backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กรดไขมันซีทิเลเทด (Cetylated Fatty Acids)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

กรดไขมันซีทิเลเทด (Cetylated Fatty Acids)

กรดไขมันซีทิเลเทด (Cetylated Fatty Acids) พบมากในรูปแบบอาหารเสริม

ข้อบ่งใช้

กรดไขมันซีทิเลเทดใช้สำหรับ

กรดไขมันซีทิเลเทด (Cetylated Fatty Acids) เป็นกลุ่มไขมันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบได้มากในรูปแบบอาหารเสริม นิยมใช้ทาที่ผิวหนังและรับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่อไปนี้

  • โรคข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

    โรคข้ออักเสบไรเตอร์  โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด

  • โรคภูมิต้านทานผิดปกติ เช่น โรคปากแห้งตาแห้ง โรคพุ่มพวงหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • โรคปวดกล้ามเนื้อ
  • โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคต่อมลูกหมากโต
  • อาการปวดหลังชนิดต่างๆ
  • โรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • อาการอักเสบของเส้นเลือดที่เรียกว่า กลุ่มอาการเบเซ็ท (Behcet’s syndrome)
  • ใช้บริเวณผิวหนังเพื่อรักษาโรคข้อกระดูกอักเสบ

กรดไขมันซีทิเลเทดอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกรดไขมันซีทิเลเทด

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกรดไขมันซีทิเลเทดที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กรดไขมันซีทิเลเทดอาจมีส่วนช่วยหล่อลื่นข้อต่อ กล้ามเนื้อเยื่ออ่อน และเพิ่มความยืดหยุ่น นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และฟื้นฟูการอักเสบ

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กรดไขมันซีทิเลเทด

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร ยาทางเลือกอื่นๆ เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้กรดไขมันซีทิเลเทดหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

คนส่วนใหญ่สามารถรับประทานกรดไขมันซีทิเลเทด และใช้กรดไขมันซีทิเลเทดในบริเวณผิวหนังได้อย่างปลอดภัย เมื่อใช้งานในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยเมื่อใช้งานในระยะยาวอย่างเพียงพอ คุณจึงควรปึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้งาน

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมกรดไขมันซีทิเลเทด ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้กรดไขมันซีทิเลเทด ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กรดไขมันซีทิเลเทด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดไขมันซีทิเลเทดอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกรดไขมันซีทิเลเทด

ยาทาภายนอก

สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

ทายาลงบนบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง

ยารับประทาน :

สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

รับประทานในอาหารเสริมกรดไขมันซีทิเลเทด ขนาด 350 มก. ร่วมกับเลซิตินจากถั่วเหลือง (soy lecithin) 50 มก. และน้ำมันปลา 75 มก.

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้อาหารเสริมอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของกรดไขมันซีทิเลเทด

กรดไขมันซีทิเลเทด อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • เจลเซราดริน 35 มิลลิกรัม
  • เซตทริลแคปซูล 1100 มิลลิกรัม
  • ไมริสเตรทคอมเพล็กซ์ 220 มิลลิกรัม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา