backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไดออสมิน (Diosmin)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

ไดออสมิน (Diosmin)

ไดออสมิน (Diosmin) เป็นสารเคมีของพืชชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผลไม้ตระกูลส้ม และถูกสกัดออกมาใช้เพื่อช่วยรักษาความผิดปกติของเส้นเลือดหลายชนิด

การใช้ประโยชน์ ไดออสมิน

ไดออสมิน (Diosmin) เป็นสารเคมีของพืชชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผลไม้ตระกูลส้ม และถูกสกัดออกมาใช้เพื่อช่วยรักษาความผิดปกติของเส้นเลือดหลายชนิด ได้แก่

  • ริดสีดวงทวาร
  • เส้นเลือดขอด
  • ภาวะการณ์ไหลเวียนของเลือดช้าลง
  • อาการตกเลือดในช่องดวงตาด้านหน้า และเหงือก

นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้รักษาภาวะบวมน้ำที่มาจากการผ่าตัดมะเร็งเต้านม และป้องกันอาการตับเป็นพิษได้อีกด้วย

การทำงานของไดออสมิน เป็นอย่างไร

เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอต่อการอธิบายการทำงานของอาหารเสริม ประเภทสมุนไพรชนิดนี้โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าไดออสมิน อาจช่วยเรื่องริดสีดวงทวาร ลดอาการบวมอักเสบ และทำให้การทำงานของเส้นเลือดกลับเข้าสู่สภาพการทำงานดังเดิม

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ไดออสมิน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจากไดออสมินหรือแพ้ยาหรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆคุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้อื่นๆ เช่น อาหาร, สารแต่งสี, สารกันเสีย, หรือสัตว์บางชนิด

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากไดออสมินนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ไดออสมิน มีความปลอดภัยแค่ไหน?

สำหรับบุคคลทั่วไป

การรับประทานไดออสมิน อาจมีความปลอดภัยในการใช้ในระยะสั้น ๆ อย่างต่ำ 3 เดือน และไม่ควรเกินไปกว่าระยะเวลานี้ ที่สำคัญคุณไม่ควรเพิ่ม หรือยืดระยะการใช้งานออกไปเอง โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร

หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนเพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้กับตัวคุณแม่ จนส่งผลไปยังทารกในครรภ์ได้

ผลข้างเคียง

ยังไม่มีการรายงานผลข้างเคียง จากผู้ใช้สักเท่าไหร่นัก เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว หรือช่วงอายุ เป็นต้น ดังนั้นหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถึงวิธีการใช้ไดออสมินเพื่อบำรุงสุขภาพก่อนเสมอ

แต่หลัก ๆ แล้วนั้น การใช้ไดออสมินมากเกินไปอาจทำให้คุณมีแพ้รุนแรง อาการปวดท้อง ท้องเสีย และปวดศีรษะตามมาได้

ปฏิกิริยาระหว่างยา

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้รักษาโรคประจำตัวอยู่ก็เป็นได้ รวมทั้งอาจเกิดผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน คุณจึงจำเป็นที่ต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ประจำตัวคุณ ก่อนการใช้เสมอ

ปกติแล้วควรใช้ไดออสมินในปริมาณเท่าใด

สำหรับรักษาโรคริดสีดวงภายใน

ควรใช้ไดออสมิน 1350 มิลลิกรัม ร่วมกับเฮสเพอริดิน (hesperidin) 150 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 4 วัน และค่อย ๆ ลดปริมาณด้วยไดออสมิน 900 มิลลิกรัม ร่วมกับเฮสเพอริดิน 100 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 3 วัน

สำหรับป้องกันการกลับมาของโรคริดสีดวงภายใน

ใช้ไดออสมิน 450 มิลลิกรัม ร่วมกับเฮสเพอริดิน 50 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน

สำหรับการรักษาแผลที่ขาที่มาจากปัญหาการไหลเวียนของเลือด

ใช้ไดออสมิน 900 มิลลิกรัม ร่วมกับเฮสเพอริดิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

ไดออสมินอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ไดออสมิน 50 มิลลิกรัม ผสมร่วมเฮสเพอริดิน 450 มิลลิกรัม ในรูปแบบแคปซูล
  • สารสกัดไดออสมินในรูปแบบแคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา