backup og meta

ราบีพราโซล (Rabeprazole)

ราบีพราโซล (Rabeprazole)

ข้อบ่งใช้ ราบีพราโซล

ราบีพราโซล ใช้สำหรับ

ราบีพราโซล (Rabeprazole) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาปัญหาที่กระเพาะอาหาร และหลอดอาหารบางประเภท เช่น กรดไหลย้อนหรือแผลอักเสบ ยานี้ออกฤทธิ์โดยลดกรดในกระเพาะอาหาร ยา ราบีพราโซล ยังบรรเทาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก กลืนอาหารลำบากและไอเรื้อรัง ยานี้ช่วยลดความเสียหายของกระเพาะอาหาร และหลอดอาหารที่เกิดจากกรด ช่วยป้องกันการอักเสบของแผล และอาจป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร ยาราบีพราโซลอยู่ในกลุ่มของยายับยั้งการหลั่งกรด (proton pump inhibitors หรือ PPIs)

วิธีการใช้ยาราบีพราโซล

  • หากคุณรับประทานยาชนิดเม็ด คุณอาจรับประทานยาพร้อมอาหาร หรือรับประทานเดี่ยวๆ ตามที่แพทย์สั่ง ปกติแล้วจะเป็น 1 ถึง 2 ครั้งต่อวัน กลืนยาทั้งเม็ดพร้อมน้ำ อย่าทำให้ยาแตก เคี้ยว หรือแบ่งยา การกระทำดังกล่าวอาจทำให้ยาออกฤทธิ์พร้อมกันทันที และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง
  • หากคุณรับประทานยาชนิดแคปซูล รับประทานยาก่อนอาหาร 30 นาทีตามที่แพทย์สั่ง ปกติแล้วจะเป็นหนึ่งครั้งต่อวัน อย่ากลืนแคปซูลทั้งหมด เปิดแคปซูลออก และโรยผงยาลงไปในอาหารเหลว (เช่น โยเกิร์ต) รวมถึงเครื่องดื่ม อาหารหรือเครื่องดื่มควรจะมีอุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง กลืนอาหารหรือเครื่องดื่มที่ผสมกับแคปซูลแล้ว ภายใน 15 นาที หลังจากเริ่มเตรียมยา อย่าเคี้ยว หรือบดอาหาร หรือเครื่องดื่มให้ละเอียด
  • ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นอยู่กับโรคและการตอบสนองต่อการรักษา สำหรับเด็ก ขนาดยาขึ้นอยู่กับน้ำหนัก
  • หากจำเป็น อาจรับประทานยาลดกรดพร้อมกับยานี้ หากคุณกำลังรับประทานยาซูคราลเฟต (sucralfate) อยู่เช่นกัน รับประทานยาราบีพลาโซลก่อนยาวูคราลเฟตอย่างน้อย 30 นาที
  • ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด เพื่อช่วยจำ รับประทานยานี้ในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน ใช้ยานี้จนกว่าจะครบตามที่แพทย์สั่ง แม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณยังมีอาการต่อเนื่องหรืออาการแย่ลง ความเสี่ยงของผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาที่ควรใช้ยานี้

การเก็บรักษายาราบีพราโซล

คุณควรเก็บยาราบีพราโซลไว้ในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา คุณไม่ควรเก็บยาราบีพราโซลไว้ในห้องน้ำหรือตู้เย็น ยาราบีพราโซลแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือการอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยายาราบีพราโซลลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างนั้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกร เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาราบีพราโซล

  • ก่อนใช้ยาราบีพราโซล แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาชนิดนี้ ยาที่ใกล้เคียงกัน เช่น ยาแลนโซลพราโซล (lansoprazole) ยาโอเมพราโซล (omeprazole) รวมถึงหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ แต่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้หรือปัญหาอื่นๆ ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
  • ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคตับและโรคลูปัส (lupus)
  • อาการบางอย่างอาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรงมากกว่า เข้ารับการรักษาทันที หากคุณเกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกพร้อมกับหน้ามืด เหงื่อออกหรือวิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ปวดกราม ปวดแขนหรือไหล่ (โดยเฉพาะหายใจถี่หรือเหงื่อออกผิดปกติ) น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น ยาราบีพราโซลอาจเพิ่มความเสี่ยงของกระดูกหัก โดยเฉพาะหากใช้เป็นระยะเวลานาน ขนาดยาที่สูงกว่าปกติหรือใช้ในผู้ป่วยสูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกหรือกระดูกหัก เช่น รับประทานอาหารเสริมที่เป็นแคลเซียม เช่น แคลเซียมซิเตรท (calcium citrate) หรือวิตามินดี
  • ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (รวมถึงยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาและสมุนไพร)
  • ระหว่างตั้งครรภ์ ควรรับประทานยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ปรึกษาความเสี่ยงและข้อดีกับแพทย์
  • ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ายานี้จะซึมเข้าสู่น้ำนมหรือไม่ ผลของยาต่อทารกก็ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเช่นกัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอ ที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ยาราบีพลาโซล ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เสมอ เพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนรับประทานยาราบีพลาโซล อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยาราบีพลาโซลจัดเป็นยากลุ่มเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท N

ต่อไปนี้คือประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

· A – ไม่เสี่ยง

· B – ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น

· C – อาจจะมีความเสี่ยง

· D – มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง

· X – ห้ามใช้

· N – ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาราบีพราโซล

  • คุณอาจปวดศีรษะ หากยังมีอาการต่อเนื่องหรืออาการแย่ลง แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที
  • โปรดระลึกไว้ว่า แพทย์ได้จ่ายยานี้เนื่องจากได้ตัดสินใจแล้วว่า นี่จะมีประโยชน์ต่อคุณ มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากผลข้างเคียง หลายคนใช้ยานี้แล้วไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ อาการของระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ เช่น หัวใจเต้นแรง ช้าหรือผิดปกติ กล้ามเนื้อชักกระตุกหรือเป็นลมชัก สัญญาณของโรคลูปัส เช่น ผื่นที่จมูกหรือแก้ม อาการปวดข้อที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือแย่ลง
  • น้อยครั้งที่ยานี้จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ที่สัมพันธ์กับเชื้อคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ อย่าใช้ยาแก้ท้องเสีย หรือยาแก้ปวดชนิดเสพติด หากคุณมีอาการต่อไปนี้ เนื่องจากยาเหล่านี้อาจทำให้อาการแย่ลง แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากคุณมีอาการเหล่านี้ ได้แก่ ท้องเสียเรื้อรัง เจ็บหรือปวดท้องและกระเพาะอาหาร เป็นไข้และมีเลือดหรือมูกในอุจจาระ
  • น้อยครั้งที่ยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น ยาราบีพลาโซลจำทำให้เกิดการพร่องวิตามินบี 12 ในร่างกาย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากใช้ยานี้ทุกวันเป็นเวลานาน (3 ปีหรือนานกว่านั้น) แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากคุณเกิดอาการพร่องวิตามินบี 12 เช่นอ่อนแรงผิดปกติ เจ็บและเสียวแปลบที่มือและขา
  • ไม่ค่อยมีอาการแพ้ยาที่รุนแรงเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม เข้ารับการรักษาทันที หากคุณสังเกตเห็นอาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ เกิดผื่น คันผิว หรือผิวบวม (โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้นหรือลำคอ) วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาเรื่องการหายใจ สัญญาณของปัญหาที่ไต เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณปัสสาวะ
  • ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

  • ยาชนิดอื่นที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้คือยาเมโธเทรกเซท (methotrexate) โดยเฉพาะขนาดยาในปริมาณมาก
  • ยาชนิดอื่นอาจต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหารเพื่อที่ร่างกายจะได้ดูดซึมยาอย่างเหมาะสม ยาราบีพราโซลมีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงอาจเปลี่ยนฤทธิ์ของยาเหล่านั้น ตัวอย่างของยาดังกล่าวรวมถึงยาแอมปิซิลลิน (ampicillin) ยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir) ยาเออร์โลทินิบ (erlotinib) ยาเนลฟินาเวียร์ (nelfinavir) ยาพาโซพานิบ (pazopanib) ยาริลพิไรวีน (rilpivirine) ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซล (azole antifungal) บางชนิดเช่นยาไอทราโคนาโซล (itraconazole) ยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole) ยาโพซาโคนาโซล (posaconazole) เป็นต้น

ยานี้อาจทำให้ผลการทดสอบบางอย่างจากห้องปฏิบัติการผิดพลาด แจ้งให้บุคลากรห้องปฏิบัติการและแพทย์ทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้

ยาราบีพราโซลอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวอื่น ที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรเก็บรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่ต้องใช้ใบวั่งจากแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร) และแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่มหรือหยุดรับประทาน รวมถึงเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือยาอื่น

ยาราบีพราโซลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ก่อนรับประทานยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาราบีพราโซลอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกายอาจทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลง หรือเปลี่ยนฤทธิ์ของยา สิ่งสำคัญคือ โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ก่อนใช้ยาราบีพราโซล

ขนาดยาราบีพราโซลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาในผู้ใหญ่สำหรับรักษาแผลในลำไส้เล็ก (Duodenal Ulcer)

  • รับประทานยาครั้งละ 20 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการใช้ยา: 4 สัปดาห์

คำแนะนำ: ในขณะที่แผลในลำไส้เล็กของผู้ป่วยส่วนมากจะสมานตัวหลังจากใช้ยาแล้ว 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติมเพื่อให้แผลในลำไส้เล็กสมานตัว

การใช้: ใช้รักษาและบรรเทาแผลในลำไส้เล็ก

ขนาดยาในผู้ใหญ่สำหรับรักษาโรคหลอดอาหารอักเสบ

  • รับประทานยาครั้งละ 20 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการใช้ยา: 4 ถึง 8 สัปดาห์

คำแนะนำ: หากผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาแล้ว 8 สัปดาห์ แพทย์อาจพิจารณารักษาเพิ่มอีก 8 สัปดาห์

การใช้: ใช้รักษาและบรรเทาอาการจากโรคหลอดอาหารอักเสบหรือโรคกรดไหลย้อน (GERD)

ขนาดยาในผู้ใหญ่สำหรับรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

  • รับประทานยาครั้งละ 20 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการใช้ยา: 4 ถึง 8 สัปดาห์

คำแนะนำ: หากผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาแล้ว 8 สัปดาห์ แพทย์อาจพิจารณารักษาเพิ่มอีก 8 สัปดาห์

การใช้: ใช้รักษาและบรรเทาอาการจากโรคหลอดอาหารอักเสบหรือโรคกรดไหลย้อน (GERD)

ขนาดยาในผู้ใหญ่สำหรับป้องกันโรคแผลในลำไส้เล็ก (Duodenal Ulcer)

  • รับประทานยาครั้งละ 20 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการใช้ยา: สูงสุดคือ 12 สัปดาห์

คำแนะนำ: การศึกษาแบบควบคุมปัจจัยในเรื่องการรักษาแบบประคับประคอง ยังไม่อยู่ในระยะเกิน 12 เดือน

การใช้: ใช้เพื่อให้แผลยังคงรักษาสภาพในการสมานตัวและลดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกกำเริบของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

ขนาดยาในผู้ใหญ่สำหรับรักษาโรคกรดไหลย้อน

  • รับประทานยาครั้งละ 20 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการใช้ยา: สูงสุดคือ 4 สัปดาห์

คำแนะนำ: หากผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาแล้ว 4 สัปดาห์ แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาเพิ่มเติม

การใช้: ใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ในเวลากลางวันและกลางคืน รวมถึงอาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อน

ขนาดยาในผู้ใหญ่สำหรับรักษาอาการติดเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter pylori Infection)

  • รับประทานยาครั้งละ 20 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน ร่วมกับยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) และยาคลาริโทมัยซิน (clarithromycin)
  • ระยะเวลาในการใช้ยา: 7 วัน

คำแนะนำ

  • ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเพื่อศึกษาขนาดยายาอะม็อกซีซิลลินและยาคลาริโทมัยซิน
  • ควรรับประทานยาทั้งสามชนิดในช่วงอาหารมื้อเช้าและเย็น
  • การกำจัดเชื้อเอชไพโลไร ลดความเสี่ยงของการกลับมาเกิดแผลในลำไส้เล็ก
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล ควรทำการทดสอบความไวต่อโรค (susceptibility testing) และ/หรือเริ่มการรักษาแพทย์ทางเลือกเพื่อต้านจุลชีพ (alternative antimicrobial therapy)

การใช้: ใช้เพื่อรักษาและกำจัดแบคทีเรียเอชไพโลไรและแผลลำไส้เล็ก ที่กำลังเป็นอยู่ หรือเคยเป็น ภายใน 5 ปี

ขนาดยาในผู้ใหญ่สำหรับรักษาอาการกลุ่มโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน ( Zollinger-Ellison Syndrome)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทานยาครั้งละ 60 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ขนาดยาที่มีผลต่อการรักษา: รับประทานยาครั้งละ 60 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวันหรือครั้งละ 100 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการใช้ยา: สูงสุดคือ 1 ปี

คำแนะนำ

  • ขนาดยาควรเป็นไปตามผู้ป่วยแต่ละรายและควรใช้ยาให้นานเท่าที่จำเป็นเพื่อการรักษา
  • อาจจำเป็นต้องแบ่งขนาดยาในผู้ป่วยบางาย

การใช้: ใช้รักษาอาการหลั่งสารของร่างกายมากเกินไปซึ่งเป็นผลจากพยาธิ (pathological hypersecretory condition) เช่นกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำในการใช้

  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยว การทำให้ยาแตกหรือแบ่งยาออกเป็นส่วนๆ
  • อาจรับประทานยาเม็ดพร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้
  • ควรรับประทานแคปซูลหรือยาเม็ดขนาดเล็ก ก่อนมื้ออาหาร 30 นาที

ข้อกำหนดในการจัดเก็บ: ศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต

โดยทั่วไป

  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นระยะเวลานานควรได้รับการประเมินอาการเป็นประจำเพื่อดูว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยานี้หรือไม่
  • อาจปรับปรุงการให้ยา 1 ครั้งต่อวันอย่างเป็นประจำหากรับประทานยานี้ก่อนอาหารในเวลาเช้า
  • ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ไตหรือตับทำงานผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้เพื่อรักษาอาการของโรคกรดไหลย้อนนานเกิน 6 เดือนควรได้รับการประเมินอาการเพิ่มเติม

การเฝ้าสังเกต

  • ระดับแมกนีเซียม โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ใช้ยาอื่นที่มีผลต่อภาวะแมกนีเซียมต่ำในเลือดหรือยาที่ใช้รักษาในระยะยาว
  • ระดับวิตามินบี 12 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้ยาในการรักษาระยะยาว
  • กระดูกหัก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนสูง
  • ระดับแคลเซียม วิตามินดี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้ยาในการรักษาระยะยาว
  • การตรวจระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือด (INR) และการตรวจระยะเวลาในการทำงานของโพรทรอมบิน (prothrombin time) ในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน (warfarin) ร่วมด้วย

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • อาจเปิดแคปซูล และโรยลงบนอาหารนุ่มๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิห้องหรือปล่อยให้เย็นลงแล้ว หรือใส่ในของเหลวปริมาณเล็กน้อย ผู้ป่วยควรรับประทานยาให้หมดภายใน 15 นาทีหลังการเตรียมยา
  • หากใช้ยานี้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อเอชไพโลไร แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า การรับประทานยาให้ครบ 7 วันเป็นเรื่องสำคัญ
  • แจ้งให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันที หากมีสัญญาณหรืออาการของการไวต่อสิ่งกระตุ้น การติดเชื้อคลอสตริเดียมดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (systemic cutaneous lupus erythematosus) เกิดชึ้น
  • แนะนำให้ผู้ป่วยแจ้งกับผู้ให้บริการด้านการแพทย์ หากผู้ป่วยตั้งครรภ์ มีความคิดที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร

ขนาดยาราบีพราโซลสำหรับเด็ก

ขนาดยาในเด็กสำหรับรักษาโรคกรดไหลย้อน

อายุ 1 ถึง 11 ปี

  • น้ำหนักน้อยกว่า 15 กิโลกรัม: รับประทานยาครั้งละ 5 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน อาจมีทางเลือกที่จะเพิ่มเป็น 10 มิลลิกรัมหากไม่มีการตอบสนองเพียงพอ
  • น้ำหนัก 15 กิโลกรัมหรือมากกว่า: รับประทานยาครั้งละ 10 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการรักษา: สูงสุดคือ 12 สัปดาห์

อายุ 12 ปีหรือมากกว่า

  • รับประทานยาครั้งละ 20 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ระยะเวลาในการรักษา: สูงสุดคือ 8 สัปดาห์

การใช้

  • ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน
  • ใช้รักษาอาการของโรคกรดไหลย้อน

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไม่แนะนำให้ปรับขนาดยา

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

  • ตับทำงานผิดปกติขั้นไม่รุนแรงถึงปานกลาง (ค่าประสิทธิภาพการทำงานของตับหรือ Child-Pugh เป็นเอหรือบี): ไม่แนะนำให้ปรับขนาดยา
  • ตับทำงานผิดปกติขั้นรุนแรง (ค่าประสิทธิภาพการทำงานของตับเป็นซี): ใช้ยาอย่างระมัดระวัง

ข้อควรระวัง

ไม่ได้มีการยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี (ในรูปของยาเม็ดขนาดเล็ก) และ 12 ปี (ในรูปของยาเม็ด)

รูปแบบของยา

ยา ราบีพราโซล มีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทานที่ออกฤทธิ์ช้า
  • แคปซูลสำหรับรับประทานที่ออกฤทธิ์ช้า

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rabeprazole Dosage. https://www.drugs.com/dosage/rabeprazole.html. Accessed April 10, 2018.

Rabeprazole SODIUM. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-17504/rabeprazole-oral/details.  Accessed April 10, 2018.

Rabeprazole. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a699060.html. Accessed April 10, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

เครียดลงกระเพาะ คืออะไรและเราจะรับมืออย่างไรให้ได้ผล


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา