backup og meta

5 พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน ที่คุณควรหลีกเลี่ยง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นาดิยา ยะสีงอ · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    5 พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน ที่คุณควรหลีกเลี่ยง

    ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention) ระบุว่ามีผู้ที่เป็นไมเกรนมากถึง 1 พันล้านคนทั่วโลก จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถเลี่ยงไม่ให้ไมเกรนกำเริบ บทความนี้ Hello คุณหมอ ได้นำวิธีง่ายๆ ที่ช่วยได้คือ การหลีกเลี่ยง พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน มาฝากคุณผู้อ่านกัน

    จริงหรือไม่ ไมเกรนกำเริบ เพราะมีตัวกระตุ้น

    ในทางการแพทย์ ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุทำให้ไมเกรนกำเริบโดยแท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้ว ไมเกรนกำเริบเพราะปัจจัยที่เรียกว่าตัวกระตุ้น (Triggers) ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการสื่อสารของเส้นประสาทและหลอดเลือด และทำให้กระบวนการทำงานของสมองผิดปกติ และเกิดอาการปวดหัวขึ้นมา แต่ตัวกระตุ้นแต่ละตัวอาจส่งผลต่อแต่ละคนต่างกัน

    ตัวกระตุ้นที่ทำให้ไมเกรนกำเริบ มักพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ตัวที่พบบ่อยที่สุดคือตัวกระตุ้นจากอาหาร ฮอร์โมน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต  มาดูกันว่าสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ไมเกรนกำเริบนั้นมีอะไรบ้าง

    ตัวกระตุ้นจากชีวิตประจำวัน และวิธีการรับมือ

    สิ่งกระตุ้นบางอย่างที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สำหรับผู้ที่เป็นไมเกรน การรู้จักสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการจัดการกับชีวิตตัวเองได้

    ไมเกรนกำเริบ

    พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน ที่ควรหลีกเลี่ยง

    1.ความเครียด

    ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ไปกระตุ้นอาการปวดหัวไมเกรน Priyanka Chaudhry นักประสาทวิทยา กล่าวว่า ในช่วงการทำงานที่ยาวนานหรือการทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องใช้ความคิด อาจก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบ หรือ มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง Hsinlin Cheng นักประสาทวิทยาอีกคนกล่าวว่า ความเครียด คือตัวกระตุ้นอันดับหนึ่งของผู้ที่มีอาการไมเกรนกำเริบ

    วิธีการเยียวยาอาการเหล่านี้คือการทานยาแก้ซึมเศร้าหรือการพบจิตแพทย์บางเป็นครั้งคราว เพื่อเป็นการคลายจากความเครียดหรือสิ่งที่ทำให้ทุกข์ใจ ทางด้าน Dr.Chaudhry กล่าวว่า การพยายามเรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียด และเข้าใจว่ามันส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้างนั้นทำได้ง่ายกว่าการหาวิธีกำจัดความเครียด อาจลองทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อผ่อนคลายเช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือจินตภาพบำบัด (Guided imagery)

    2. การนั่งทำงานนานๆ

    การนั่งทำงานนานๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รับแสงจากจอคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นอย่างหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหัว แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับมองว่า แสงอาจจะไม่ใช่ตัวกระตุ้นเพียงอย่างเดียว หลายๆ ครั้งไมเกรนกำเริบเป็นเพราะการนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น การถือหรือวางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมือถือในตำแหน่งที่ทำให้ต้องก้มหน้ามองแทนที่จะอยู่ในระดับสายตา

    Dr. Cheng กล่าวว่า ผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ปวดไหล่ และปวดคอ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว

    3. นอนไม่ตรงเวลา

    นอนน้อยไปหรือมากไปก็อาจกระตุ้นอาการปวดหัวได้ หมอแนะนำว่าควรนอนให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอแม้ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพื่อจะได้นอนอย่างมีประสิทธิภาพ การนอนมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าและอีกสารพัดโรค

    หากนอนไม่เพียงพอก็อาจจะกระตุ้นอาการปวดหัวได้ หากนอนไม่หลับควรรีบหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร บางครั้งอาจเป็นเพราะใช้โทรศัพท์ เนื่องจากแสงจากหน้าจอทำให้ร่างกายตื่น จึงควรเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ก่อนนอนเ

    4. การนอนกัดฟัน

    การนอนกัดฟันเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint disorders) หรือที่เรียกกันว่า TMJ การนอนกัดฟันทำให้เกิดอาการปวดกรามและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ หลายๆ ครั้งที่แพทย์พบว่าอาการ TMJ เป็นผลจากความเครียด ดังนั้น หากมีชอบกัดฟันไม่ว่าจะตอนนอนหรือระหว่างวันควรรีบปรึกษาแพทย์

    5. การใช้ยาที่มากเกินไป

    การใช้ยามากจนเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้อักเสบประเภทที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่รู้จักกันว่า NSAIDs หากใช้บ่อยเกินไปก็อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้ปวดหัวได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะว่าคนส่วนใหญ่มักใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ใช้ยาอย่างต่อเนื่องและเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกๆ ครั้ง ดั้งนั้น หากมีอาการไมเกรนกำเริบ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาและใช้ยาที่ถูกต้อง

    คุณจะสามารถรับมืออาการไมเกรนที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

    เมื่อปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมานั้นเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้คุณเกิดอาการไมเกรนขึ้น คุณสามารถรับมือได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งเสริมสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ โดย

    • หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • เลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เช่น งดทานอาหารแปรรูป อาหารที่มีรสชาติเค็มจัด
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์
    • นอนหลับพักผ่อนให้เปลี่ยนพอ

    อย่างไรก็ตาม หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการรักษาอาการไมเกรนนี้เพิ่มเติม หรือมีความประสงค์ที่จะขอเข้ารับการรักษา โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ในโรงพยาบาลใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยของคุณได้ทุกเมื่อ เพื่อรับคำแนะนำการรักษาและวิธีดูแลสุขภาพของตนเอง ตามขั้นตอนของทางการแพทย์ที่ถูกต้อง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นาดิยา ยะสีงอ · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา