backup og meta

บรินโซลาไมด์ (Brinzolamide)

บรินโซลาไมด์ (Brinzolamide)

บรินโซลาไมด์ (Brinzolamide) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการความดันภายในดวงตาสูงเนื่องจากโรคต้อหินมุมเปิด (Glaucoma ) หรือโรคดวงตาอื่นๆ

ข้อบ่งใช้ บรินโซลาไมด์

บรินโซลาไมด์ ใช้สำหรับ

บรินโซลาไมด์ (Brinzolamide) ใช้เพื่อรักษาอาการความดันภายในดวงตาสูงเนื่องจากโรคต้อหินมุมเปิด (Glaucoma ) หรือโรคดวงตาอื่นๆ เช่น ภาวะความดันตาสูง (Ocular hypertension) การลดระดับของความดันภายในดวงตาที่เพิ่มสูงนั้นจะช่วยป้องกันการตาบอดได้ ยานี้ทำงานโดยการลดปริมาณของน้ำภายในดวงตา จัดในกลุ่มของยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อินฮิบิเตอร์ (Carbonic Anhydrase Inhibitors)

วิธีการใช้ บรินโซลาไมด์

  • หยอดยานี้เข้าดวงตาข้างที่มีอาการ ตามปกติคือ 1 หยด วันละ 3 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด ควรเขย่าขวดให้ดีก่อนใช้ยา
  • ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจะหยอดยาหยอดตา เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน อย่าให้ปลายขวดสัมผัสกับดวงตาหรือพื้นผิวอื่นๆ
  • คอนแทคเลนส์อาจจะดูดซึมสารกันบูดในยาได้ หากคุณสวมคอนแทคเลนส์ ควรถอดออกก่อนใช้ยา หลังจากใช้ยาแล้วควรรออย่างน้อย 15 นาทีก่อน แล้วจึงค่อยสวมคอนแทคเลนส์กลับคืนไป
  • เงยหน้าขึ้นมองขึ้นไปด้านบน แล้วดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง ถือขวดยาหยอดตาไว้เหนือดวงตา แล้วหยอดยาหนึ่งหยดลงไป โดยปกติคือวันละ 3 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด มองลงมาแล้วค่อยๆ หลับตานาน 1-2 นาที ใช้นิ้วกดลงไปเบาๆ บริเวณหัวตา (ใกล้กับจมูก) พยายามอย่ากระพริบตาหรือขยี้ตา การทำแบบนี้จะช่วยป้องกันไม่ยาไหลออกจากดวงตา ทำตามขั้นตอนนี้ซ้ำที่ดวงตาอีกข้างหนึ่ง
  • อย่าล้างขวดยาหยอดตาและปิดฝาหลังจากใช้งาน
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นสำหรับดวงตา เช่น ยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งทาตา ควรรออย่างน้อย 5-10 นาที
  • ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการใดๆ ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด และง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน อย่าหยุดใช้ยานี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น

การเก็บรักษา บรินโซลาไมด์

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งบรินโซลาไมด์ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน
  • บรินโซลาไมด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้บรินโซลาไมด์

  • ก่อนใช้บรินโซลาไมด์ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณมีอาการแพ้ยาชนิดนี้ หรือหากคุณมีอาการแพ้ยาอื่นๆ เนื่องจากมีส่วนประกอบของบริโมนิดีน ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติโรคประจำตัวทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต และโรคตับ
  • หากคุณมีการติดเชื้อที่ดวงตา หรือการบาดเจ็บที่ดวงตา และหากคุณต้องรับการผ่าตัดที่ดวงตา โปรดปรึกษาแพทย์ว่า คุณควรใช้ยาบรินโซลาไมด์ขวดเดิมต่อไปหรือไม่ แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณเริ่มใช้ยาขวดใหม่
  • ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ง่วงซึม หรือมองเห็นไม่ชัดในขณะใช้ยานพาหนะหรือเครื่องจักร รวมถึงการทำกิจกรรมที่มีความตื่นตัวสูง จนกว่าอาการของคุณจะดีขึ้น
  • ในช่วงขณะการตั้งครรภ์หรือระหว่างการให้นมบุตรควรใช้บริโมนิดีนเมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้เสมอ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

บรินโซลาไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้บรินโซลาไมด์

อาการที่สามารถพบได้ทั่วไปมื่อใช้ยานี้

  • อาจเกิดอาการมองเห็นไม่ชัดชั่วคราว
  • ประสาทสัมผัสการรับรสผอดปกติ อาจรู้สึกมีรสขม เปรี้ยว หรือผิดปกติภายในปาก
  • ตาแห้ง รู้สึกไม่สบาย หรือตาแดงที่บริเวณดวงตา รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในดวงตา มีสารคัดหลังจากดวงตา
  • ปวดหัว

หากคุณเริ่มมีอาการรุนแรงเหล่านี้ ควรหยุดการใช้ยานี้และเข้ารับการรักษาโดยแพทย์

  • ตาบวม ดวงตามีสีเหลือง
  • ปวดท้อง 
  • ปวดหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจียนบ่อยครั้ง
  • ปัสสาวะสีคล้ำ
  • รอยช้ำ เลือดออกง่าย
  • เหนื่อยล้าผิดปกติ
  • เป็นไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ
  • แน่นหน้าอก

หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และผู้ที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่มักไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

  • ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ร่วมด้วย ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะ ยาแอสไพรินขนาดสูง หรือเกี่ยวข้องกับยาซาลิไซเลต (salicylates) เช่น การใช้ยาขนาดสูงสำหรับโรคข้ออักเสบ (arthritis)
  • ควรใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำที่แพทย์สั่ง เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์ เพื่อป้องกันโรคหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง (ขนาดยาตามปกติคือ 81 ถึง 325 มก. ต่อวัน) โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • บรินโซลาไมด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

บรินโซลาไมด์อาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

บรินโซลาไมด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้

ขนาดยา บรินโซลาไมด์ สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันในตาสูง (Intraocular Hypertension)

หยอดยา 1 หยดลงในดวงตาข้างที่มีอาการวันละ 3 ครั้ง

คำแนะนำ

หากใช้ยาเฉพาะที่สำหรับดวงตามากกว่า 1 ชนิด ควรเว้นระยะเวลาห่างระหว่างการใช้ยาแต่ละชนิดนานอย่างน้อย 10 นาที

การใช้งาน

เพื่อการรักษาอาการความดันภายในดวงตาที่เพิ่มสูงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันตาสูงหรือเป็นโรคต้อหินมุมเปิด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคต้อหินมุมเปิด

หยอดยา 1 หยดลงในดวงตาข้างที่มีอาการวันละ 3 ครั้ง

คำแนะนำ

หากใช้ยาเฉพาะที่สำหรับดวงตามากกว่า 1 ชนิด ควรเว้นระยะเวลาห่างระหว่างการใช้ยาแต่ละชนิดนานอย่างน้อย 10 นาที

การใช้งาน

เพื่อการรักษาอาการความดันภายในดวงตาที่เพิ่มสูงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันตาสูงหรือเป็นโรคต้อหินมุมเปิด

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

หากผู้ป่วยมีภาวะไตบกพร่องระดับรุนแรง (ค่าค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ [CrCl] น้อยกว่า 30 มล./นาที) ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

มีข้อมูลไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่มีภาวะตับบกพร่อง

ขนาดยา บรินโซลาไมด์ สำหรับเด็ก

ยังไม่พบข้อพิสูจน์ถึงความความปลอดภัย และประสิทธิภาพของขนาดยาบรินโซลาไมด์สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจส่งผลอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ โปรดปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

รูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาหยอดตา

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานบรินโซลาไมด์อาจควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Brinzolamide Drops, Suspension. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-7634/brinzolamide-ophthalmic-eye/details. Accessed December 16, 2019.

Brinzolamide Ophthalmic Dosage. https://www.drugs.com/dosage/brinzolamide-ophthalmic.html. Accessed December 16, 2019.

Brinzolamide Ophthalmic https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a601233.html . Accessed December 16, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

กระจกตาอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา