backup og meta

แซมอี (SAM-e)

แซมอี (SAM-e)

การใช้ประโยชน์ แซมอี

แซมอี ใช้ทำอะไร

แซมอี (SAM-e) เป็นชื่อทางการแพทย์ที่ถูกใช้โดยทั่วไปของสารเอส-อะดีโนซิล-แอล-เมไทโอนีน (S-adenosyl-L-methionine). แซมอีเป็นโมเลกุลที่ธรรมชาติของร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ และยังสามารถถูกสร้างขึ้นจากการทดลองได้ในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ การทำงานของแซมอีเกี่ยวข้องกับการก่อตัว การกระตุ้น หรือการสลายตัวของสารเคมีในร่างกาย ซึ่งรวมถึงฮอร์โมน โปรตีน ฟอสโฟลิพิด (Phospholipids)หรือยาบางชนิด

แซมอีสามารถรับประทานเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคหัวใจ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อาการปวดท้อง โรคข้อเสื่อม โรคการอักเสบของถุงไขข้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์  การชะลอวัย กลุ่มอาการล้าเรื้อรังปรับปรุงระบบความคิดความอ่าน โรคตับ และ โรคพาร์กินสัน

นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคปลอกประสาทเสื่อม อาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง โรคลมชัก ปวดหัวไมเกรน พิษจากสารตะกั่ว ช่วยสลายสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า บิลิรูบิน (bilirubin) หรือช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการก่อตัวของสารที่ชื่อว่า พอร์ไฟริน (porphyrin)

ผู้หญิงบางท่านอาจรับประทานแซมอีเพื่อบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) หรืออาการที่รุนแรงกว่าก่อนการมีประจำเดือน (PMDD)

แซมอีจะถูกฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า โรคข้อเข่าเสื่อม โรคของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์  โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โรคอัลไซเมอร์ ตับแข็ง และโรคตับที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ที่เรียกว่า  อาการดีซ่านจากการคั่งของนํ้าดีจากเซลล์ตับมีพยาธิสภาพ (Intrahepatic cholestasis)

การทำงานของ แซมอี เป็นอย่างไร?

มีงานวิจัยไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของแซมอีกรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าแซมอีมีสามารถผลิตสารบางชนิดที่มีผลในการรักษาความเจ็บปวด โรคซึมเศร้า โรคตับ และโรคอื่นๆ ร่างกายของผู้ที่ไม่สามารถสร้างแซมอี ได้โดยธรรมชาติ สามารถรับประทานแซมอีเป็นอาหารเสริมได้

ข้อควรระวังและคำเตือน:

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้า:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับยารักษาโรคเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • แพ้สารที่อยู่ในแซมอี
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดของการใช้ยา ควรต้องศึกษาอย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

แซมอี มีความปลอดภัยแค่ไหน

แซมอีจะปลอดภัยเมื่อใช้รับประทาน หรือฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ และฉีดเข้าร่างกายอย่างเหมาะสม

สำหรับสตรีตั้งครรภ์ : การใช้แซมอีจะปลอดภัยเมื่อฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำในระยะสั้นระหว่างการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่สาม และควรใช้ในปริมาณ 800 มิลลิกรัม ฉีดเข้าที่หลอดเลือดดำเป็นเวลา 14-20 วันโดยปราศจากผลข้างเคียง อย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้แซม–อีในระยะยาวในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยให้หลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรนี้

อยู่ระหว่างให้นมบุตร : ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้แซมอี สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยให้หลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรนี้

เด็ก : การรับประทานแซมอี หรือฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำในระยะสั้นอาจปลอดภัยกับเด็ก

โรคอารมณ์สองขั้ว : การใช้แซมอี อาจทำให้ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วเปลี่ยนจากสภาวะซึมเศร้าเป็นสภาวะอารมณ์ดีได้มากกว่าปกติ

โรคทางพันธุกรรมที่ชื่อว่า เลส์ช–ไนแฮนซินโดรม (Lesch-Nyhan syndrome) : แซมอี อาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคเลส์ช–ไนแฮนซินโดรมค่อนข้างแย่ลง

โรคพาร์กินสัน : แซมอีอาจทำให้อาการของผู้ป่วยพาร์กินสันแย่ลง

การผ่าตัด : แซมอีอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอาจรบกวนการผ่าตัด ดังนั้นจึงควรหยุดรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แซมอีมีอะไรบ้าง

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงตามมาได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับแซมอีมีอะไรบ้าง

แซมอีอาจมีปฏิกริยากับยาที่ใช้ร่วมอยู่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ยาที่อาจมีปฏิกริยาร่วมกับแซมอี :

  • ยาสำหรับโรคซึมเศร้า แซมอีช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งยารักษาอาการซึมเศร้าก็ช่วยเพิ่มสารตัวนี้เช่นกัน ดังนั้น หากใช้แซมอีร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า อาจเพิ่มปริมาณสารเซโรโทนินที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ อาการสั่น และโรควิตกกังวล ไม่ควรใช้แซมอีร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า
  • ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)
  • ยาเมเพอริดีน (Demerol)
  • ยาเพนตาโซซีน (Talwin)
  • ยาเลโวโดปา (Levodopa) ใช้สำหรับรักษาผู้ที่ป่วยโรคพาร์กินสัน การใช้แซม-อี สามารถเปลี่ยนแปลงปฏิกริยาทางเคมีของยาเลโวโดปาในร่างกาย และลดประสิทธิภาพของยาได้ การใช้แซมอี ร่วมกับยาเลโวโดปา อาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันแย่ลง
  • ยาทรามาดอล (Tramadol) การใช้แซมอีร่วมกับยาทรามาดอล อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้เช่น อาการสับสน อาการสั่น กล้ามเนื้อแข็งตัว และผลข้างเคียงอื่นๆ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปริมาณในการใช้แซมอีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

ปกติแล้วควรใช้แซมอีในปริมาณเท่าใด

สำหรับการรับประทาน :

  • โรคซึมเศร้า : รับประทานแซมอีใน ทุกวันในปริมาณ 1600 มิลลิกรัมหรือมากกว่านั้น ในปริมาณสองส่วน เป็นเวลามากกว่า 8 สัปดาห์ อาจใช้แบบเดี่ยว หรือใช้ร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้า และผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานระหว่าง DDM Metile, Omeopiacenza, Piacenza, Italy ขนาดบรรจุ 250 มิลลิกรัม รับประทานทุกวัน วันละ 2 เม็ดเป็นเวลา 12 เดือน
  • โรคข้อเสื่อม : รับประทานแซมอี 600-1200 มิลลิกรัมทุกวัน โดยแบ่งออกเป็น 3 เวลา ระยะในการใช้ควรมากกว่า 84 วัน
  • โรคตับแข็ง : รับประทานแซมอี 600 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน และแซมอี 30 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินบี12 6 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 30 วัน
  • โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง : รับประทานแซมอี 800 มิลลิกรัมทุกวัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ใช้อย่างต่อเนื่อง 6 สัปดาห์
  • อาการดีซ่านจากการคั่งของนํ้าดีจากเซลล์ตับมีพยาธิสภาพ (Intrahepatic cholestasis) : รับประทานแซม-อี 500 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน จนกระทั่งได้รับการรักษาอาการคั่งของน้ำดี หรือรับประทานแซมอี 1600 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ประมาณ 2 สัปดาห์
  • ปัญหาความบกพร่องทางเพศ : รับประทานแซมอี 400 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน และปรับเป็น 800 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์

สำหรับฉีด:

  • โรคซึมเศร้า : ฉีดแซมอีเข้าหลอดเลือดดำในปริมาณ 400-800 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ หรือฉีดแซมอีเข้าสู่ร่างกายในปริมาณ 45-400 มิลลิกรัม ร่วมกับยาต้านโรคซึมเศร้าได้ เป็นเวลา 1-4 สัปดาห์ ฉีดแซมอีเข้าสู่แบบช็อตปริมาณ 200 มิลลิกรัมร่วมกับรับประทานแซม-อี 400 มิลลิกรัม โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ตลอดจน 6 สัปดาห์
  • โรคข้อเสื่อม : ฉีดแซมอีเข้าหลอดเลือดดำเป็นเวลา 5 วัน ตามด้วยการรับประทานแซมอี ขนาด 600 มิลลิกรัม โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา อย่างน้อย 23 วัน และฉีดแซมอีแบบช็อต เป็นเวลา 7 วัน
  • โรคตับแข็ง : ฉีดแซมอีขนาด 800 มิลลิกรัมเข้าสู่หลอดเลือดดำ ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือขนาด 250 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 30 วัน
  • โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง : ฉีดแซมอีขนาด 400 มิลลิกรัม เข้าหลอดเลือดดำทุกวัน เป็นเวลา 15 วัน หรือฉีดแซมอีแบบช็อต ปริมาณ 200 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 21 วัน

ปริมาณการใช้แซมอี อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับ ช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

SAM-e. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-786-same.aspx?activeingredientid=786&activeingredientname=same. Accessed April 23, 2017.
SAM-e. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/same/interactions/hrb-20059935. Accessed April 23, 2017.
SAM-e. https://consumer.healthday.com/encyclopedia/depression-12/depression-news-176/what-is-sam-e-644990.html. Accessed April 23, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่บอกว่าคุณควรต้องรับความช่วยเหลือได้แล้ว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา