ข้อบ่งใช้
ยา ไดไซโคลมีน ใช้สำหรับ
ยา ไดไซโคลมีน (Dicyclomine) ใช้เพื่อรักษาอาการลำไส้แปรปรวน นอกจากนี้ยังอาจใช้สำหรับสภาวะอื่นๆ ตามที่แพทย์บ่งชี้
ยา ไดไซโคลมีน เป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านโคลีเนอร์จิค (anticholinergic) ทำงานโดยการขัดขวางการทำงานของสารเคมีในกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และลดอาการหดเกร็ง
วิธีการใช้ยาไดไซโคลมีน
- ใช้ยาไดไซโคลมีนตามที่แพทย์สั่ง ควรตรวจสอบฉลากยา เพื่อคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง
- โดยปกติมักฉีดยาไดไซโคลมีนที่ห้องทำงานของแพทย์ โรงพยาบาล หรือคลินิก หากคุณต้องใช้ยาไดไซโคลมีนที่บ้าน ผู้ดูแลสุขภาพจะสอนวิธีการใช้ยาไดไซโคลมีน ควรทำความเข้าใจวิธีการใช้ยาไดไซโคลมีน และทำตามขั้นตอนที่เรียนรู้มา หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับผู้ดูแลสุขภาพ
- ยาไดไซโคลมีนนั้นใช้เพื่อฉีดเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น ห้ามใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
- อย่าใช้ยาไดไซโคลมีน หากมีฝุ่นตะกอน ขุ่น หรือเปลี่ยนสี หรือหากขวดยามีรอยแตกหรือเสียหาย
- เก็บยานี้พร้อมทั้งเข็มฉีดยาให้ห่างไกลจากมือของเด็กและสัตว์เลี้ยง อย่าใช้เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์ฉีดยาอื่นๆ ซ้ำ กำจัดอุปกรณ์ให้ถูกต้องหลังการใช้ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
- ควรใช้ยาไดไซโคลมีนแบบฉีดในระยะสั้น เมื่อไม่สามารถใช้ยาแบบรับประทานได้เท่านั้น ผู้ดูแลสุขภาพจะจะสั่งยาแบบรับประทาน ทันทีที่คุณสามารถใช้ยาแบบรับประทานได้
- ใช้ยาไดไซโคลมีนเป็นประจำ ตามตารางการใช้ยาตามปกติ เว้นแต่แพทย์จะสั่งแบบอื่น
การเก็บรักษายาไดไซโคลมีน
ยาไดไซโคลมีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไดไซโคลมีนบางยี่ห้อ อาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาไดไซโคลมีนลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไดไซโคลมีน
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบถ้าหาก
- คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หากอยู่ในช่วงที่คุณกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
- หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
- หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาไดไซโคลมีนหรือยาอื่นๆ
- หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
- หากคุณมีอาการอักเสบ หรือแผลเรื้อรังที่บริเวณลำไส้ ท้องร่วง ต่อมลูกหมากโต โรคไส้เลื่อน โรคไตหรือโรคตับ โรคระบบประสาท ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ทางเดินปัสสาวะอุดตันหรือปัสสาวะไม่ออก
- หากคุณเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว มีประวัติการมีหัวใจเต้นเร็ว หรือความดันโลหิตสูง
- หากคุณมีความเสี่ยงในการเป็นต้อหิน
-ยาไดไซโคลมีนอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม มึนงง มองเห็นไม่ชัด หรือวิงเวียน ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจแย่ลง หากคุณดื่มสุรา หรือใช้ยาบางชนิด ควรใช้ยาไดไซโคลมีนด้วยความระมัดระวัง อย่าขับรถ หรือทำกิจกรรมที่อาจจะไม่ปลอดภัย จนกว่าคุณจะรู้ว่าควรโต้ตอบอย่างไร
-ควรตรวจสอบกับแพทย์ ก่อนการดื่มสุรา หรือใช้ยาที่ทำให้ง่วงซึม (เช่น ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ) ขณะที่คุณกำลังใช้ยาไดไซโคลมีนเนื่องจากอาจเพิ่มผลเหล่านั้นให้มากขึ้น สอบถามเภสัชกร หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม
-ยาไดไซโคลมีนอาจทำให้เกิดอาการมึนงง วิงเวียน หรือหมดสติ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อากาศร้อน การออกกำลังกาย หรือไข้ อาจเพิ่มผลข้างเคียงเหล่านี้ เพื่อป้องกันอาการนี้ ควรค่อยๆ ลุกนั่งหรือยืนขึ้นอย่างช้าๆ โดยเฉพาะในตอนเช้า ควรนั่งหรือนอนลง เมื่อพบสัญญาณแรกของผลข้างเคียงเหล่านี้
พยายามอย่าทำให้ร่างกายร้อนจัด เมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนเกินไปหรือออกกำลังกาย เนื่องจากอาจเกิดอาการเป็นลมแดดได้
-ยาไดไซโคลมีนอาจทำให้ดวงตาของคุณไวต่อแสงแดดมากขึ้น ควรสวมแว่นกันแดดเพื่อช่วยป้องกัน
–ผู้สูงอายุควรใช้ยาไดไซโคลมีนด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีความไวต่อผลข้างเคียงของยาที่มากกว่า
-ไม่ควรใช้ยาไดไซโคลมีนกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้
ยาไดไซโคลมีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A= ไม่มีความเสี่ยง
- B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C= อาจจะมีความเสี่ยง
- D= มีหลักฐานแสดงความเสี่ยง
- X= ห้ามใช้
- N= ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยาไดไซโคลมีน
ยาทุกชนิดนั้นอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง แต่มีคนจำนวนมากที่อาจไม่มีผลข้างเคียง หรือมีผลข้างเคียงในระดับเบา
ควรติดต่อแพทย์หากผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ยอมหายไป หรือรบกวนคุณ เช่น
- มองเห็นไม่ชัด
- ท้องผูก
- เหงื่อออกน้อยลง
- นอนไม่หลับ
- มึนงง
- ง่วงซึม
- ปากแห้ง
- ปวดหัว
- วิงเวียน
- สูญเสียการรับรส
- คลื่นไส้
- กังวลใจ
เข้ารับการรักษาในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่
- ผดผื่น
- ลมพิษ
- คัน
- หายใจติดขัด
- แน่นหน้าอก
- บวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝปาก หรือลิ้น
- กระสับกระส่าย
- สับสน
- ท้องร่วง
- ดวงตาโฟกัสได้ลำบาก
- เคลื่อนไหวลำบาก
- พูดลำบาก
- ปัสสาวะลำบาก
- งุนงงสับสน
- มีความตระหนักถึงความสุขสบายที่เกินความเป็นจริง
- หมดสติ
- เห็นภาพหลอน
- สะเทือนในหน้าอก
- หัวใจเต้นเร็ว
- สูญเสียความทรงจำในระยะสั้น
- อ่อนแรงผิดปกติ
- อาเจียน
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาไดไซโคลมีนอาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่มใช้ยา หยุดใช้ยา หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่
- ยาอะแมนตาดีน (Amantadine) ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Antiarrhythmic) เช่น ยาควินิดีน (quinidine)
- ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)
- ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) เช่น ไดอะซีแพม (diazepam)
- ยายับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (MAOIs) เช่น ฟีเนลซีน (phenelzine)
- ยาแก้ปวดชนิดเสพติด (narcotic pain medicine) เช่น เมเพอริดีน (meperidine)
- ยากลุ่มไนเตรท (nitrates) เช่น ไนโตรกลีเซอริน (nitroglycerin) หรือไอโซซอร์ไบด์ (isosorbide)
- ยากลุ่มไนไตรท์ (nitrites) เช่น โซเดียมไนไตรท์ (sodium nitrite)
- ยากลุ่มฟีโนไทอาซีน (phenothiazines) เช่น คลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine)
- ยากลุ่มซิมพาโทมิเมติค (sympathomimetics) เช่น ซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) หรือยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (tricyclic antidepressants) เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) เนื่องจากยาเหล่านี้อาจเพิ่มผลข้างเคียงของยาไดไซโคลมีน
- ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) หรือฟีโนไทอาซีน (phenothiazines) เช่น คลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) เนื่องจากประสิทธิภาพของยาเหล่านี้อาจลดลงเพราะยาไดไซโคลมีน
- ยาไดจอกซิน (Digoxin) เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยานี้อาจเพิ่มขึ้นเพราะยาไดไซโคลมีน
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาไดไซโคลมีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาไดไซโคลมีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาไดไซโคลมีนสำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
รับประทาน:
- ขนาดยาเริ่มต้น: 20 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง
- ขนาดยาปกติ: มากถึง 40 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง 1 สัปดาห์หลังจากให้ยาเริ่มต้น
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ:
- 10 ถึง 20 มก. วันละ 4 ครั้ง
- ระยะเวลาการรักษา: 1 หรือ 2สัปดาห์ เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาแบบรับประทานได้
ขนาดยาไดไซโคลมีนสำหรับเด็ก
ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร
รูปแบบของยา
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
- ยาเม็ด
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]