backup og meta

โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)

โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)

ข้อบ่งใช้ โอเซลทามิเวียร์

โอเซลทามิเวียร์ ใช้สำหรับ

ยา โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ใช้เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza) ช่วยทำให้อาการต่างๆ (เช่น คัดจมูก ไอ เจ็บคอ มีไข้หนาวสั่น รู้สึกปวด เหนื่อยล้า) รุนแรงน้อยลง และลดระยะเวลาของการรักษาประมาณ 1-2 วัน

ยานี้ยังสามารถใช้เพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ หากคุณเคยสัมผัสกับคนที่เป็นไข้หวัดใหญ่อยู่ก่อนแล้ว (คนสมาชิกในครอบครัวที่ป่วย) หรือหากมีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในชุมชน ปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยานี้ทำงานโดยการยับยั้งการเติบโตของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถใช้แทนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้

วิธีการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์

  • รับประทานยานี้พร้อมกับอาหารหรือไม่ก็ได้ คุณสามารถรับประทานคู่กับอาหารหรือนม เพื่อลดอาการท้องไส้ปั่นป่วน รับประทานยานี้ทันทีที่พบอาการของไข้หวัดใหญ่ หรือหลังจากที่คุณสัมผัสกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ยาโอเซลทามิเวียร์จะมีประสิทธิภาพสูงสุด หากคุณเริ่มรับประทานยานี้ภายในสองวัน หลังจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจากที่กล่าวมา
  • หากคุณเป็นไข้หวัดใหญ่ รับประทานยาโอเซลทามิเวียร์ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติแล้วคือ วันละสองครั้ง เป็นระยะเวลา 5 วัน
  • เพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ รับประทานยาโอเซลทามิเวียตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติแล้วคือ วันละครั้ง เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วัน ทำตามคำแนะนำของแพทย์ว่า คุณต้องรับประทานยานี้นานเท่าไหร่
  • ขนาดยานั้นขึ้นอยู่กับอาการของคุณ การทำงานของไต และการตอบสนองต่อการรักษา ขณะที่ขนาดยาของเด็กจะต้องขึ้นอยู่กับขนาดตัวด้วย
  • หากคุณไม่สามารถกลืนยาแคปซูลได้ ลองสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับยาโอเซลทามิเวียร์ในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน ถ้าหากไม่มียารูปแบบยาน้ำ และให้รับคำแแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร คุณอาจจะแกะแคปซูลออก แล้วผสมยานั้นกับน้ำหวานในปริมาณเล็กน้อย (เช่น ช็อกโกแลตไซรัปแบบธรรมดาหรือแบบไม่มีน้ำตาล น้ำเชื่อมข้าวโพด คาราเมลท็อปปิ้ง หรือน้ำตาลทรายแดงละลายในน้ำ) คนส่วนผสมให้เข้ากันและรับประทานทั้งหมดในครั้งเดียว
  • ยานี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุด หากรักษาระดับของยาในร่างกายได้คงที่ ดังนั้น จึงควรรับประทานยานี้ในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน โดยเว้นระยะให้เท่าๆ กัน รับประทานยานี้จนครบตามที่กำหนด หากหยุดใช้ยาก่อนกำหนด อาจทำให้การติดเชื้อกำเริบขึ้นอีก หรือไม่สามารถป้องกันคุณจากโรคไข้หวัดได้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ยอมหายไป หรือมีอาการแย่ลง หรือมีอาการใหม่เกิดขึ้น

การเก็บรักษายาโอเซลทามิเวียร์

ควรเก็บยาแคปซูลไว้ในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เก็บยาน้ำไว้ในตู้เย็นแต่ห้ามใส่ช่องแช่แข็ง ให้ทิ้งยาน้ำที่ไม่ได้ใช้ หลังจากผ่านไป 17 วัน ยาน้ำอาจสามารถเก็บไว้ที่อุณภูมิห้องที่เย็นได้มากถึง 10 วัน

ยา โอเซลทามิเวียร์ บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโอเซลทามิเวียร์ลงในชักโครก หรือทิ้งลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโอเซลทามิเวียร์

  • ก่อนใช้ยา โอเซลทามิเวียร์ แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีอาการแพ้ยานี้หรือหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ควรปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • ก่อนรับประทานยานี้ แจ้งประวัติทางการแพทย์ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ โดยเฉพาะหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับ โรคไต (รวมไปถึงกำลังรับการฟอกไตอยู่)
  • ก่อนการผ่าตัด แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร)
  • ในช่วงการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และควรปรึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลดีกับแพทย์ก่อน
  • ยานี้อาจส่งผ่านออกมาในน้ำนม แต่ไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อเด็ก โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักในเรื่องความเสี่ยงของการใช้ยา ยาโอเซลทามิเวียร์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

ต่อไปนี้คือ การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดย FDA

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโอเซลทามิเวียร์

  • อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หากอาการเหล่านี้ไม่ยอมหายไป หรือมีอาการแย่ลง ควรแจ้งกับแพทย์หรือเภสัชกรในทันที
  • โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ
  • ไข้หวัดใหญ่หรือยาโอเซลทามิเวียร์ ไม่ค่อยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือจิตใจที่รุนแรง มัแต่อาจะเกิดขึ้นได้ในเด็ก แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากมีอาการของพฤติกรรมที่ไม่ปกติ เช่น สับสน กระสับกระส่าย ทำร้ายตัวเอง
  • การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรง ได้แก่ เกิดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) เวียนหัวขั้นรุนแรง หายใจติดขัด
  • ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ให้ทางจมูก ภายในสองสัปดาห์ก่อนเริ่มใช้ยาตัวนี้ ยานี้อาจจะลดประสิทธิภาพการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ให้ทางจมูก ควรรออย่างน้อย 2 วัน หลังจากสิ้นสุดการรักษาด้วยยาตัวนี้ก่อน จึงค่อยไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ให้ทางจมูก

ยาโอเซลทามิเวียร์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโอเซลทามิเวียร์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโอเซลทามิเวียร์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโอเซลทามิเวียร์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

  • 75 มก. รับประทานวันละสองครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
  • วิธีใช้: ใช้สำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ แบบ uncomplicated influenza ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่เกิน 48 ชั่วโมง

ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

หลังจากสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่ติดเชื้อ: 75 มก. รับประทานวันละครั้งอย่างน้อย 10 วัน

  • ในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในชุมชน: รับประทาน 75 มก. วันละครั้ง

คำแนะนำ

  • การรักษาควรเริ่มต้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากการสัมผัสกับเชื้อ
  • ยามีความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุดที่ 6 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อยา
  • มีการจัดทำยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพนานสูงสุดที่ 12 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อยาไม่ปกติ

การปรับขนาดยาสำหรับโรคไต

ผู้ใหญ่

สำหรับการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

  • ความผิดปกติของไตระดับน้อย (ค่า CrCl มากกว่า 60 ถึง 90 มล./นาที): 75 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ความผิดปกติของไตระดับปานกลาง (ค่า CrCl มากกว่า 30 ถึง 60 มล./นาที): 30 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ความผิดปกติของไตระดับรุนแรง (ค่า CrCl มากกว่า 10 ถึง 30 มล./นาที): 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • โรคไตระยะสุดท้าย (End stage renal disease) ที่ไม่ได้ทำการฟอกไต: ไม่แนะนำให้ใช้ยา

ระยะเวลาในการรักษา: 5 วัน

สำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  • ความผิดปกติของไตระดับน้อย (ค่า CrCl มากกว่า 60 ถึง 90 มล./นาที): 75 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ความผิดปกติของไตระดับปานกลาง (ค่า CrCl มากกว่า 30 ถึง 60 มล./นาที): 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ความผิดปกติของไตระดับรุนแรง (ค่า CrCl มากกว่า 10 ถึง 30 มล./นาที): 30 มก. รับประทานวันเว้นวัน
  • โรคไตระยะสุดท้าย (End stage renal disease) ที่ไม่ได้ทำการฟอกไต: ไม่แนะนำให้ใช้ยา
  • ระยะเวลาในการป้องกัน: เท่ากับที่แนะนำสำหรับไตที่ทำงานปกติ

การปรับขนาดยาสำหรับโรคตับ

ความผิดปกติของไตระดับน้อยถึงปานกลาง (ค่าไชด์-พิว สกอร์ [Child-Pugh score] 9 หรือน้อยกว่า): ไม่แนะนำให้ปรับขนาดยา

การฟอกของเสียจากเลือด (Dialysis)

ผู้ใหญ่

สำหรับการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

  • โรคไตระยะสุดท้ายที่ผ่านการฟอกไต (ค่า CrCl 10 มล./นาที หรือน้อยกว่า): 30 มก. รับประทานหลังจากการฟอกไตในแต่ละครั้ง
  • โรคไตระยะสุดท้ายที่ผ่านการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis) (ค่า CrCl 10 มล./นาที หรือน้อยกว่า): 30 มก. รับประทานเป็นขนาดยา 1 ครั้ง หลังจากการทำ Dialysis exchange
  • ระยะเวลาในการรักษา: ไม่ควรเกิน 5 วัน โดยประมาณว่ามีการฟอกไต 3 ครั้งในช่วงเวลา 5 วัน

คำแนะนำ: ควรเริ่มต้นรักษาทันที หลังจากที่มีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ภายใน 48 ชั่วโมงระหว่างการฟอกไต อย่างไรก็ตามขนาดยาหลังการฟอกไตควรได้รับการพิจารณาตามเวลาของการใช้ยาโดสแรก

สำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  • โรคไตระยะสุดท้ายที่ผ่านการฟอกไต (ค่า CrCl 10 มล./นาที หรือน้อยกว่า): 30 มก. รับประทาน
  • โรคไตระยะสุดท้ายที่ผ่านการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง(ค่า CrCl 10 มล./นาที หรือน้อยกว่า): 30 มก. รับประทาน สัปดาห์ละครั้งทันทีหลังจากการทำ Dialysis exchang
  • ระยะเวลาในการป้องกัน: เท่ากับที่แนะนำสำหรับไตที่ทำงานปกติ

คำแนะนำ: ขนาดยาเริ่มต้นสามารถให้ได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มการฟอกไต

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้

  • เริ่มต้นการรักษาภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากมีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ หรือหลังการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่ติดเชื้อ
  • สามารถให้ยาได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงอาหาร การให้ยาพร้อมกับอาหารอาจจะเพิ่มการทนต่อยาสำหรับผู้ป่วยบางคน
  • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลืนยาแคปซูลได้ ใช้อุปกรณ์ตวงขนาดยา เพื่อตวงปริมาณที่เหมาะสมเป็นมิลลิลิตร
  • เขย่ายาน้ำแขวนตะกอนก่อนรับประทาน
  • ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ในกรณีที่ลืมรับประทานยา

การเก็บรักษา

  • ยาน้ำแขวนตะกอนที่ผสมแล้ว: เก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 17 วัน ที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส ถึง 8 องศาเซลเซียส (36 ฟาเรนไฮด์ ถึง 46 ฟาเรนไฮด์) หลีกเลี่ยงการใส่ในช่องแช่แข็ง หรือเก็บไว้ได้นานถึง 10 วัน ที่อุณหภูมิห้องควบคุม 25 องศาเซลเซียส (77 ฟาเรนไฮด์)
  • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับกรณีฉุกเฉิน: ยาจะมีความคงที่ 35วัน หากเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส ถึง 8 องศาเซลเซียส (36 ฟาเรนไฮด์ ถึง 46 ฟาเรนไฮด์) หรือ 5 วัน หากเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องที่ 25 องศาเซลเซียส (77 ฟาเรนไฮด์)

เทคนิคการเตรียมยาน้ำแขวนตะกอน

  • ควรศึกษาค้นคว้าข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อการเตรียมยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน ควรจะเตรียมยาด้วยเภสัชกรก่อนที่จะจ่ายยาให้กับผู้ป่วย
  • หากไม่มียาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน คุณอาจจะแกะแคปซูลออกแล้วผสมยานั้นกับน้ำหวาน เช่น ช็อกโกแลตไซรัปแบบธรรมดา หรือแบบไม่มีน้ำตาล น้ำเชื่อมขาวโพด คาราเมลท็อปปิ้ง หรือน้ำตาลทรายแดง (ละลายน้ำ)
  • หากไม่มียาแคปซูลที่แรงพอเหมาะจะผสมกับของเหลวที่มีรสหวาน และไม่มียาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน อาจหายาฉุกเฉินมาแทนยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานได้ ด้วยการผสมยาแคปซูล 75 มก.

ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

หากหาซื้อยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานไม่ได้ (6 มก./มล.) เพียงพอสำหรับผู้ป่วย 1 คน ใช้เพื่อรักษาเป็นเวลา 5 วัน หรือใช้เพื่อป้องกันเป็นเวลา 10 วัน สามารถเตีชรียมได้จากยาแคปซูล 75 มก. ดังนี้

พิจารณาขนาดยาของยาโอเซลทามิเวียร์สำหรับผู้ป่วย แล้วพิจารณาขนาดยารวมของยาน้ำแขวนตะกอนแบบรับประทานที่จำเป็นในการผสม หากขนาดยานั้นอยู่ในขนาดยาที่ระบุไว้ ขนาดยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานโดยรวมก็ควรจะเป็นค่าเริ่มต้นสำหรับการระบุขนาดยาถัดไปที่มากยิ่งขึ้น

  • ขนาดยา 15 มก. หรือน้อยกว่า: ขนาดรวม 37.5 มล.
  • ขนาดยา 30 มก.: ขนาดรวม 75 มล.
  • ขนาดยา 45 มก.: ขนาดรวม 100 มล.
  • ขนาดยา 60 มก.: ขนาดรวม 125 มล.
  • ขนาดยา 75 มก.: ขนาดรวม 150 มล.

คำนวณน้ำหนักยาจากแคปซูล ขนาด 75 มก. ปริมาณของน้ำ และปริมาณของสารละลาย ทั้งเชอรี่ไซรัป ออร่า-สวีท [อาร์] เอสเอฟ (Ora-Sweet[R] SF) หรือไซรัปธรรมดา ที่จำเป็นต่อการเตรียมปริมาณทั้งหมดของการประกอบยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทานประทาน (6 มก./มล.)

  • ปริมาตรรวม 37.5 มล.: ยาแคปซูล 3 เม็ด (ยาโอเซลทามิเวียร์ 225 มก.) พร้อมกับน้ำ 2.5 มล. และตัวเชื่อม 34.5 มล.
  • ปริมาตรรวม 75 มล.: ยาแคปซูล 6 เม็ด (ยาโอเซลทามิเวียร์ 450 มก.) พร้อมกับน้ำ 5 มล.และตัวเชื่อม 69 มล.
  • ปริมาตรรวม 100 มล.: ยาแคปซูล 8 เม็ด (ยาโอเซลทามิเวียร์ 600 มก.) พร้อมกับน้ำ 7 มล. และตัวเชื่อม 91 มล.
  • ปริมาตรรวม 125 มล.: ยาแคปซูล 10 เม็ด (ยาโอเซลทามิเวียร์ 750 มก.) พร้อมกับน้ำ 8 มล. และตัวเชื่อม 115 มล.
  • ปริมาตรรวม 150 มล.: ยาแคปซูล 12 เม็ด (ยาโอเซลทามิเวียร์ 900 มก.) พร้อมกับน้ำ 10 มล. และตัวเชื่อม 137 มล.

ทำตามขั้นตอนด้านล่างเพื่อเตรียมยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานประทาน (6 มก./มล.) จากยาแคปซูลขนาด 75 มก.

  • (a) ใส่น้ำในปริมาณที่ระบุลงในภาชนะพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) หรือขวดแก้ว
  • (b) แยกเปลือกแคปซูลและตัวยาออกอย่างระมัดระวัง แล้วใส่เนื้อยาของยาแคปซูล 75 มก. ในปริมาณเท่าที่จำเป็นลงในภาชนะพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต หรือขวดแก้ว
  • (c) คนเบาๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผงยาโอเซลทามิเวียร์กลายเป็นผงเปียกๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาที
  • (d) ค่อยๆ เพิ่มสารละลายลงไปในขวดตามปริมาณที่กำหนด
  • (e) ใช้ฝาปิดที่ป้องกันเด็กได้เพื่อปิดฝาขวด และเขย่าขวดเป็นเวลา 30 วินาทีเพื่อละลายยาที่ออกฤทธิ์จนหมด และเพื่อให้แน่ใจว่าการกระจายตัวของยานั้นแล้วกลายเป็นยาแขวนตะกอน ยาที่ออกฤทธิ์ (ยาโอเซลทามิเวียร์ ฟอสเฟต) สามารถละลายได้ในตัวเชื่อมบางตัวเท่านั้น และไม่สามารถละลายได้ในวัตถุดิบบางชนิดทำให้กลายเป็นสารแขวนลอย

ทั่วไป

  • ยังไม่มีจัดทำยาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มรักษาหลังจากมีอาการไปแล้ว 48 ชั่วโมง
  • ไม่สามารถใช้ยานี้แทนยาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีได้
  • ยังไม่มีจัดทำยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเจ็บป่วยใดๆ อันเนื่องมาจากเชื้อโรคอื่นที่ไม่ใช่ไวรัส อินฟลูเอนซ่า เอและบี
  • เนื่องจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่ามีการระบาดเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล การดื้อยา หรือการกลายพันธุ์อาจจะเกิดขึ้นและลดประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส ควรมีการพิจารณาเกี่ยวกับยาแก้ไข้หวัดแบบรู้สึกไว และผลของการรักษาขณะที่กำลังตัดสินใจว่าจะใช้ยานี้หรือไม่
  • ปริมาณของสารซอร์บิทอลในยาน้ำแขวนตะกอน 75 มก. คือ 2 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณของสารที่ควรได้รับสุงสุดต่อวัน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้น้ำตาลฟรุคโดสที่สืบทอดทางพันธุกรรม

การเฝ้าสังเกต

  • จิตเวช: สัญญาณของลักษณะนิสัยที่ผิดปกติของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

ขนาดยาโอเซลทามิเวียร์สำหรับเด็ก

ขนาดยาปกติสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

อายุ 2 สัปดาห์ ไปจนถึงน้อยกว่า 1 ปี: 3 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

อายุ 1 ถึง 12 ปี

  • 15 กก. หรือน้อยกว่า: 30 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • 15.1 ถึง 23 กก.: 45 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • 23.1 ถึง 40 กก.: 60 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • 40.1 กก. ขึ้นไป: 75 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • 13 ปีหรือมากกว่า: 75 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 5 วัน

คำแนะนำ

  • สำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ตวงขนาดยาที่เหมาะสมซึ่งสามารถตวงและให้ยาในขนาดที่น้อยได้

วิธีใช้: สำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ในผู้ป่วย (2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น) ที่มีอาการไม่เกิน 48 ชั่วโมง

คำแนะนำจากหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา และคณะกรรมการแนะนำเวชปฏิบัติการสร้างภูมิคุ้มกัน:

ทารกคลอดก่อนกำหนด

  • อายุในครรภ์ต่ำกว่า 38 สัปดาห์: 1 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • อายุในครรภ์ 38 ถึง 40 สัปดาห์: 1.5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • อายุในครรภ์มากกว่า 40 สัปดาห์: 3 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ทารกที่ครบกำหนด 8 เดือน หรือน้อยกว่านั้น: 3 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ทารก 9ถึง 11 เดือน: 3.5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

เด็กอายุ 12 เดือนขึ้นไป

  • 15 กก. หรือน้อยกว่า: 30 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • มากกว่า 15 ถึง 23 กก.: 45 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • มากกว่า 23 ถึง 40 กก.: 60 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • มากกว่า 40 กก.: 75 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ

  • ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการติดเชื้อในเด็ก สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก (อายุก่อนตั้งครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์)

ขนาดยาปกติสำหรับเด็กเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

อายุ 1 ถึง 12 ปี

  • 15 กก. หรือน้อยกว่า: 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • 15.1 ถึง 23 กก.: 45 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • 23.1 ถึง 40 กก.: 60 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • 40.1 กก. ขึ้นไป: 75 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • 13 ปีหรือมากกว่า: 75 มก. รับประทานวันละครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา

  • หลังจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ:10 วัน
  • ขณะที่มีการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในชุมชน: อาจจะต้องรักษาต่อเนื่องนานถึง 6 สัปดาห์

คำแนะนำ

  • การรักษาควรเริ่มภายใน 48 ชั่วโมงหลังการสัมผัสกับเชื้อ
  • องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกายังไม่ให้การยอมรับการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 1 ปี

คำแนะนำจากหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา และคณะกรรมการแนะนำเวชปฏิบัติการสร้างภูมิคุ้มกัน:

  • ทารกครบกำหนดคลอดที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน: ไม่แนะนำ ยกเว้นว่าจะเป็นกรณีจำเป็น
  • ทารกครบกำหนดคลอดที่อายุ 3 ถึง 8 เดือน: 3 มก./กก รับประทานวันละครั้ง
  • ทารกอายุ 9 ถึง 11 เดือน: 3.5 มก./กก รับประทานวันละครั้ง

เด็กที่อายุ 12 เดือนขึ้นไป

  • 15 กิโลกรัมหรือน้อยกว่า: 30 มก.รับประทานวันละครั้ง
  • มากกว่า 15 ถึง 23 กิโลกรัม: 45 มก.รับประทานวันละครั้ง
  • มากกว่า 23 ถึง 40 กิโลกรัม: 60 มก.รับประทานวันละครั้ง
  • มากกว่า 40 กิโลกรัม: 75 มก.รับประทานวันละครั้ง

ข้อควรระวัง

ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์ ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 1 ปี

รูปแบบของยา

จุดเด่นและรูปแบบการใช้งานมีดังนี้

  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
  • ยาผงละลายน้ำ

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Oseltamivir Dosage. https://www.drugs.com/dosage/oseltamivir.html. Accessed March 29, 2018.

Oseltamivir PHOSPHATE. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-17762-5294/oseltamivir-oral/oseltamivir-oral/details. Accessed March 29, 2018.

Oseltamivir. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a699040.html. Accessed March 29, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Khongrit Somchai


บทความที่เกี่ยวข้อง

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา