backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โปรแซค® (Prozac®)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/05/2020

โปรแซค® (Prozac®)

โปรแซค® (Prozac®) คือ ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (selective serotonin reuptake inhibitors) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ส่งผลกระทบต่อสารเคมีในสมองที่อาจจะไม่สมดุล สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (depression) โรคแพนิค (panic) โรควิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ

ข้อบ่งใช้

โปรแซค® (ฟลูออกซิทีน) ใช้สำหรับ

โปรแซค® (Prozac®) เป็นยาต้านซึมเศร้าในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (selective serotonin reuptake inhibitors) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ส่งผลกระทบต่อสารเคมีในสมองที่อาจจะไม่สมดุล สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (depression) โรคแพนิค (panic) โรควิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ

โปรแซค®ใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ (major depressive disorder) โรคบูลิเมีย เนอโวซา (bulimia nervosa) ซึ่งเป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคแพนิค

โปรแซค®ในบางครั้งอาจจะใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ยาโอแลนซาปีน (olanzapine) อย่างไซเพรซา (Zyprexa) เพื่อรักษาอาการจิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า (manic depression) ที่เกิดจากโรคอารณ์สองขั้ว (bipolar disorder) การใช้ยาสองชนิดนี้ร่วมกับนั้นยังใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า หลังจากเคยลองใช้ยาอื่นอย่างน้อย 2 ชนิด แล้วไม่ประสบความสำเร็จในการรักษา

วิธีการใช้ โปรแซค® (ฟลูออกซิทีน)

  • รับประทานตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด ควรทำตามวิธีการใช้ยาทั้งหมดบนฉลากยาที่กำหนด ในบางครั้งแพทย์อาจจะเปลี่ยนขนาดยาของคุณ อย่ารับประทานยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่กำหนด
  • อย่าบด เคี้ยว หักยา หรือแกะเปิดยาแคปซูลโปรแซค®ออกฤทธิ์นานรายสัปดาห์ ควรกลืนยาแคปซูลลงไปทั้งเม็ด
  • อาจต้องใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ กว่าที่อาการของคุณจะดีขึ้น ควรใช้ยาตามที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง และแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่ดีขึ้น
  • อย่าหยุดใช้โปรแซค®ในทันที ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะมีอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ โปรดสอบถามแพทย์ถึงวิธีการหยุดใช้ยานี้อย่างปลดภัย
  • การเก็บรักษา โปรแซค® (ฟลูออกซิทีน)

    โปรแซค®ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง โปรแซค®บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

    ไม่ควรทิ้งโปรแซค®ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

    ข้อควรระวังและคำเตือน

    ข้อควรรู้ก่อนใช้ โปรแซค® (ฟลูออกซิทีน)

    ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

    • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรเนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
    • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
    • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของโปรแซค®หรือยาอื่นๆ
    • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
    • หากคุณใช้ยาพิโมไซด์ (pimozide) หรือยาไทโอไรดาซีน (thioridazine) หรือหากคุณกำลังใช้ยาเมทิลีน บลู (methylene blue) สำหรับฉีด

    อย่าใช้โปรแซค® หากคุณกำลังใช้ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAO inhibitor) ภายใน 14 วันที่ผ่าน เช่น ไอโซคาร์โบซาซิด (isocarboxazid) ไลน์โซลิด (linezolid) เมทิลีน บลูสำหรับฉีด ฟีเนลซีน (phenelzine) ราซาจิลีน (rasagiline) เซเลจิลีน (selegiline) หรือทรานีลไซโพรมีน (tranylcypromine)

    คุณควรจะรออย่างน้อย 14 วัน หลังจากที่หยุดใช้ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอแล้วจึงค่อยใช้โปรแซค® คุณจำเป็นต้องรออย่างน้อย 5 สัปดาห์หลังจากหยุดใช้ยาฟลูออกซิทีน แล้วจึงค่อยใช้ยาไทโอไรดาซีนหรือยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ

    ผู้ที่อายุน้อยบางส่วนอาจจะมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เมื่อเริ่มต้นใช้ยาต้านซึมเศร้า ควรตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์หรืออาการเสมอ

    โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการใหม่ๆ หรืออาการที่รุนแรงขึ้น เช่น มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือจิตใจ วิตกกังวล อาการแพนิคกำเริบ นอนไม่หลับ หรือหากคุณรู้สึกหุนหันพลันแล่น หงุดหงิด กระสับกระส่าย มุ่งร้าย ก้าวร้าว ร้อนรน อยู่ไม่สุข (ทั้งทางจิตใจหรือทางร่างกาย) ซึมเศร้ามากขึ้น หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง

    การรับประทานโปรแซค®ขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับปอดที่รุนแรง หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ต่อทารก แต่คุณอาจจะมีอาการซึมเศร้ากำเริบ หากคุณหยุดใช้ยาต้านซึมเศร้า โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณตั้งครรภ์ อย่าเริ่มหรือหยุดใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์โดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์

    ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

    โปรแซค®จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

    การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

    • A= ไม่มีความเสี่ยง
    • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
    • C= อาจจะมีความเสี่ยง
    • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
    • X= ห้ามใช้
    • N= ไม่ทราบแน่ชัด

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ โปรแซค® (ฟลูออกซิทีน)

    ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

    • นอนไม่หลับ
    • มีความฝันที่แปลกประหลาด
    • ปวดหัว
    • วิงเวียน
    • การมองเห็นเปลี่ยนแปลง
    • สั่นเทา
    • รู้สึกวิตกกังวลหรือประหม่า
    • มีอาการปวด
    • อ่อนแรง
    • หาว
    • รู้สึกเหนื่อยล้า
    • ท้องไส้ปั่นป่วน
    • เบื่ออาหาร
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน
    • ท้องร่วง
    • ปากแห้ง
    • เหงื่อออก
    • ร้อนวูบวาบ
    • น้ำหนักเปลี่ยนแปลงหรือความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง
    • คัดจมูก
    • ปวดโพรงจมูก
    • เจ็บคอ
    • มีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่
    • ความต้องการทางเพศลดลง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือสำเร็จความใคร่ได้ยาก

    โปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

    • มองเห็นไม่ชัด การมองเห็นแคบลง ปวดตาหรือตาบวม หรือมองเห็นรัศมีรอบแสง
    • ระดับของสารเซโรโทนิน (serotonin) ภายในร่างกายสูง — กระสับกระส่าย มองเห็นภาพหลอน เป็นไข้ หัวใจเต้นเร็ว ปฏิกิริยาตอบสนองมากเกินไป คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง สูญเสียการเลื่อนไหวที่สอดประสาน หมดสติ
    • ระดับโซเดียมในร่างกายต่ำ – ปวดหัว สับสน พูดไม่ชัด อ่อนแรงอย่างมาก อาเจียน สูญเสียการเลื่อนไหวที่สอดประสาน รู้สึกไม่มั่นคง
    • ปฏิกิริยาของระบบประสาทที่รุนแรง — กล้ามเนื้อแข็งเกร็งมาก เป็นไข้สูง เหงื่อออก สับสน หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ สั่นเทา รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
    • ปฏิกิริยาผิวหนังที่รุนแรง — เป็นไข้ เจ็บคอ มีอาการบวมที่ใบหน้าหรือลิ้น แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว ตามด้วยผดผื่นผิวหนังสีแดงหรือสีม่วงที่แพร่กระจาย (โดยเฉพาะใบหน้าหรือร่างกายส่วนบน) และทำให้เกิดแผลพุพองและผิวลอก

    รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

    ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    โปรแซค®อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

    • ยาต้านซึมเศร้าอื่นๆ
    • สมุนไพรเซนต์จอห์น (John’s Wort)
    • ยาทริพโตเฟน (Tryptophan) หรือที่ในบางครั้งเรียกว่าแอล-ทริพโตเฟน (L-tryptophan)
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด – วาฟาริน (warfarin) คูมาดิน (Coumadin) แจนโทเวน (Jantoven)
    • ยารักษาอาการวิตกกังวล ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปกติทางความคิด หรืออาการป่วยทางจิต – อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) บิวส์ไปโรน (buspirone) เดซิพรามีน (desipramine) ลิเทียม (lithium) นอร์ทริปไทลีน (nortriptyline) และอื่นๆ อีกมากมาย
    • ยารักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือโรคลมหลับ (narcolepsy) – แอดเดรอล (Adderall) คอนเซอร์ตา (Concerta) ริทาลิน (Ritalin) ไอแวนส์ (Vyvanse) เซนเซได (Zenzedi) และอื่นๆ
    • ยารักษาอาการปวดหัวไมเกรน – ไรซาทริปแทน (rizatriptan) ซูมาทริปแทน (sumatriptan) ซอลทริปแทน (zolmitriptan) และอื่นๆ
    • ยาแก้ปวดแบบเสพติด (Narcotic pain medicine) – เฟนทานิล (fentanyl) ทรามาดอล (tramadol)

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    โปรแซค®อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    โปรแซค®อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

    โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

    • โรคตับแข็ง
    • โรคไต
    • โรคเบาหวาน
    • โรคต้อหินมุมปิด
    • อาการชักหรือโรคลมชัก
    • โรคอารมณ์สองขั้ว (จิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า)
    • เคยใช้ยาในทางที่ผิดหรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
    • หากคุณกำลังได้รับการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดโปรแซค® (ฟลูออกซิทีน) สำหรับผู้ใหญ่

    โรคซึมเศร้า (major depressive disorder)

    • ขนาดยาเริ่มต้นคือ 20 มก./วัน รับประทานในตอนเช้า ควรพิจารณาเพิ่มขนาดยาหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ หากอาการคืบหน้าทางการแพทย์นั้นไม่เพียงพอ
    • ให้ยาในขนาดที่มากกว่า 20 มก./วัน วันละครั้ง ในตอนเช้าหรือวันละสองครั้ง (เช่นในตอนเช้าและตอนกลางวัน)
    • ขนาดยาฟลูออกซิทีนสูงสุดไม่ควรเกิน 80 มก./วัน

    โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)

    • ขนาดยาเริ่มต้นคือ 20 มก./วัน รับประทานในตอนเช้า ควรพิจารณาเพิ่มขนาดยาหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์หากอาการคืบหน้าทางการแพทย์นั้นไม่เพียงพอ
    • อาจต้องใช้เวลานานถึงสัปดาห์ที่ 5 ของการรักษาหรือนานว่านั้นกว่าจะได้รับผลของการรักษาอย่างเต็ม
    • ให้ยาในขนาดที่มากกว่า 20 มก./วัน วันละครั้งในตอนเช้าหรือวันละสองครั้ง (เช่นในตอนเช้าและตอนกลางวัน)
    • แนะนำช่วงขนาดยาที่ 20 ถึง 60 มก./วัน แต่เคยมีผู้ป่วยที่สามารถทนขนาดยาสูงถึง 80 มก./วันได้ดีในการวิจัยแบบเปิดสำหรับโรคย้ำคิดย้ำทำ
    • ขนาดยาฟลูออกซิทีนสูงสุดไม่ควรเกิน 80 มก./วัน

    โรคบูลิเมีย เนอโวซา (Bulimia Nervosa)

    • ให้ยาในขนาด 60 มก./วัน ในตอนเช้า
    • สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจะควรปรับขนาดยามาที่ขนาดยาเป้าหมายนี้ภายในเวลานานหลายวัน
    • ยังไม่เคยมีการศึกษาทั่วร่างกายของยาฟลูออกซิทีนในขนาดยาที่มากกว่า 60 มก./วัน ในผู้ป่วยโรคบูลิเมีย
    • ในการทดลองทางการแพทย์แบบควบคุมนั้นสนับสนุนถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคบูลิเมีย เนอโวซาผู้ป่วยป่วยจะใช้ยาฟลูออกซิทีนในขนาดคงที่ที่ขนาด 20 หรือ 60 มก./วัน หรือให้ยาหลอก
    • เฉพาะขนาดยาที่ 60 มก. นั้นจึงจะมีผลทางสถิติในการลดความถี่ในการเกิดอาการกินไม่หยุดและอาเจียนมากกว่ายาหลอกอย่างมาก

    โรคแพนิค (Panic Disorder)

    • ขนาดยาเริ่มต้นคือ 10 มก./วัน
    • หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ควรเพิ่มขนาดยาไปที่ 20 มก./วัน ควรพิจารณาเพิ่มขนาดยาหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์หากอาการคืบหน้าทางการแพทย์นั้นไม่เพียงพอ
    • ยังไม่เคยมีการประเมินทั่วร่างกายของยาฟลูออกซิทีนในขนาดยาที่มากกว่า 60 มก./วัน ในผู้ป่วยโรคแพนิค
    • ในการทดลองทางการแพทย์แบบควบคุมนั้นสนับสนุนถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคแพนิค ผู้ป่วยจะใช้ยาฟลูออกซิทีนที่ขนาด 10 ถึง 60 มก./วัน
    • ขนาดยาที่ใช้บ่อยที่สุดในการทดลองทางการแพทย์ ที่สามารถเปลี่ยนขนาดยาได้ 2 การทดลองคือ 20 มก./วัน

    ขนาดโปรแซค® (ฟลูออกซิทีน) สำหรับเด็ก

    โรคซึมเศร้า (major depressive disorder)

    • ขนาดยาเริ่มต้นคือ 10 หรือ 20 มก./วัน
    • หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ที่ขนาดยา 10 มก./วัน ให้เพิ่มขนาดยาไปที่ 20 มก./วัน แต่เนื่องจากระดับของพลาสม่าที่สูงสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย ขนาดยาเริ่มต้นและขนาดยาเป้าหมายของเด็กกลุ่มนี้อาจจะอยู่ที่ 10 มก./วัน
    • ควรพิจารณาเพิ่มขนาดยาไปที่ 20 มก./วัน หลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ หากอาการคืบหน้าทางการแพทย์นั้นไม่เพียงพอ
    • ในการทดลองทางการแพทย์แบบควบคุมระยะสั้น (8 ถึง 9 สัปดาห์) ของยาฟลูออกซิทีนนั้นสนับสนุนถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ผู้ป่วยจะใช้ยาฟลูออกซิทีนที่ขนาด 10 ถึง 20 มก./วัน

    โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)

    • สำหรับวัยรุ่นและเด็กที่มาน้ำหนักตัวสูงกว่า ขนาดยาเริ่มต้นคือ 10 มก./วัน หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ ให้เพิ่มขนาดยาไปที่ 20 มก./วัน
    • ควรพิจารณาเพิ่มขนาดยาหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ หากอาการคืบหน้าทางการแพทย์นั้นไม่เพียงพอ
    • แนะนำช่วงขนาดยาที่ 20 ถึง 60 มก./วัน

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาแคปซูลฟลูออกซิทีน ไฮโดรคลอไรด์ (Fluoxetine hydrochloride) 10 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา