backup og meta

ปั่นจักรยานกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในผู้ชาย ป้องกันได้หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ปั่นจักรยานกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในผู้ชาย ป้องกันได้หรือไม่

    ปั่นจักรยาน เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ได้รับความนิยม เพราะนอกจากจะช่วยเผาผลาญแคลอรี่แล้ว ยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในการปั่นจักรยาน จากการศึกษาพบว่า การปั่นจักรยานหลายชั่วโมง อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศสำหรับผู้ชาย ปั่นจักรยานกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร และสามารถป้องกันได้อย่างไร เพื่อไม่ให้การปั่นจักรยานทำลายชีวิตทางเพศของคุณ

    ปั่นจักรยานกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

    เมื่อคุณนั่งบนจักรยานเป็นเวลานาน เบาะจักรยานสามารถเพิ่มแรงกดดันบริเวณเพริเนี่ยม หรือฝีเย็บ (perineum) ซึ่งเป็นพื้นที่ระหว่างถุงอัณฑะและทวารหนักของผู้ชาย ส่วนในผู้หญิงคือเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างทวารหนักกับช่องคลอดของผู้หญิง ซึ่งบริเวณเพริเนี่ยมจะมีหลอดเลือดแดงและเส้นประสาท และแรงกดดันจากเบาะจักรยาน รวมถึงเบาะนั่งที่แคบ สามารถสร้างความเสียหายให้หลอดเลือดและเส้นประสาทได้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction: ED)

    นอกจากนี้ นักวิจัยพบว่านักปั่นจักรยานเพศชายบางคน พัฒนาความเสียหายของเส้นประสาทพิวเดนดัล (pudendal nerve) ที่เป็นเส้นประสาทหลักบริเวณเพริเนี่ยม และเส้นเลือดแดงพิวเดนดัลที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังอวัยวะเพศชาย ดังนั้นผู้ชายที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงไปกับการปั่นจักรยาน บางคนได้รายงานว่าพวกเขามีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวและไร้ความรู้สึก มากไปกว่านั้น การศึกษาวิจัยในผู้สูงอายุ เพศชาย ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่ปั่นจักรยานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจมีความเสี่ยงสูงสุดต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    สามารถป้องกันภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้หรือไม่

    ผู้ชายบางคนอาจกำลังมีคำถามว่า ‘ต้องเลิกปั่นจักรยานเลยหรือไม่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ’ นายแพทย์มาร์ติเนซ แพทย์เวชศาสตร์การกีฬาแห่งซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลว่า ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายจะต้องเลิกปั่นจักรยาน เนื่องจากภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากการปั่นจักรยาน ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และสามารถรักษาได้

    นอกจากนี้นายแพทย์มาร์ติเนซยังกล่าวอีกว่า คุณมีโอกาส 50% ที่จะเป็นโรคหรือเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ดังนั้นจึงควรมุ่งไปที่การออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้จะช่วยป้องกันโรคหัวใจ รวมถึงภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย

    ความจริงแล้วนอกจากการปั่นจักรยาน ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ถือเป็นสาเหตุอันดับ 1 และอันดับ 2 ของการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และมีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดขึ้นอย่างถาวร

    มากไปกว่านั้น ไม่ใช่ผู้ชายที่ปั่นจักรยานทุกคน จะต้องประสบกับภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเปรียบเหมือนกับการสูบบุหรี่ ที่ไม่ใช่ทุกคนที่สูบบุหรี่จะเป็นมะเร็งปอด อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงวิธีปั่นจักรยาน อาจช่วยลดแรงกดดันบริเวณบริเวณเพริเนี่ยม หรือฝีเย็น (perineum) นอกจากนี้หากปั่นจักรยานเป็นเวลานาน การยืนปั่นจักรยานอาจช่วยป้องกันแรงกดดันและช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น รวมถึงคุณสามารถป้องกันภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ ดังนี้

    ปั่นจักรยานกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ป้องกันได้อย่างไร

    ถ้าคุณยังกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากการปั่นจักรยาน นักวิจัยแนะนำว่าการเปลี่ยนลักษณะของเบาะ ความสูงของแฮนด์จักรยาน และประเภทของจักรยานอาจสามารถช่วยป้องกันได้

  • ลักษณะของเบาะจักรยาน งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า เบาะที่แคบ และเบาะที่มีลักษณะเป็นรูปตัววีที่ปลายจมูกของเบาะ สามารถลดออกซิเจนที่ไปสู่อวัยวะเพศชาย 82.4% และ 72.4% ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรเลือกเบาะที่กว้างและรับแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Applied Ergonomics ยังแนะนำว่า ควรเลือกเบาะที่มีความยาวของจมูกเบาะไม่เกิน 6 เซนติเมตร
  • ความสูงของแฮนด์จักรยาน งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร The Journal of Urology ให้ข้อมูลว่า ความสูงของแฮนด์จักรยาน ที่ขนานหรือสูงกว่าเบาะจักรยาน สามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ เมื่อเทียบกับแฮนด์จักรยานที่อยู่ต่ำกว่าความสูงของเบาะ
  • ประเภทของจักรยาน หากคุณต้องต่อสู้กับอาการปวดหลัง หรือปวดคอ รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ การปั่นจักรยานในร่มด้วยเครื่องปั่นจักรยานอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
  • เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

    คุณไม่จำเป็นต้องเลิกปั่นจักรยาน แต่เพียงแค่ปรับเปลี่ยนการปั่นจักรยานหรือเบาะจักรยานเล็กก็สามารถช่วยได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไป

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา