backup og meta

ไซลิทอล (Xylitol)

ไซลิทอล (Xylitol)

การใช้ประโยชน์ ไซลิทอล

ไซลิทอล ใช้สำหรับทำอะไร

ไซลิทอล (Xylitol) เป็นแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติพบได้ในพืชส่วนใหญ่ รวมถึงผลไม้และผักต่างๆ สารนี้จะถูกสกัดจากต้นเบิร์ช (birch wood) เพื่อทำเป็นยา และถูกนำมาใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลอย่างแพร่หลายส่วนมากพบในหมากฝรั่ง มินต์ และลูกอมปราศจากน้ำตาลอื่นๆ

ในฐานะยา ไซลิทอลถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อในหูชั้นกลาง เช่น ในภาวะหูชั้นกลางอักเสบ (otitis media) ในเด็กอายุน้อย และจะใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

ไซลิทอลถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากบางประเภทเพื่อป้องกันอาการฟันผุและปากแห้งในบางครั้งอาจจะผสมอยู่ในอาหารเหลวสำหรับให้ผ่านทางสายยางเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัข ควรทราบไว้ว่าไซลิทอลนั้นสามารถเป็นพิษต่อสุนัขได้ แม้ว่าจะได้รับจากลูกอมในปริมาณค่อนข้างน้อยก็ตาม หากสุนัขของคุณรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไซลิทอลเข้าไป ควรพาเข้ารักษากับสัตวแพทย์โดยทันที

การทำงานของไซลิทอล

มีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของไซลิทอล โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าไซลิทอลนั้นมีรสหวานแต่ไม่เหมือนกับน้ำตาล สารนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นกรดภายในปากที่ทำให้เกิดฟันผุ ซึ่งจะช่วยลดระดับของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุในน้ำลาย และยังทำหน้าที่ต่อต้านแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อภายในหูอีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ ไซลิทอล

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถึงอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของไซลิทอลหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ไซลิทอลมีความปลอดภัยแค่ไหน

ไซลิทอลอาจปลอดภัยหากใช้ในปริมาณเท่าที่พบในอาหาร และยังคงปลอดภัยเมื่อใช้เป็นยาสำหรับผู้ใหญ่ในปริมาณไม่เกินวันละ 50 กรัม โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้ในปริมาณสูง และสารนี้อาจปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อใช้เป็นยาในประมาณเพียงวันละ 20 กรัม

สำหรับสตรีตั้งครรภ์และการให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับการใช้ไซลิทอลขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยคุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ไซลิทอล

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ ไซลิทอล

หากผู้ป่วยที่รับไซลิทอลในปริมาณสูงเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน (มากกว่า 3 ปี) อาจทำให้เกิดเนื้องอกได้ และทำให้เกิดอาการท้องร่วง หรือเกิดแก๊สในลำไส้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับไซลิทอล

ไซลิทอลอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยาอื่นที่คุณใช้ร่วมด้วย หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรเสมอ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้

ปริมาณของไซลิทอล

ขนาดยาดังต่อไปนี้ได้ผ่านการวิจัยในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว

ยารับประทาน

เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่หูในเด็กก่อนวัยเรียน ปริมาณยาต่อวันทั้งหมดคือ 8.4 ถึง 10 กรัม ของไซลิทอลในหมากฝรั่ง ยาอม หรือน้ำเชื่อมโดยแบ่งให้ 5 ครั้ง ในขนาดที่เท่ากัน

สำหรับทาบนผิวหนัง

การป้องกันฟันผุในผู้ใหญ่และเด็ก เคยมีการใช้ในปริมาณที่หลากหลาย โดยปกติแล้วยาจะมีประมาณอยู่ที่ต 7 ถึง 20 กรัม ต่อวัน โดยแบ่งให้ 3 – 5 ครั้ง โดยปกติจะให้เป็นลูกอมหรือหมากฝรั่งที่จะสัมผัสกับเหงือก

ขนาดยาของไซลิทอลอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ขนาดยาของคุณจะขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และโรคอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Xylitol http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-996-xylitol.aspx?activeingredientid=996 Accessed January 13, 2020

About Xylitol https://xylitol.org/about-xylitol/ Accessed January 13, 2020

Xylitol: Everything You Need to Know https://www.healthline.com/nutrition/xylitol-101 Accessed January 13, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขนมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีขนมอะไรบ้างที่กินได้

ไหมขัดฟัน ชนิดและวิธีการใช้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา