backup og meta

นาราทริปแทน (Naratriptan)

นาราทริปแทน (Naratriptan)

ข้อบ่งใช้ นาราทริปแทน

นาราทริปแทน ใช้สำหรับ

นาราทริปแทน (Naratriptan) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดศรีษะไมเกรนแบบฉับพลัน ยาตัวนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและอาการไมเกรนอื่นๆ ได้แก่ ปฏิกิริยาไวต่อแสงและเสียง คลื่นไส้ และอาเจียน การรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้คุณกลับสู่กิจวัตรปกติได้ และอาจลดความต้องการใช้ยาแก้ปวดอื่นๆ

ยานาราทริปแทนจัดอยู่ในตระกูลยาที่เรียกว่า “ทริปแทน’ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเซโรโทนิน (serotonin) ที่จะทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ ยาตัวนี้ยังอาจไปยับยั้งระบบประสาทนำความรู้สึกเจ็บปวดในสมอง

วิธีการใช้ นาราทริปแทน

  • เมื่อเกิดสัญญาณแรกของไมเกรน ยาตัวนี้อาจรับประทานพร้อมกับอาหาร หรือแค่ยาเพียงอย่างเดียวได้ หรือรับประทานนาราทริปแทนตามที่แพทย์กำหนด
  • ห้ามเพิ่มปริมาณยาก่อนที่ปรึกษาจากแพทย์ของคุณ หากอาการของคุณ บรรเทาเพียงบางส่วน หรือหากอาการปวดหัวของคุณกลับมา คุณอาจต้องรับประทานยารอบที่สองหลังผ่านไป 4 ชั่วโมง หรือตามที่แพทย์กำหนดอย่ารับประทานมากกว่า 5 มิลลิกรัมในช่วง 24 ชั่วโมง
  • หากคุณมีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจ และไม่เคยรับประทานยาตัวนี้มาก่อน คุณอาจได้รับการแนะนำให้รับประทานยาครั้งแรกในโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ของคุณดูแลอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจรุนแรง เช่น หัวใจวาย
  • ปริมาณของยาขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก อาการทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ แจ้งหมอของคุณ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือทรุดลง
  • หากคุณรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนเป็นเวลา 10 วันหรือมากกว่านั้นในแต่ละเดือน ตัวยาอาจทำให้อาการปวดหัวของคุณทรุดลง (อาการปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด) อย่าใช้ยาบ่อยเกินหรือนานเกินกว่าที่แพทย์ของคุณกำหนด
  • แจ้งให้แพทย์ของคุณทราบ หากคุณจำเป็นที่ใช้ยาตัวนี้บ่อยมากขึ้น หรือหากยาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือหากอาการปวดหัวของคุณแย่ลง

การเก็บรักษา นาราทริปแทน

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งนาราทริปแทนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

นาราทริปแทนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ นาราทริปแทน

ก่อนรับประทานนาราทริปแทน ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาตัวนี้ หรือแพ้ยาไมเกรนตระกูลทริปแทน ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ไม่ใช่สารออกฤทธิ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาต่างๆ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ก่อนใช้นาราทริปแทนควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงประวัติโรคประจำตัวหรืออาการต่างๆ ของคุณ ดังนี้

  • โรคหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจวาย อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • การไหลเวียนเลือดในสมองลดลง เช่น โรคเส้นเลือดในสมองแตก โรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (transient ischemic attack)
  • โรคทางระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคลำไส้ขาดเลือด (ischemic bowel disease) โรคเรย์นอยด์ (Raynaud’s disease)
  • อาการปวดหัวบางประเภท เช่น อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegic) หรือ ไมเกรนชนิดปวดศีรษะที่ท้ายทอย (basilar migraine)
  • โรคตับ
  • โรคไต

อาการบางประเภทสามารถเพิ่มความเสี่ยงของคุณสำหรับปัญหาหัวใจ แจ้งแพทย์ของคุณหากคุณมีอาการต่อไปนี้

หากคุณมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจ ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจตรวจหัวใจของคุณก่อนจ่ายนาราทริปแทนให้

ยาตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือง่วงซึม ไม่ควรใช้ยานพาหนะจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

ความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคตับ และความดันโลหิตสูง ขึ้นอยู่กับอายุ วัยของผู้สูงอายุ อาจมีการตอบสนองต่อผลข้างเคียงไวต่อยาตัวนี้ โดยเฉพาะความดันโลหิตเพิ่มขึ้นและปัญหาหัวใจ

สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนใช้

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า นาราทริปแทนสามารถผ่านสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ ไม่แนะนำการให้นมบุตรระหว่างกำลังใช้นาราทริปแทนโปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรี ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

นาราทริปแทนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในบางงานวิจัย
  • C = อาจมีความเสี่ยง
  • D = มีความเสี่ยงชัดเจน
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของ นาราทริปแทน

ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ทั่วไปจากการใช้นาราทริปแทน มีดังนี้

  • อาจเกิดอาการทางผิวหนังทำให้เป็นรอยแดง รู้สึกชา มีผดผื่น
  • เหนื่อยล้า ง่วงนอนหรือเวียนหัว

แจ้งแพทย์โดยทันที หากคุณมีผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ ได้แก่

  • นิ้วมือ นิ้วเท้าหรือเล็บม่วง
  • อาการเย็นที่มือและเท้า
  • การเปลี่ยนแปลงทางการรับฟัง
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ

ยาตัวนี้อาจจะไปเพิ่มระดับเซโรโทนิน และอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงที่เรียกว่า กลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome) ความเสี่ยงของอาการนี้อาจเพิ่มขึ้น ควรเข้ารับการดูแลทางการแพทย์ทันที หากอาการรุนแรงเหล่านี้ปรากฎ

  • อาการเจ็บ ตึงหรือแน่นที่หน้าอก ขากรรไกร หรือคอ ที่มักจะไม่ร้ายแรง
  • หายใจถี่ หรือเหงื่อออกผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วและผิดปกติ
  • เป็นลม
  • เจ็บกระเพาะหรือท้องอย่างรุนแรง
  • ท้องร่วงเป็นเลือด
  • สัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก เช่น ซีกหนึ่งของร่างกายอ่อนแรง ปัญหาการพูด การเปลี่ยนแปลงฉับพลันของการมองเห็น อาการสับสน
  • การเห็นภาพหลอน
  • เวียนหัว
  • อาเจียน
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ไข้หวัดที่หาสาเหตุไม่ได้
  • อาการกระสับกระส่ายผิดปกติ

หากผลข้างเคียงใดๆ เหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่อง หรือทรุดลง แจ้งให้หมอหรือเภสัชกรทราบโดยทันที

จำไว้ว่า แพทย์ของคุณจ่ายนาราทริปแทนให้คุณ เพราะแพทย์พิจารณาแล้วว่าประโยชน์ที่คุณจะได้รับ มีมากกว่าความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียง หลายคนที่ใช้ยาตัวนี้ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ

ยาตัวนี้อาจเพิ่มความดันโลหิตของคุณ ตรวจความดันโลหิตของคุณเป็นประจำ และแจ้งแพทย์ของคุณ หากผลตรวจความดันมีค่าสูงกว่าปกติ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงในข้างต้นนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรที่จำหน่ายยาอย่างละเอียดก่อนการใช้เสมอ

ปฏิกิริยาของยา

ปฎิกิริยากับยาอื่น

หากคุณรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนเออร์โกตามีน (ergotamine) เช่น ยาไดไฮโดรเออร์โกตามีน (dihydroergotamine) หรือยาตระกูล “ทริปแทน’ อื่นๆ เช่น ยาโซลมิทริปแทน (zolmitriptan) ยาไรซาทริปแทน (rizatriptan) คุณจำเป็นต้องเว้นระยะการรับประทานยานาราทริปแทน ให้ห่างจากการรับประทานยาเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงของโอกาสเกิดผลข้างเคียงรุนแรง ขอคำแนะนำจากแพทย์ของคุณว่า คุณควรเว้นระยะนานแค่ไหนในช่วงเวลารับประทานยาเหล่านี้

ความเสี่ยงของอาการเซโรโทนินจะเพิ่มขึ้น หากคุณรับประทานยาตัวอื่นที่ไปเพิ่มเซโรโทนินด้วยเช่นกัน ได้แก่ ยาเสพติด เช่น ยาอี (MDMA) สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต (St. John’s wort) ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด ได้แก่ ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs ยาที่ยับยั้งเซโรโทนินและนอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) กลับเข้าสู่ร่างกาย เช่น ยาดูลอกซิทีนติน/เวนลาฟาซีน (duloxetine/venlafaxine) ความเสี่ยงของอาการเซโรโทนินอาจเพิ่มขึ้นได้เมื่อคุณเริ่มใช้หรือเพิ่มปริมาณของยาเหล่านี้

นาราทริปแทนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฎิกิริยาต่ออาหารหรือแอลกอฮอล์

นาราทริปแทนอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาต่ออาการโรคอื่น

นาราทริปแทนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่ได้มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณทุกครั้ง ก่อนใช้ยานาราทริปแทน

ขนาด นาราทริปแทน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาโดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไมเกรน

ใช้เมื่อถูกวินิจฉัยชัดเจนว่าเป็นไมเกรนแล้วเท่านั้น

  • ขนาดยาเริ่มต้น : รับประทาน 1 มิลลิกรัมหรือ 2.5 มิลลิกรัม 1 ครั้ง ต่อวัน

หากมีการตอบสนองต่อยารอบแรก อาจเพิ่มยารอบที่สองหลัง 4 ชั่วโมง หากไมเกรนหรืออาการอื่นๆกลับมา

  • ขนาดยาสูงสุด : 5 มิลลิกรัม ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

คำแนะนำ

  • นาราทริปแทนไม่ควรนำมาใช้รักษาไมเกรนที่ท้ายทอย (basilar migraines) หรือไมเกรนอัมพาตครึ่งซีก (hemiplegic migraines) เพราะผู้ป่วยประเภทนี้มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก
  • ไม่มีการปรากฏให้เห็นชัดถึงความปลอดภัยในการรักษาอาการไมเกรนกำเริบ 4 ครั้งขึ้นไปภายในระยะเวลา 30 วัน

การใช้

  • สำหรับการรักษาไมเกรนฉับพลันที่มีอาการเตือนและไม่มีอาการเตือน

การปรับขนาดยาเข้ากับไต

ผู้ที่มีความบกพร่องทางไตอย่างรุนแรง (CrCl น้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาที) : ห้ามใช้นาราทริปแทน

ความบกพร่องทางไตระดับเบาจนถึงปานกลาง :

  • ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทาน 1 มิลลิกรัม 1 ครั้ง ต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุด: 2.5 มิลลิกรัมในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

การปรับขนาดยาเข้ากับตับ

ผู้ที่มีความบกพร่องทางตับอย่างรุนแรง (ประสิทธิภาพการทำงานของตับระดับ C) : ห้ามใช้

ความบกพร่องทางตับระดับเบาจนถึงปานกลาง (ประสิทธิภาพการทำงานของตับระดับ A หรือ B):

  • ขนาดยาเริ่มต้น : รับประทาน 1 มิลลิกรัม ครั้งเดียว
  • ขนาดยาสูงสุด : 2.5 มิลลิกรัมในช่วง 24 ชั่วโมง

การปรับขนาดยา

  • ผู้สูงอายุ : ควรระมัดระวังการเลือกขนาดยา โดยทั่วไป มักจะเริ่มจากขนาดยาที่ระดับต่ำสุด

คำแนะนำ

คำแนะนำสำหรับการจัดการยา

  • รับประทานพร้อมน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มอื่นๆ
  • ขนาดยารอบที่สอง ควรรับประทานหลังผ่านไปอย่างน้อย 4 ชั่วโมงของยารอบแรก

ทั่วไป

  • ใช้เมื่อถูกวินิจฉัยชัดเจนว่าเป็นไมเกรนแล้วเท่านั้น หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อตัวยา ควรพิจารณาการวินิจฉัยไมเกรนใหม่ ก่อนที่จะไมเกรนจะกำเริบอีกครั้ง
  • นาราทริปแทนไม่ได้มีไว้รักษาอาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ (cluster headaches) ไมเกรนอัมพาตครึ่งซีก หรือ ไมเกรนท้ายทอย หรือสำหรับการรักษาไมเกรนด้วยสารเคมี
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (CAD) ควรทำการประเมินหัวใจและหลอดเลือด เพื่อเริ่มการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่มีผลประเมินที่น่าพอใจ ควรพิจารณาการให้ยารอบแรก ภายใต้การดูแลทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด และทำการตรวจทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ (ECG) ทันทีหลังการให้ยา
  • อาการปวดหัวจากการใช้ยามากเกินไป อาจมีอาการปวดศีรษะเหมือนไมเกรน หรือเป็นสัญญาณของการเกิดไมเกรนบ่อยขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านไมเกรนฉับพลัน อย่างเช่น ยาเออร์โกตามีน (ergotamine) ยาทริปแทน (triptans) ยาโอปิออยด์ (opioids) เป็นเวลา 10 วัน หรือมากกว่านั้นต่อเดือน ควรพิจารณาถึงพฤติกรรมการใช้ยาเกินขนาด และการรักษาอาการขาดยา

การสังเกตอาการ

  • ควรพิจารณาการสังเกตอาการ ด้วยการตรวจทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ (ECG) เป็นระยะๆ พร้อมกับขนาดยาครั้งแรกในผู้ป่วย ที่มีปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด (CAD) ที่เข้ารับการประเมินหลอดเลือดและหัวใจและมีผลที่น่าพอใจ พิจารณาการประเมินหัวใจและหลอดเลือดเป็นระยะๆ ผู้ใช้ยาระยะยาวที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • สังเกตความดันโลหิต
  • สังเกตอาการเซโรโทนิน หากจำเป็นต้องยาตัวนี้ร่วมกับ ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs หรือ ยาต้านโรคซึมเศร้ากลุ่ม SNRIs ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มการรักษาหรือการเพิ่มขนาดยาเซโรโทเนอจิก (serotonergic medication)

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำให้ปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนรับประทานยาหรืออาหารเสริมอื่นๆ
  • ผู้ป่วยควรตระหนักถึงความเสี่ยงของผลข้างเคียงรุนแรงทางหัวใจและหลอดเลือด เข้ารับคำปรึกษาทางการแพทย์ทันที หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น
  • ผู้ป่วยที่อาการไม่บรรเทาลง หลังรับประทานยาตัวนี้ในรอบแรก ควรปรึกษากับหมอ ก่อนรับประทานยาครั้งต่อไป
  • ผู้ป่วยควรได้รับแจ้งถึงความเป็นไปได้ในการเกิดผลข้างเคียงของอาการปวดหัว เนื่องจากการใช้ยาเกินขนาด
  • ตัวยาอาจทำให้ประสิทธิภาพทางความคิด การตัดสินใจ หรือความสามารถในการเคลื่อนไหวบกพร่อง ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร จนกว่าอาการของคุณดีขั้น
  • แนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ หากอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

ขนาด นาราทริปแทน สำหรับเด็ก

ไม่มีการกำหนดขนาดยาสำหรับผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากเป็นยาค่อนข้างอันตราย ควรทำความเข้าใจถึงความปลอดภัยของนาราทริปแทนก่อนใช้และโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบยา นาราทริปแทน

ยานาราทริปแทนมีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้

  • ยาเม็ดแบบรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานนาราทริปแทน ควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Naratriptan Dosage. https://www.drugs.com/dosage/naratriptan.html. Accessed December 02, 2019.

Naratriptan HCL. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-6425/naratriptan-oral/details. Accessed December 02, 2019.

Naratriptan (Oral Route) https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/naratriptan-oral-route/description/drg-20064973 Accessed December 02, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการปวดหัว ที่เกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือดในสมอง

5 พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน ที่คุณควรหลีกเลี่ยง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา