backup og meta

กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids)

ข้อบ่งใช้ข้อควรระวังและคำเตือนผลข้างเคียงปฏิกิริยาต่อยาขนาดยา

ข้อบ่งใช้

กรดอัลฟาไฮดรอกซี ใช้สำหรับ

กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha hydroxy acids) หรือเอเอชเอ (AHAs) เป็นกรดที่พบได้ในอาหาร ประกอบด้วย กรดซิตริก (พบในผลไม้ตระกูลส้ม) กรดกลีโคลิก (พบในอ้อย) กรดแลคติก (พบในนมเปรี้ยว) กรดมาลิก (พบในแอปเปิ้ล) กรดทาร์ทาริก (พบในองุ่น) และอื่นๆ

กรดอัลฟาไฮดรอกซีนิยมใช้เป็นยารักษาโรค และอาการทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

  • ใช้เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ อาการกดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับโรคปวดกล้ามเนื้อ
  • ใช้รักษาอาการทางผิวหนัง เช่น
    • ให้ความชุ่มชื้น และผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ
    • รักษาสิว และลบเลือนรอยแผลเป็น
    • ฟื้นฟูความเสื่อมสภาพของผิวหนัง
    • ช่วยให้ผิวกระชับและเรียบเนียน

กรดอัลฟาไฮดรอกซีอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกรดอัลฟาไฮดรอกซี

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกรดอัลฟาไฮดรอกซีที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กรดอัลฟาไลโนเลนิกช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกที่ตายแล้ว และยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นของผิวหนังชั้นในให้กระชับอีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กรดอัลฟาไฮดรอกซี

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้กรดอัลฟาไลโนเลนิก หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการใช้กรดอัลฟาไลโนเลนิก ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้กรดอัลฟาไลโนเลนิก ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กรดอัลฟาไฮดรอกซี

เมื่อทากรดอัลฟาไฮดรอกซีลงบนผิวหนัง อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ระคายเคืองผิวหนัง
  • ผิวแดง
  • ผิวบวม
  • อาการคัน
  • เม็ดสีผิวเปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้ การรับประทานกรดอัลฟาไฮดรอกซี อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่

  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • ไม่สบายท้อง

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดอัลฟาไฮดรอกซีอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกรดอัลฟาไฮดรอกซี

สำหรับรักษาริ้วรอยหรือผิวเสื่อมสภาพจากแสงแดด

  • ทากรดอัลฟาไฮดรอกซีความเข้มข้น 14% บนผิวหน้า วันละ 2 ครั้ง

สำหรับรักษารอยแผลป็นจากสิว 

  • ลอกหน้าเพื่อผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) ความเข้มข้น 20% หรือ 35% หรือ 50% หรือ and 70% ทุกๆ 2 สัปดาห์
  • ทากรดอัลฟาไฮดรอกซี ความเข้มข้น 15% แบบโลชั่นทุกวัน สำหรับผู้ที่ไม่ชอบการลอกหน้าเพื่อผลัดเซลล์ผิว

สำหรับรักษาฝ้าที่เกิดจากเมลาสม่า

  • ใช้กรดไกลโคลิกชนิดโลชั่น ความเข้มข้น 10% ทุกคืนเป็นเวลาสัปดาห์ และต้องทาครีมกันแดดทุกวัน
  • กรดไกลโคลิกชนิดลอกออก ความเข้มข้น 50% ทาลงบนผิวหน้า ทิ้งไว้ 2-5 นาที แล้วล้างออก สามเวลาต่อวัน

ปริมาณในการใช้สารนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้สารนี้อาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

รูปแบบของกรดอัลฟาไฮดรอกซี

  • กรดอัลฟาไฮดรอกซี ความเข้มข้น 14%
  • กรดไกลโคลิกชนิดลอกออก ความเข้มข้น 20% หรือ 35% หรือ 50% หรือ 70%
  • ใช้กรดไกลโคลิกชนิดโลชั่น ความเข้มข้น 10% หรือ 15%

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alpha Hydroxy Acids. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-977-alpha%20hydroxy%20acids.aspx. Accessed March 11, 2017

Alpha Hydroxy Acids. https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/alpha-hydroxy-acids. Accessed March 11, 2017

Alpha Hydroxy Acids. https://www.emedicinehealth.com/alpha_hydroxy_acids/vitamins-supplements.htm. Accessed March 11, 2017

Hydroxy Acids. https://www.sciencedirect.com/topics/neuroscience/hydroxy-acids. Accessed March 11, 2017

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

จัดการกับอาการ ปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ให้ได้ผล


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไข 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา