backup og meta

กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid)

ข้อบ่งใช้ข้อควรระวังและคำเตือนผลข้างเคียงปฏิกิริยาของยาขนาดยา

ข้อบ่งใช้

กรดแอสคอร์บิก ใช้สำหรับ

กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) หรือ วิตามินซี (Vitamin C) คือยาวิตามินซีที่ละลายน้ำได้ มักใช้สำหรับ

  • ป้องกันและรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินซี
  • สำหรับการเพิ่มการขับธาตุเหล็กจากการรักษาโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ด้วยการใช้ร่วมกับยาดีเฟอร็อกซามีน (Desferrioxamine)
  • ภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือดที่ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic methemoglobinemia) เมื่อไม่มียาเมทิลีน บลู (Methylene blue)
  • ไข้หวัด แผลที่ฟื้นฟูได้รวดเร็ว ป้องกันโรคมะเร็ง (ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้)

วิธีการใช้ กรดแอสคอร์บิก

ในรูปแบบรับประทาน คุณควรทำดังนี้

  • รับประทานกรดแอสคอร์บิก ตามขนาดยา และตารางการกินยาที่แพทย์กำหนด
  • อ่านฉลากยาอย่างละเอียดก่อนใช้กรดแอสคอร์บิก
  • ปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฉลากยาที่คุณไม่เข้าใจ

การเก็บรักษายากรดแอสคอร์บิก

กรดแอสคอร์บิกควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง กรดแอสคอร์บิกบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งกรดแอสคอร์บิกลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยากรดแอสคอร์บิก

ก่อนใช้กรดแอสคอร์บิก แจ้งให้แพทย์ทราบในกรณีต่อไปนี้

  • มีประวัติแพ้ยากรดแอสคอร์บิกและกระสายยาสำหรับยาที่มีส่วนประกอบกรดแอสคอร์บิก
  • แพ้ยาอื่น อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์
  • เป็นเด็ก
  • เป็นผู้สูงอายุ
  • ใช้ยาสำหรับโรคอื่นๆ ที่มีปฏิกิริยากับกรดแอสคอร์บิก

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

วิตามินซีสามารถส่งผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยทั้งในสัตว์และหญิงตั้งครรภ์ และยังไม่มีผลกระทบให้เห็นหากได้รับวิตามินซีน้อยกว่าความต้องการในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม การดื่มวิตามินซีปริมาณมากขณะตั้งครรภ์อาจเพิ่มความต้องการวิตามินซี และส่งผลให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) ในเด็กทารกได้

วิตามินซีสามารถแพร่กระจายเข้าสู่น้ำนมแม่ได้ โดยผู้ที่รับประทานวิตามินซีขณะให้นมบุตรอาจไม่เห็นความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นกับเด็กทารก

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กรดแอสคอร์บิก

การรับประทานกรดแอสคอร์บิกในขณะรับประทานยาอื่น สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นไปได้ยาก และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากใช้ยานี้แล้วเกิดปัญหาใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาจมีออกซาเลต (Oxalate) ในปัสสาวะเพิ่มขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนกลางอก ปวดท้อง เหนื่อยล้า หน้าแดง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ง่วงซึม และหากรับประทานวันละ 1 กรัม หรือมากกว่านั้น อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้อีกด้วย การฉีดยาวิตามินซีขนาดสูงเข้าทางหลอดเลือดดำนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น วิธีการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดจึงไม่สมควร และไม่ปลอดภัย

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดแอสคอร์บิกอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

กรดแอสคอร์บิกอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

กรดแอสคอร์บิคอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการและโรคต่อไปนี้

  • ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (Deficiency of glucose – 6 – phosphate dehydrogenase) หรือความเสี่ยงในการเกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia)
  • มีประวัติเป็นโรคนิ่วในไต
  • ภาวะออกซาเลตในปัสสาวะสูง (Hyperoxaluria) และ การเผาผลาญออกซาเลต (oxalate metabolism)
  • ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนการใช้ยานี้

ขนาดยากรดแอสคอร์บิกสำหรับผู้ใหญ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดยาในการใช้ยากรดแอสคอร์บิก ไฮโดรคลอไรด์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม ขนาดยาที่แนะนำในบางกรณีมีดังนี้

  • สำหรับเป็นอาหารเสริม 50-200 มก./วัน
  • สำหรับโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) 100-250 มก. วันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
  • สำหรับการเพิ่มการขับธาตุเหล็ก 100-200 มก./วัน
  • สำหรับภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด (Methemoglobin)  300-600 มก./วัน แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ

ขนาดยากรดแอสคอร์บิกสำหรับเด็ก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดยาในการใช้ยากรดแอสคอร์บิก ไฮโดรคลอไรด์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม ขนาดยาที่แนะนำในบางกรณีมีดังนี้

  • สำหรับเสริมอาหาร 35-100 มก./วัน
  • สำหรับโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) 100-300 มก. แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ต่อวัน เป็นเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
  • สำหรับภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด 300-600 มก./วัน แบ่งเป็นยามือเล็กๆ

รูปแบบของกรดแอสคอร์บิก

ความแรงและรูปแบบของกรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) มีดังนี้

  • แคปซูลแบบออกฤทธิ์นาน  500 มก.
  • ยาเม็ด  50 มก. 100 มก. 250 มก. 500 มก. 1 กรัม
  • ยาเม็ดแบบเคี้ยว  100 มก. 250 มก. 500 มก. 1 กรัม
  • ยาเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน  500 มก. 1 กรัม 1.5 กรัม
  • ยาเม็ดฟู่  1 กรัม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้รับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vitamin C

http://www.webmd.com/drugs/2/drug-322/ascorbic-acid-vitamin-c-oral/details. Accessed September 16, 2016.

Vitamin C

https://www.drugs.com/cdi/ascorbic-acid.html.  Accessed September 16, 2016.

Vitamin C

http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/ascorbic-acid-oral-route/description/drg-20068031. Accessed September 16, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/07/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินซีป้องกันหวัด ได้หรือไม่ งานวิจัยว่าอย่างไรบ้าง

ระวังให้ดี ขาดวิตามินซี โรคโลหิตจาง จะถามหา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์ โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group · เขียน โดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไข 22/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา