backup og meta

ยูเรีย (Urea)

ยูเรีย (Urea)

ข้อบ่งใช้ ยูเรีย

ยูเรีย ใช้สำหรับ

ยูเรีย (Urea) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาสภาวะผิวแห้งหรือหยาบ เช่น โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (eczema) โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ตาปลา (Corns) หรือแคลลัส (callus) และปัญหาเกี่ยวกับเล็บ เช่น เล็บขบ (ingrown nails) นอกจากนี้ยังใช้เพื่อช่วยในการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายในแผล เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ยายูเรียเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นยาลอกผิวหนัง (keratolytic) ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง โดยการทำให้สารที่ตายแล้ว หรือเคราติน (keratin) ซึ่งทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกสุดเกาะรวมตัวกันนั้นนุ่มขึ้น และละลายไป ผลนี้จะช่วยให้เซลล์ที่ตายแล้วหลุดออก และทำให้ผิวหนังกักเก็บน้ำได้มากขึ้น

วิธีการใช้ยายูเรีย

  • ใช้ยานี้ตามที่แพทย์กำหนด ควรทำตามแนวทางการใช้ยาบนบรรจุภัณฑ์และฉลากยาตามใบสั่ง หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  • ยาบางอย่างนั้นควรเขย่าขวดให้ดีก่อนใช้งาน อ่านฉลากยาว่าคุณจำเป็นต้องเขย่าขวดยาหรือไม่ หายาลงที่บริเวณผิวหนังหรือเล็บที่มีอาการ โดยปกติคือวันละ 1 ถึง 3 ครั้งต่อวัน หรือตามที่แพทย์กำหนด นวดจนยาซึมเข้าสู่ผิวหนัง ล้างมือให้สะอาดหลังจากที่ทายา เว้นแต่ว่าคุณทายาที่บริเวณมือ ความถี่ในการใช้ยาขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และสภาวะของผิวคุณ
  • ยานี้ใช้ยาที่ผิวหนังหรือเล็บเท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่อ่อนไหว เช่น รอบดวงตา ริมฝีปาก ภายในปากหรือจมูก และที่บริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ นอกเสียจากว่าแพทย์จะสั่งให้ทำ สอบถามแพทย์หรืออ่านฉลากยา เพื่อรับทราบบริเวณหรือชนิดของผิวที่ไม่ควรทายา เช่น บริเวณใบหน้า ผิวหนังที่มีรอยถลอก รอยแตก ระคายเคือง หรือมีรอยครูด หรือผิวบริเวณที่พึ่งผ่านการโกนขนไป สอบถามแพทย์ว่า คุณควรจะพันแผลหรือปิดแผลบริเวณที่มีอาการหรือไม่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามแพทย์
  • ใช้ยาอย่างเป็นประจำเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายายูเรีย

ยายูเรียควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยายูเรียบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง 

ไม่ควรทิ้งยายูเรียลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยายูเรีย

ระหว่างที่กำลังพิจารณาเลือกใช้ยา แพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงของการใช้ยาต่อประโยชน์ของยาเสียก่อน สำหรับยานี้ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

โรคภูมิแพ้ 

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเคยมีอาการที่ผิดปกติ หรืออาการแพ้ต่อยานี้ นอกจากนี้ยังควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ ที่คุณเป็น เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ สำหรับยาที่หาซื้อเองควรอ่ายฉลากยาหรือส่วนประกอบของยาอย่างละเอียด

เด็ก

แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลเฉพาะที่เปรียบเทียบการใช้ยายูเรียในวัยรุ่น กับการใช้ยานี้ในกลุ่มอายุอื่น ยานี้ไม่คาดว่าจะมีผลข้างเคียง หรือปัญหาในกลุ่มวัยรุ่น ที่แตกต่างจากอาการที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใหญ่

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยในผู้หญิงที่เพียงพอ ที่จะบ่งชี้ความเสี่ยงของการใช้ยานี้ ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับแพทย์ เพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยายูเรีย

ยานั้นอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ควบคู่มากับประสิทธิภาพที่จำเป็นได้ แม้ว่าผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะไม่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่คุณควรรับการรักษาหากเกิดผลข้างเคียงขึ้น

ติดต่อแพทย์ในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • สับสน
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เป็นตะคริวหรือปวดกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเหน็บชา ปวด หรืออ่อนแรงที่มือหรือเท้า
  • มีอาการเหนื่อยล้าหรืออ่อนแรงผิดปกติ
  • รู้สึกอ่อนแรงหรือหนักที่ขา

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยายูเรียอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

โดยปกติแล้วไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้กับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาตัวหนึ่งหรือทั้งคู่

  • อาร์เซนิกไตรออกไซด์ (Arsenic Trioxide)
  • ดรอเพอริดอล (Droperidol)
  • เลโวเมทาดิล (Levomethadyl)

การใช้ยาดังต่อไปนี้ร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ แต่การใช้ยาทั้งสองร่วมกันอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาตัวหนึ่งหรือทั้งคู่

  • ลิโคไรซ์ (Licorice) หรือชะเอมเทศ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยายูเรียอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยายูเรียอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • โรคเบาหวาน 
  • เนื้องอกไฟบรอยด์ (Fibroid tumors) ที่มดลูก
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยายูเรียสำหรับผู้ใหญ่

ทายาที่บริเวณผิวหนังที่มีอาการวันละ 2 ครั้ง ด้วย

  • ยายูเรียรูปแบบโฟม 30%
  • ยายูเรียรูปแบบโฟม 35%
  • ยายูเรียรูปแบบโลชั่น 35%
  • ยายูเรียรูปแบบครีม 39%
  • ยายูเรียรูปแบบโฟม 40%
  • ยายูเรียแบบโฟม 42%
  • ยายูเรียรูปแบบอิมัลชั่น (emulsion) 45%
  • ยายูเรียรูปแบบสารละลาย 45%
  • ยายูเรียรูปแบบอิมัลชั่น 50%
  • ยายูเรียรูปแบบขี้ผึ้ง 50%
  • ยายูเรียรูปแบบยาแขวนตะกอน 50%

ทายาที่บริเวณเนื้อเยื่อเล็บหรือผิวหนังที่มีอาการวันละ 2 ครั้ง ด้วย

  • ยายูเรียรูปแบบอิมัลชั่น 40%
  • ยายูเรียรูปแบบยาแขวนตะกอน 40%
  • ยายูเรียรูปแบบแผ่นแปะ 42%
  • ยายูเรียรูปแบบเจล 45%
  • ยายูเรียรูปแบบครีม 50%
  • ยายูเรียรูปแบบเจล 50%

ทายาที่บริเวณเนื้อเยื่อเล็บที่มีอาการวันละ 2 ครั้ง ด้วย

  • ยายูเรียรูปแบบแท่ง 50%

ขนาดยายูเรียสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาผงสำหรับสารละลาย
  • โฟม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Urea. https://www.drugs.com/cdi/urea-cream.html. Accessed July 15, 2016.

Urea. http://www.healthline.com/drugs/urea/topical-cream#Highlights1. Accessed July 15, 2016.

Urea. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-6047-164/urea-topical/emollients-topical/details. Accessed July 15, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผิวขาดน้ำ หรือผิวแห้งสามารถสังเกตได้อย่างไร

วิธีรักษาปัญหาผดร้อน ที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา