backup og meta

กลูตามีน (Glutamine) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

กลูตามีน (Glutamine) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

กลูตามีน (Glutamine) เป็นกรดอะมิโนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ในช่องท้องและลำไส้ มักใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับรักษาอาการขาดกรดอะมิโนหรือขาดกลูตามีน อีกทั้งยังใช้ควบคู่กับโกรทฮอร์โมนในร่างกายของมนุษย์เพื่อรักษาอาการเกี่ยวกับโรคลำไส้ นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร อีกด้วย

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้

กลูตามีน ใช้สำหรับ

กลูตามีน (Glutamine) เป็นกรดอะมิโนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ในช่องท้องและลำไส้ มักใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับรักษาอาการขาดกรดอะมิโนหรือขาดกลูตามีน อีกทั้งยังใช้ควบคู่กับโกรทฮอร์โมนในร่างกายของมนุษย์เพื่อรักษาอาการเกี่ยวกับโรคลำไส้ นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร อีกด้วย

กลูตามีนอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกลูตามีน

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกลูตามีนที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กลูตามีนสามารถกระจายไปตามหลอดเลือดเพื่อไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ที่ต้องการ และอาจมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กลูตามีน

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้กลูตามีน หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และการบริโภคอาหารเสริมกลูตามีนควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้กลูตามีนระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อภาวะอื่นๆ

สำหรับเด็ก :

เด็กอายุ 3-18 ปี ไม่ควรรับประทานกลูตามีนเกินวันละ 0.7 กรัม ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัว) เนื่องจากยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยสำหรับการใช้ในปริมาณที่มากกว่านี้สำหรับเด็ก

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กลูตามีน

หลังรับประทานกลูตามีน อาจเกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • มือและเท้าบวม
  • ปวดกล้ามเนื้อ และปวดข้อต่อกระดูก
  • ปวดหลัง
  • ปวดศีรษะ
  • เวียนศีรษะ
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • คันและระคายเคืองผิวหนัง
  • ปากแห้ง
  • มีน้ำมูก
  • ภาวะเหงื่อออกมาก
  • อาการโรคลมพิษ
  • หายใจติดขัด
  • อาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอ
  • เจ็บหน้าอก
  • มีปัญหาทางการได้ยิน
  • สัญญาณของการอักเสบ เช่น ไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ไข้หวัดใหญ่ มีแผลในปาก

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กลูตามีนอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • ยาแลคตูโลส
  • ยาสำหรับการรักษามะเร็ง (ยาเคมีบำบัด)
  • ยาที่ใช้ป้องกันอาการชัก (ยากันชักหรือยาต้านชัก) เช่น ฟีโนบาร์บิทัล กาบาเพนติน วัลโปรอิกแอซิด

หรือมีสภาวะทางการแพทย์ต่อไปนี้

  • โรคตับ
  • โรคไต
  • อาการชัก
  • อาการทางจิต

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกลูตามีน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูตามีนสำหรับผู้ใหญ่ :

  • รับประทานปริมาณเฉลี่ย 10 กรัม 3 ครั้งต่อวัน
  • ปริมาณการให้ยา ตั้งแต่ 5-30 กรัมต่อวัน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ :

รับประทานยาในปริมาณ 5 กรัม แบ่งเป็น 6 ครั้งต่อวัน เว้นระยะห่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง และรับประทานพร้อมมื้ออาหารหรืออาหารว่าง เป็นเวลา 16 สัปดาห์

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูตามีนสามารถใช้ร่วมกับโกรทฮอร์โมนหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ ได้

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว :

รับประทานยาโดยเฉลี่ย 30 กรัม ต่อวัน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว :

สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี รับประทานยาโดยเฉลี่ย 600 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัว) ต่อวัน

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของกลูตามีน

กลูตามีนอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ยาผงละลายน้ำ
  • ยาแขวนตะกอนชนิดผง
  • ยาเม็ด
  • แคปซูล
  • ยาผง
  • ยาเม็ดเล็ก

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Glutamine. https://www.drugs.com/mtm/glutamine.html. Accessed November 31, 2016.

L-Glutamine. http://www.drugbank.ca/drugs/DB00130. Accessed November 31, 2016.

Glutamine (Oral Route). http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/glutamine-oral-route/before-using/drg-20064099. Accessed November 31, 2016.

Glutamine. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-878-glutamine.aspx?activeingredientid=878&. Accessed November 31, 2016.

Glutamine: Metabolism and Immune Function, Supplementation and Clinical Translation. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6266414/. Accessed October 18, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/10/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหาร และการ ดูแลสุขภาพลำไส้

เชื่อหรือไม่? วิตามิน สร้างกล้ามเนื้อ ได้ดีไม่แพ้อาหารเสริมเลยนะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา