backup og meta

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นเม็ดสีแดงในกลุ่มสารเคมี ที่เรียกว่าแคโรทีนอยด์ (carotenoids) มักพบในสาหร่ายบางชนิด และเป็นสารที่ทำให้เกิดสีชมพูและแดงในปลาแซลมอน เทราต์ ล็อบสเตอร์ กุ้งและอาหารทะเลอื่นๆ

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้

แอสตาแซนธินใช้สำหรับ

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นเม็ดสีแดงในกลุ่มสารเคมี ที่เรียกว่าแคโรทีนอยด์ (carotenoids) มักพบในสาหร่ายบางชนิด และเป็นสารที่ทำให้เกิดสีชมพูและแดงในปลาแซลมอน เทราต์ ล็อบสเตอร์ กุ้งและอาหารทะเลอื่นๆ

แอสตาแซนธินใช้ในการรักษาโรคดังนี้

  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • กล้ามเนื้อเสื่อมถอยเนื่องจากอายุ

ยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ และใช้ทาผิวเพื่อป้องกันอาการผิวไหม้จากแสงแดด

ผลการใช้แอสตาแซนธิน

ยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของแอสตาแซนธิน ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามแอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการป้องกันเซลล์จากการถูกทำลาย และช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้แอสตาแซนธิน

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากเกิดกรณีดังนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณตั้งครรภ์หรือให้นม คุณควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์
  • อยู่ระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมถึงยาที่คุณซื้อโดยไม่มีใบสั่งยา เช่น สมุนไพรและการรักษาโดยแพทย์ทางเลือก
  • มีอาการแพ้ต่อส่วนประกอบของยานี้และยาชนิดอื่น ทั้งสารออกฤทธิ์และไม่ออกฤทธิ์
  • มีอาการป่วย ผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น อาหาร สารย้อมสี สารกันเสีย หรือแพ้ขนสัตว์

การใช้อาหารเสริมมีความเคร่งครัดน้อยกว่าการใช้ยา ต้องการงานวิจัยที่เพิ่มขึ้น เพื่อประเมินความปลอดภัย ประโยชน์ในการใช้อาหารเสริมต้องมีมากกว่าโทษก่อนที่จะตัดสินใจใช้ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยในการใช้

แอสตาแซนธินมีแนวโน้มที่จะปลอดภัย เมื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากอาหาร การรับประทานแอสตาแซนธินเป็นอาหารเสริมอาจปลอดภัย ในปริมาณ 4 ถึง 40 มิลลิกรัมต่อวัน กินติดต่อกัน 12 สัปดาห์ และสามารถใช้ควบคู่กับยาแคโรทีนอยด์อื่น ๆ วิตามินและเกลือแร่ได้ ในปริมาณ 4 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันได้นานถึง 12 เดือน

คำเตือนและข้อควรระวัง

เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือพอเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้แอสตาแซนธิน ควรหลีกเลี่ยงและเลือกความปลอดภัย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้แอสตาแซนธิน

หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาและโรคชนิดอื่น

แอสตาแซนธินอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้อยู่ หรือภาวะสุขภาพของคุณ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้

ขนาดยา

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา

ขนาดการใช้แอสตาแซนธิน

ขนาดแอสตาแซนธินอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและภาวะอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาหมอถึงขนาดที่เหมาะสมในการใช้

รูปแบบของแอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธิน อยู่ในรูปแบบดังนี้

  • แบบผงบรรจุแคปซูล
  • แบบเม็ดเจล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Astaxanthin http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1063-astaxanthin.aspx?activeingredientid=1063&activeingredientname=astaxanthin Accessed August 29, 2017

Astaxanthin https://examine.com/supplements/astaxanthin/ Accessed August 29, 2017

Astaxanthin. https://www.drugs.com/drp/astaxanthin-capsules-and-oral-powder.html. Accessed June 25, 2023

Astaxanthin https://www.naturalmedicinejournal.com/journal/astaxanthin-review-literature. Accessed June 25, 2023

Astaxanthin for the Food Industry. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8125449/. Accessed June 25, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/07/2023

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เราสามารถทำอะไรเพื่อ ป้องกันอัลไซเมอร์ ได้บ้าง

คนรักแซลมอนต้องรู้ กินแซลมอน แบบไหน ถึงจะดีต่อสุขภาพที่สุด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 10/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา