backup og meta

กรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid)

กรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid)

ข้อบ่งใช้

กรดอัลฟาไลโนเลนิก ใช้สำหรับ

กรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid) คือกรดไขมันโอเมก้า 3 ในพืชชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันคาโนลา ถั่วเหลือง ใบงา น้ำมันวอลนัท

กรดอัลฟาไลโนเลนิกนิยมใช้เป็นยารักษาโรค และอาการทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

  • โรคหัวใจ
  • หัวใจวาย
  • ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคปอดบวม
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ Multiple sclerosis (MS)
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคเอสแอลดี (Systemic Lupus Erythematosus)
  • โรคเบาหวาน
  • ไตวาย
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
  • โรคโครห์น
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • ปวดศีรษะไมเกรน
  • มะเร็งผิวหนัง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • อาการแพ้และผื่นคัน เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคกลาก

กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิกอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกรดอัลฟาไลโนเลนิก

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกรดอัลฟาไลโนเลนิกที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กรดอัลฟาไลโนเลนิกอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะโรคเหล่านี้

โรคหัวใจ

งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า ผู้ที่รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิกมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลันน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน

ผลงานศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่มีระดับกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิกสูง (1.5 กรัมต่อวัน) มีอัตราความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันน้อยกว่าผู้ที่รับประทานกรดแอลไลโนเลนิกน้อยที่สุด (ประมาณครึ่งกรัมต่อวัน) ถึง 46%

นอกจากนี้ งานศึกษาวิจัยอีกหลายชิ้นยังแสดงให้เห็นว่า เมื่อรับประทานกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิกมากขึ้น อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจก็จะลดลง

ความดันโลหิตสูง

งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ค้นพบว่า การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดอัลฟาไลโนเลนิกช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงได้ถึง 30%

โรคหอบหืด

การศึกษาเบื้องต้นพบว่า กรดอัลฟาไลโนเลนิกอาจช่วยลดอาการผื่นคันและช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพของปอดสำหรับผู้ที่เป็นหอบหืด

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กรดอัลฟาไลโนเลนิก

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากกรดอัลฟาไลโนเลนิก หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคจิตเภท ระดับไตรกลีเซอรอยด์ของเลือดสูง (ไขมันในเลือดสูง) มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมกรดอัลฟาไลโนเลนิก ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้กรดอัลฟาไลโนเลนิก ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กรดอัลฟาไลโนเลนิก

โดยทั่วไป กรดอัลฟาไลโนเลนิกปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ เมื่อได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่ยังไม่มีผลการศึกษาที่เพียงพอ ในการยืนยันความปลอดภัยหากได้รับกรดอัลฟาไลโนเลนิกในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี การบริโภคกรดอัลฟาไลโนเลนิกจากอาหารและในรูปแบบอาหารเสริมมากเกินไป อาจทำให้คุณได้รับแคลอรีมากเกินจำเป็น จนส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดอัลฟาไลโนเลนิกอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • ยาเจือจางเลือด เช่น วาร์ฟาริน โคลพิโดเกรล แอสไพริน
  • ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน เช่น อะทอร์วาสแตติน โรซูวาสแตติน ฟลูวาสแตติน โลวาสแตติน ซิมวาสแตติน

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกรดอัลฟาไลโนเลนิก

สำหรับผู้ใหญ่

  • แนะนำที่ปริมาณ 1 – 2 กรัมทุกวัน
  • สำหรับการรับประทานเพื่อป้องกันโรคหัวใจหรือโรคใกล้เคียง เช่นอาการเจ็บหน้าอก หัวใจวาย : ประมาณ 1- 2 กรัมต่อวัน
  • สำหรับการรับประทานเพื่อป้องกันอาการหัวใจวายขั้นที่สองหรืออาการของโรคใดๆ ในขั้นที่สอง : ประมาณ 6 กรัมต่อวัน

สำหรับเด็ก

  • ทารกที่ยังดื่มน้ำนมแม่ควรได้รับกรดอัลฟาไลโนเลนิกที่เพียงพอจากแม่ที่รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ทารกควรได้รับกรดอัลฟาไลโนเลนิกในระดับมาตรฐาน
  • เด็กไม่ควรบริโภคกรดอัลฟาไลโนเลนิกในรูปแบบอาหารเสริม

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้อาหารเสริมอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของกรดอัลฟาไลโนเลนิก

กรดอัลฟาไลโนเลนิกอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • น้ำมันสำหรับทำอาหาร เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วลิสง
  • น้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์
  • ยาเสริมควบคุมน้ำหนักจากน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (แคปซูล)

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alpha-Linolenic Acid. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1035-alpha-linolenic%20acid.aspx?activeingredientid=1035&activeingredientname=alpha-linolenic%20acid. Accessed March 11, 2017.

Linolenic acid. https://www.drugbank.ca/drugs/DB00132. Accessed March 11, 2017.

Alpha-linolenic acid. http://pennstatehershey.adam.com/content.aspx?productId=107&pid=33&gid=000284. Accessed March 11, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมันดี คอเลสเตอรอล HDL สำคัญขนาดไหน และเราจะเพิ่มมันได้ยังไง

ไขมันอิ่มตัว กินแล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา