backup og meta

โพสตินอร์ (Postinor®)

ข้อบ่งใช้

โพสตินอร์ ใช้สำหรับ

โพสตินอร์ (Postinor®) เป็นยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน สำหรับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน โดยการยับยั้งไม่ให้ไข่ฝังตัวกับเยื่อบุโพรงมดลูก กระตุ้นการเคลื่อนไหวของท่อ และเพิ่มความเหนียวหนืดของเยื่อบุโพรงมดลูก

วิธีการใช้ยา โพสตินอร์

สำหรับยาแบบรับประทาน คุณควรจะ

  • รับประทานยาโพสตินอร์ตามที่แพทย์กำหนด ในเรื่องของขนาดยา ตารางการใช้ยา รับประทานยาให้เร็วที่สุดหลังจากที่คาดว่าการคุมกำเนิดนั้นล้มเหลว หรือหากคุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ควรรับประทานยาครั้งแรกภายใน 72 ชั่วโมง และรับประทานยาครั้งที่สอง 12 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาครั้งแรก
  • อ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้ยาโพสตินอร์
  • โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลใดๆ บนฉากยาที่คุณไม่เข้าใจ

การเก็บรักษายา โพสตินอร์

ยาโพสตินอร์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโพสตินอร์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบ และอ่านฉลากยาอย่างละเอียด หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโพสตินอร์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโพสตินอร์

ข้อมูลที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา โพสตินอร์

  • มีอาการแพ้ต่อยาโพสตินอร์ หรือกระสายยา (excipients) เมื่อใช้ในยาโพสตินอร์ ข้อมูลนั้นอยู่ในแผ่นพับข้อมูล
  • อาการแพ้ต่อยาอื่นๆ อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์
  • ผู้ใช้ยาเป็น เด็ก
  • ผู้ใช้ยาเป็น ผู้สูงอายุ
  • เป็นโรคหรือกำลังใช้ยาที่อาจมีปฏิกิริยาต่อยาโพสตินอร์

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีเกี่ยวกับการใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาโพสตินอร์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโพสตินอร์

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโพสตินอร์ก็มีเช่นเดียวกับยาอื่นๆ ยาโพสตินอร์นั้นสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้แทบจะไม่เกิดขึ้น และไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติม แต่ควรจะปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาใดๆ ระหว่างใช้ยานี้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยา มีดังนี้ คลื่นไส้ อาการเลือดออกหลังจากใช้ยาไป 2 ถึง 3 วัน หากมีอาการเหล่านี้ควรหยุดใช้ยาในทันที อาการตึงที่เต้านม และปวดหัว

ไม่ใช่ทุกคนที่จะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และในบางคนอาจมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโพสตินอร์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่าขณะนั้นกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อใช้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ เอง โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ เช่น แอมพิซิลิน (Ampicillin®) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin®) เทตราไซคลีน (Tetracycline®) คลอแรมเฟนนิโคล (Chloramphenicol®) นีโอมัยซิน (Neomycin®) ซัลโฟนาไมด์ (Sulphonamides®) บาร์บิทูเรต (barbiturates) และฟีนิลบิวตาโซน (phenylbutazone)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโพสตินอร์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโพสตินอร์อาจส่งผลให้อาการบางโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะหรือโรคที่คุณกำลังเป้นอยู่ ก่อนใช้ยาเสมอ เช่น

  • ตั้งครรภ์หรือคาดว่าอาจจะตั้งครรภ์
  • มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • โรคตับหรือโรคไต
  • โรคดีซ่านขณะตั้งครรภ์
  • เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งรังไข่ และโรคมะเร็งมดลูก
  • เคยเป็นโรคหอบหืด โรคหัวใจวาย ภาวะความดันโลหิตสูง โรคลมชัก โรคไมเกรน โรคไตวาย โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) โรคซึมเศร้า และภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดเรื้อรัง และอาการเลือดออกในสมอง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโพสตินอร์สำหรับผู้ใหญ่

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับขนาดยาโพสตินอร์ ขนาดยาที่แนะนำสำหรับบางกรณีมีดังต่อไปนี้

  • รับประทานยา 1 เม็ดทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ตามปกติแล้วจะใช้ไม่เกิน 1-2 เม็ด/เดือน หากคุณต้องใช้ยามากกว่านั้น โปรดใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น

ขนาดยาโพสตินอร์สำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยา ก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด 0.75 มิลลิกรัม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกขึ้นได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาที่ใช้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Postinor®. http://Postinor®pill.com/global-Postinor®/what-is-morning-after-pill/how-does-morning-after-pill-work. Accessed September 16, 2016.

Postinor®. http://www.nps.org.au/medicines/contraceptive-methods/progestogen-only-contraceptives/levonorgestrel-progestogen-only-contraceptives/Postinor®-2-tablets. Accessed September 16, 2016.

Postinor®.  https://www.drugs.com/cdi/levonorgestrel.html. Accessed September 16, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: ชลธิชา จันทร์วิบูลย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาเลื่อนประจำเดือน และยาคุมกำเนิดเลื่อนประจำเดือน ทำงานอย่างไร

ยาคุมกำเนิดช่วยลดสิว ได้อย่างไร และข้อควรระวังที่ควรรู้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา