backup og meta

ซิมบัลตา® (Cymbalta®)

ซิมบัลตา® (Cymbalta®)

ข้อบ่งใช้

ซิมบัลตา® (ยาดูล็อกซีทีน) ใช้สำหรับ

ซิมบัลตา® (Cymbalta®) มักจะใช้เพื่อรักษาโรคดังต่อไปนี้

แพทย์อาจสั่งให้คุณใช้ซิมบัลตา® เพื่อใช้ในจุดประสงค์อื่น โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีใช้ซิมบัลตา® (ยาดูล็อกซีทีน)

อย่าใช้ซิมบัลตา® ในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ

รับประทานซิมบัลตา® พร้อมดื่มน้ำเต็มแก้ว อย่าเคี้ยวยา หรือหักยานี้ ควรกลืนยาแคปซูลลงไปทั้งหมด

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการใช้ยานี้ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

การเก็บรักษาซิมบัลตา® (ยาดูล็อกซีทีน)

ซิมบัลตา® ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง หากมีข้อสงสัยควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งซิมบัลตา® ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ซิมบัลตา® (ยาดูล็อกซีทีน)

ก่อนใช้ซิมบัลตา® โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • แพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของซิมบัลตา® หรือยาอื่นๆ
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ซิมบัลตา® จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ซิมบัลตา® (ยาดูล็อกซีทีน)

ซิมบัลตา® อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ซิมบัลตา® อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับซิมบัลตา® ได้แก่

  • ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAOIs) เช่น ยาไอโซคาร์โบซาซิด (isocarboxazid) อย่างมาร์แพลน (Marplan) ยาลิเนโซลิด (linezolid) อย่างไซวอกซ์ (Zyvox) ยาฟีเนลซีน (phenelzine) อย่างนาร์ดิล (Nardil)
  • ยาเจือจางเลือด เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin) หรือแจนโทเวน (Jantoven)
  • ยาต้านซึมเศร้าอื่นๆ ทั้งยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) อย่างเอลาวิล (Elavil) ยาอะมอซาพีน (amoxapine) อย่างอะเซนดิน (Asendin) ยาโคลมิพรามีน (clomipramine) อย่างเอนาฟรานิล (Anafranil)
  • ยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอบางชนิด (selective serotonin reuptake inhibitors) เช่น ยาฟลูออกเซทีน (fluoxetine) อย่างโพรแซค (Prozac) ซาราเฟม (Sarafem)
  • ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เอง ทั้งยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อย่างแอดวิล (Advil) หรือมอทริน (Motrin)  ยานาพรอกเซน (naproxen) อย่างอะลีฟ (Aleve)
  • ยาที่ใช้รักษาอาการป่วยทางจิต รวมถึงยาลิเทียม (lithium) อย่างเอสคาลิท (Eskalith) หรือลิโทบิด (Lithobid)
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) หรือยาขับน้ำ (water pills)
  • ยาสำหรับโรคหัวใจและความดันโลหิต เช่น ยาอะมิโอดาโรน (amiodarone) อย่างคอร์ดาโรน (Cordarone) ยาฟลีเคไนด์ (flecainide) อย่างแทมโบคอร์ (Tambocor)
  • ยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์ เช่น ยาเฟนทานิล (fentanyl) อย่างแอบสตอล (Abstral) แอคทิก (Actiq) เฟนโทรา (Fentora) ออนโซลิส (Onsolis)
  • ยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการแสบร้อนกลางอก เช่น ยาไซเมทิดีน (cimetidine) อย่างทากาเมต (Tagamet) ยาแลนโซพราโซล (lansoprazole) อย่างพรีวาซิด (Prevacid) ยาโอเมพราโซล (omeprazole) อย่างพริโลเซค (Prilosec)
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยาไซโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin) อย่างไซโปร (Cipro) ยาอีนอกซาซิน (enoxacin) อย่างเพเนเทร็ก (Penetrex)
  • ยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคไมเกรน เช่น ยาอัลโมทริปแทน (almotriptan) อย่างอะเซิร์ท (Axert) ยาเอเลทริปแทน (eletriptan) อย่างเรลแพกซ์ (Relpax) ยาโฟรวาทริปแทน (frovatriptan) อย่างโฟรวา (Frova)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์น (John’s wort)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ซิมบัลตา® อาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ซิมบัลตา® อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของซิมบัลตา® (ยาดูล็อกซีทีน) สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับโรคซึมเศร้า

ขนาดยาทั่วไป : 40-60 มก. ต่อวัน

ขนาดยาสำหรับโรคเส้นประสาทเหตุเบาหวาน โรควิตกกังวล โรคไฟโบรมัยอัลเจีย หรืออาการปวดกล้ามเนื้อหรือกระดูก

ขนาดยาทั่วไป : 60 มก. ต่อวัน

ขนาดยาของซิมบัลตา® (ยาดูล็อกซีทีน) สำหรับเด็ก

เด็กอายุ 7-17 ปี

ขนาดยาแนะนำ : 30 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเริ่มต้น หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ อาจพิจารณาเพิ่มขนาดยาไปที่ 60 มก./วัน

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปี ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยา ก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูลออกฤทธิ์นาน 20 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cymbalta® (duloxetine). https://www.drugs.com/dosage/Cymbalta.html. Accessed February 25, 2017.

duloxetine (Rx). http://reference.medscape.com/drug/Cymbalta-duloxetine-342960#0. Accessed February 25, 2017.

cymbalta (duloxetine hcl) drug. https://www.rxlist.com/cymbalta-drug.htm. Accessed February 25, 2017.

Cymbalta. https://www.ema.europa.eu/en/medicines/human/EPAR/cymbalta. Accessed February 25, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่บอกว่าคุณควรต้องรับความช่วยเหลือได้แล้ว


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา