ่มเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความยืดหยุ่น เริ่มสร้างมิตรภาพกับคนรอบข้าง สามารถควบคุมจิตใจและพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นได้ เริ่มเข้าใจมุมมองต่าง ๆ ตัดสินใจบางอย่างได้และสามารถดูแลสิ่งของของตนเองได้
  • 8-9 ขวบ สามารถเข้ากับคนอื่นและเป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง รู้จักร่วมมือทำสิ่งต่าง ๆ กับผู้อื่น เข้าใจกฎการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เริ่มเป็นตัวเองมากขึ้นอาจไม่เชื่อฟังโรงเรียนหรือคุณพ่อคุณแม่บ้างในบางครั้ง
  • 10-11 ปี สามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ของสังคม เรียนรู้ทักษะการสื่อสารใหม่ ๆ สามารถทำความเข้าใจข้อแต่กต่างระหว่างบุคคลได้ รักอิสระและรับผิดชอบต่อการทำงานมากขึ้น สามารถจัดการกับอารมณ์และการปฏิบัติต่อคนอื่นได้ดีขึ้น
  • 12 ปีขึ้นไป สามารถเข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้นได้ และสร้างความเป็นอิสระให้ตนเอง มีความมั่นใจมากขึ้น จัดการกับความคิดและอารมณ์ได้ดี เริ่มตีตัวออกห่างจากครอบครัว และใกล้ชิดเพื่อนมากขึ้น

ความสัมพันธ์เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอารมณ์และการเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน โดยจะเห็นได้จากพฤติกรรมการสร้างความสัมพันธ์ หรือพฤติกรรมแสดงการรักษามิตรภาพระหว่างเพื่อน มิตรภาพยังช่วยให้เด็กเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลออกไปกว่าครอบครัว เด็กวัยเรียน เริ่มสัมผัสโลกภายนอก สร้างความเป็นตัวเอง และพัฒนาการเข้าสังคมมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจพัฒนาการทางสังคมของเด็กตามวัยจะได้ปฏิบัติต่อลูกได้อย่างเหมาะสม ทำให้ลูกมีความมั่นใจและสามารถเลือกเข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์ได้ถูกต้อง รวมทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานของความรักความเข้าใจในครอบครัวที่ดี ซึ่งจะมีผลต่อการเข้าสังคมและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของลูกเมื่อลูกเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในที่สุด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Helping Your Child with Socialization. https://childdevelopmentinfo.com/ages-stages/school-age-children-development-parenting-tips/socialization/#gs.4qvmwa. Accessed June 21, 2021

Social Development in Children. https://www.scanva.org/parent-resource-post/social-development-in-children/. Accessed June 21, 2021

Social-Emotional Development: School-Age Children. https://www.virtuallabschool.org/fcc/social-emotional/lesson-4. Accessed June 21, 2021

SOCIAL ANXIETY AND SCHOOL REFUSAL (part 1). https://nationalsocialanxietycenter.com/2016/09/21/social-anxiety-and-school-refusal-part-1/. Accessed June 21, 2021

Social and emotional development in school-age children. https://www.aboutkidshealth.ca/Article?contentid=713&language=English. Accessed June 21, 2021

The Importance of Socialization for Kids. https://childrenscampus.com/blog/importance-socialization-kids/. Accessed June 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการเด็กวัยประถม กับการเปลี่ยนแปลง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา