backup og meta

กรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma Linolenic Acid)

กรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma Linolenic Acid)

ข้อบ่งใช้

กรดแกมมาไลโนเลนิกใช้สำหรับ

กรดแกมมาไลโนเลนิก (GLA) เป็นไขมันที่พบได้ในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันโบราจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส นิยมใช้เป็นยารักษาโรค และอาการทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

บางคนใช้เพื่อป้องกันมะเร็งและช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตอบสนองต่อยา tamoxifen เร็วขึ้น

กรดแกมมาไลโนเลนิกอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกรดแกมมาไลโนเลนิก

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกรดแกมมาไลโนเลนิกที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ตาม มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กรดแกมมาไลโนเลนิกอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะโรคเหล่านี้

ประสาทเสื่อมจากเบาหวาน

จากการศึกษาบางส่วน การใช้กรดแกมมาไลโนเลนิกเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป อาจลดอาการปวดเส้นประสาทในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี มีการพบกรดแกมมาไลโนเลนิกมากกว่าผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

โรคสมาธิสั้น

การศึกษาทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีสมาธิสั้นมีระดับกรดไขมันจำเป็น (EFAs) ต่ำกว่า ทั้งโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อสมองและพฤติกรรมการแสดงออก จากงานศึกษาวิจัยบางชิ้นพบว่า การกินน้ำมันปลา ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยลดอาการสมาธิสั้นได้ แต่เรื่องนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม

โรคมะเร็งเต้านม

จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม ที่ใช้กรดแกมมาไลโนเลนิกมีการตอบสนองต่อยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่ไวต่อฮอร์โมน มากกว่าผู้ที่รับยาทาม็อกซิเฟนเพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้อาหารเสริมกรดแกมมาไลโนเลนิก

ความดันโลหิตสูง

จากข้อพิสูจน์เบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า การใช้กรดแกมมาไลโนเลนิก อาจช่วยลดความดันโลหิตเมื่อใช้อย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับกรดไขมันโอเมก้า 3 (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) และ Docosahexaenoic Acid (DHA) ซึ่งพบในน้ำมันปลา

การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การบริโภคกรดแกมมาไลโนเลนิกร่วมกับ EPA นั้นช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีความดัน systolic สูงได้ดีกว่าผู้ที่รับประทานยาหลอก (placebo) แต่ก็ยังต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ว่าการใช้กรดแกมมาไลโนเลนิกร่วมกับ EPA มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

โรคกระดูกพรุน

การศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า 65 คน พบว่า ผู้ที่รับประทาน EPA และกรดแกมมาไลโนเลนิกในรูปแบบอาหารเสริม มีการสูญเสียมวลกระดูกช้ากว่าผู้ที่ไม่รับประทานถึง 3 ปี

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กรดแกมมาไลโนเลนิก

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากกรดแกมมาไลโนเลนิก หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการไม่สบาย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดใช้กรดแกมมาไลโนเลนิก อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการอธิบายความปลอดภัย จากการใช้กรดแกมมาไลโนเลนิกระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กรดแกมมาไลโนเลนิก

กรดแกมมาไลโนเลนิก สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ เช่น อุจจาระเหลว อุจจาระร่วง ท้องผูก มีแก๊สในลำไส้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดแกมมาไลโนเลนิกอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • ยาเจือจางเลือด การใช้ยาเจือจางเลือดกับกรดแกมมาไลโนเลนิกอาจส่งผลกระทบกับการไหลของเลือด ยาเหล่านี้ได้แก่ แอสไพริน (Aspirin) คลอปิโดเกรล (Clopidogrel) วาฟาริน (Warfarin)
  • เซฟตาซิดิม (Ceftazidime) เนื่องจากกรดแกมมาไลโนเลนิกอาจเพิ่มประสิทธิภาพของยา
  • ยาเคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็ง เช่น ด็อกโซรูบิซิน (doxorubicin) ซิสพลาติน (cisplatin) คาร์โบพลาติน (carboplatin) ไอดารูบีซิน (idarubicin) ไมโตแซนโทรน (mitoxantrone) ทาม็อกซิเฟน (tamoxifen) วินคริสทีน (Vincristine)
  • ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) การใช้กรดแกมมาไลโนเลนิกกับไซโคลสปอริน อาจมีผลต่อภูมิคุ้มกันของยานี้
  • ยาในกลุ่มฟีโนไทอาซีน (Phenothiazine) เช่น คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) เพอร์เฟนาซีน (Perphenazine) โปรเมทาซีน (Promethazine) ไทโอริดาซีน (Thioridazine)

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยากรดแกมมาไลโนเลนิก

สำหรับอาการปวดเส้นประสาทเนื่องจากโรคเบาหวาน

ปริมาณที่แนะนำ คือ 360-480 มิลลิกรัมต่อวัน ควรหลีกเลี่ยงการใช้กรดแกมมาไลโนเลนิก ในปริมาณที่มากกว่า 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

รูปแบบของกรดแกมมาไลโนเลนิก

กรดแกมมาไลโนเลนิก อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • น้ำมันแบบแคปซูล ที่สกัดจากน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันเมล็ดลูกเกดดำ น้ำมันเมล็ดโบราจ เป็นต้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gamma-Linolenic-Acid. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-805-gamma%20linolenic%20acid.aspx?activeingredientid=805&activeingredientname=gamma%20linolenic%20acid. Accessed December 22, 2016.

Gamma-Linolenic-Acid. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/gammalinolenic-acid. Accessed December 22, 2016.

Gamma Linolenic Acid. https://www.rxlist.com/gamma_linolenic_acid/supplements.htm. Accessed December 22, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา