backup og meta

ไอทราโคนาโซล (Itraconazole)

ไอทราโคนาโซล (Itraconazole)

ข้อบ่งใช้ ไอทราโคนาโซล

ไอทราโคนาโซล ใช้สำหรับ

ยา ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อราต่างๆ ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาต้านเชื้อราเอโซล (azole antifungals) ทำงานโดยการยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา

วิธีการใช้ยา ไอทราโคนาโซล

  • รับประทานยานี้พร้อมกับอาหารตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติแล้วคือวันละหนึ่งหรือสองครั้ง กลืนยาแคปซูลลงไปทั้งเม็ด
  • รับประทานยาไอทราโคนาโซล 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 1 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาลดกรด (antacids) ยาลดกรดอาจลดการดูดซึมของยานี้ได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานยานี้พร้อมกับเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด (เช่น น้ำอัดลม) หากคุณมีกรดในกระเพาะน้อยหรือไม่มีเลย (achlorhydria) หรือหากคุณรับประทานยาลดกรดในกระเพาะ เช่น ยาในกลุ่มเอช 2 บล็อกเกอร์ (H2 blockers) เช่น แรนิทิดีน (ranitidine) ยายับยั้งโปรตอนปั๊ม (proton pump inhibitors) เช่น โอเมพราโซล (omeprazole) โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • ขนาดยาและระยะเวลาในการรักษา ขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา รับประทานยานี้ตามที่แพทย์กำหนด อาจจำเป็นต้องใช้ยาซ้ำเป็นรอบ สำหรับสภาวะบางอย่าง (สัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วจึงหยุดใช้ยาเป็นเวลา 3 สัปดาห์)
  • เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรรับประทานยาต้านเชื้อรา โดยเว้นช่วงเวลาที่เท่าๆ กัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรทำเครื่องหมายไว้ที่ปฏิทิน หากคุณต้องใช้ยาเป็นรอบ
  • ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไป อาจทำให้กลับมาติดเชื้อได้อีกครั้ง
  • ยาในรูปแบบแคปซูล ยาเม็ด และสารละลายนั้น มีขนาดยาที่แตกต่างกันและอาจใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน อย่าเปลี่ยนรูปแบบยาโดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา ไอทราโคนาโซล

ยา ไอทราโคนาโซล ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไอทราโคนาโซลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยา ไอทราโคนาโซล ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อสินค้าหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไอทราโคนาโซล

  • ก่อนใช้ยาไอทราโคนาโซล แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณแพ้ยานี้ หรือแพ้ยาต้านเชื้อราเอโซลอื่นๆ เช่น คีโตโคนาโซล (ketoconazole) หรือหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือปัญหาอื่นๆ ได้ โปรดสอบถามเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ (เช่น หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ) โรคปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) มีกรดในกระเพาะน้อยหรือไม่มีกรดในกระเพาะ (achlorhydria)
  • ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ)
  • ผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน ขณะใช้ยานี้ได้มากกว่า
  • ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ยานี้อาจทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ โปรดปรึกษาเรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยากับแพทย์ ไม่ควรใช้ยานี้รักษาการติดเชื้อราที่เล็บ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรืออาจจะตั้งครรภ์ ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรเริ่มต้นใช้ยานี้ 2 ถึง 3 วันหลังจากมีประจำเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ โปรดสอบถามวิธีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้ ขณะที่กำลังใช้ยานี้ และภายใน 2 เดือนหลังจากที่หยุดใช้ยานี้
  • ยาไอทราโคนาโซลสามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไอทราโคนาโซลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา ไอทราโคนาโซล

  • อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดหัว ท้องไส้ปั่นป่วน หรือวิงเวียน แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือแย่ลง
  • โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้ คือ เหน็บชาที่แขนหรือขา สูญเสียการได้ยิน มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ (เช่น ซึมเศร้า)
  • ค่อนข้างพบได้ยากที่ ยาไอทราโคนาโซลอาจทำให้เกิดโรคตับที่รุนแรงมาก (อาจถึงแก่ชีวิต) แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการของโรคตับ เช่น คลื่นไส้อาเจียนไม่หยุด เบื่ออาหาร ปวดท้อง/กระเพาะอาหาร ดวงตาและผิวเป็นสีเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม
  • ยาไอทราโคนาโซลมักทำให้เกิดอาการผดผื่นเล็กน้อยที่ไม่รุนแรง แต่คุณอาจไม่สามารถแยกแยะระหว่างผดผื่นหายาก ที่เป็นสัญญาณของอาการแพ้ที่รุนแรง ควรรับการรักษาในทันที หากคุณมีผดผื่นเกิดขึ้น
  • การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) เวียนหัวขั้นรุนแรง หายใจติดขัด
  • ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

  • ยา ไอทราโคนาโซล นั้นมีปฏิกิริยากับยาหลายชนิด ยาอื่นนั้นอาจส่งผลต่อการกำจัดยาไอทราโคนาโซลออกจากร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับการทำงานของยาไอทราโคนาโซล ยกตัวอย่างเช่น เอฟฟาไวเร็นซ์ (efavirenz) ไอโซไนอาซิด (isoniazid) เนวิราปีน (nevirapine) ไรฟาไมซิน (rifamycins) เช่น ไรฟาบูติน (rifabutin) ยาบางชนิดที่ใช้รักษาอาการชัก เช่น เฟนิโทอิน (phenytoin) และอื่นๆ

ยาไอทราโคนาโซลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกัญชา อาจทำให้อาการง่วงซึมรุนแรงขึ้นได้ อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปรึกษาแพทย์ หากคุณใช้กัญชา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคตับที่รุนแรงได้อีกด้วย

ยาไอทราโคนาโซลอาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไอทราโคนาโซลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไอทราโคนาโซลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคบลาสโตไมโคสิส (Blastomycosis)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งในช่วง 3 วันแรกของการรักษา
  • ขนาดยาปกติ: 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 3 เดือนและจนกว่าตัวแปรทางการแพทย์และผลการทดสอบในห้องทดลองจะบ่งชี้ว่าการติดเชื้อราที่เป็นอยู่นั้นลดลงแล้ว

คำแนะนำ

  • รูปแบบแคปซูล
  • ควรใช้ยาขนาดเริ่มต้นในสถานการณ์ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต
  • หากไม่สามารถเห็นได้ชัดหรือมีหลักฐานว่าอาการดีขึ้นจากการใช้ยาที่ขนาด 200 มก./วัน ควรเพิ่มขนาดยา 100 มก. ขึ้นไปสูงสุดที่ 400 มก./วัน

การใช้งาน เพื่อรักษาโรคบลาสโตไมโคสิส (ภายในปอดและภายนอกปอด) ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและไม่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America)

การติดเชื้อที่ปอดระดับเบาถึงปานกลางหรือการติดเชื้อที่แพร่กระจายระดับเบาถึงปานกลางโดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: 6 ถึง 12 เดือน

การติดเชื้อที่ปอดระดับปานกลางถึงรุนแรงหรือการติดเชื้อที่แพร่กระจายระดับปานกลางถึงรุนแรงโดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี (amphotericin B) เข้าหลอดเลือดดำ

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด
  1. การติดเชื้อที่ปอด: 6 ถึง 12 เดือน
  2. การติดเชื้อภายนอกปอดแบบแพร่กระจาย: อย่างน้อย 12 เดือน
  3. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ: อย่างน้อย 12 เดือน

การติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ)

  • 200 มก. รับประทานวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา:อย่างน้อย 12 เดือนและจนกว่าความผิดปกติของน้ำในโพรงสมอง (CSF) จะเป็นปกติ

การป้องกันการกำเริบ (การป้องกันแบบทุติยภูมิ) สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ:

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่ไม่สามารถแก้ไขได้ อาจจำเป็นต้องใช้ยานี้ตลอดชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส (Histoplasmosis)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งในช่วง 3 วันแรกของการรักษา
  • ขนาดยาปกติ: 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 3 เดือนและจนกว่าผลทางการแพทย์และผลการทดสอบในห้องทดลองจะบ่งชี้ว่าการติดเชื้อราที่เป็นอยู่นั้นลดลงแล้ว

คำแนะนำ

  • รูปแบบแคปซูล
  • ควรใช้ยาขนาดนำในสถานการณ์ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต
  • หากไม่สามารถเห็นได้ชัดหรือมีหลักฐานว่าอาการดีขึ้นจากการใช้ยาที่ขนาด 200 มก./วัน ควรเพิ่มขนาดยา 100 มก. ขึ้นไปสูงสุดที่ 400 มก./วัน

การใช้งาน เพื่อรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส (รวมไปถึงโรคโพรงในปอดเรื้อรัง [chronic cavitary pulmonary disease] และโรคฮีสโตพลาสโมสิสแบบลุกลามและโรคฮีสโตพลาสโมสิสที่ไม่เกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มสมอง) ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและไม่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

การติดเชื้อที่ปอดระดับเบาถึงปานกลางหรือการติดเชื้อที่แพร่กระจายระดับเบาถึงปานกลางโดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง:

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: 6 ถึง 12 เดือน

การติดเชื้อที่ปอดระดับปานกลางถึงรุนแรงหรือการติดเชื้อที่แพร่กระจายระดับปานกลางถึงรุนแรงโดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี (amphotericin B) เข้าหลอดเลือดดำ:

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: 12 สัปดาห์

การติดเชื้อโรคโพรงในปอดเรื้อรัง:

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 1 ปี (18 ถึง 24 เดือนนั้นเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยบางรายเนื่องจากความเสี่ยงในการกำเริบของโรค)

การติดเชื้อแบบลุกลามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระดับเบาถึงปานกลาง:

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 1 ปี

การติดเชื้อแบบลุกลามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระดับปานกลางถึงรุนแรง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ):

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: อย่างน้อย 12 เดือน

การติดเชื้อโดยมีเนื้องอกในบริเวณประจันอกที่แสดงอาการ (symptomatic mediastinal granuloma) หรือมีอาการแทรกซ้อน เช่น ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) กลุ่มอาการรูมาโทโลจิก (rheumatologic syndromes) ต่อมน้ำเหลืองอักเสบในบริเวณประจันอกที่แสดงอาการ (symptomatic mediastinal lymphadenitis) ที่จำเป็นต้องรักษาด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid):

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: 6 ถึง 12 สัปดาห์

การติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ):

  • 200 มก. รับประทานวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา:อย่างน้อย 1 ปีและจนกว่าความผิดปกติของน้ำในโพรงสมอง (CSF) จะเป็นปกติและไม่สามารถตรวจพบฮีสโตพลาสมาแอนติเจน (histoplasmal antigen)

การป้องกันแบบปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

การป้องกันการกำเริบ (การป้องกันแบบทุติยภูมิ)

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

  • ควรใช้ยาในรูปแบบยาสารละลายสำหรับรับประทาน แต่อาจเลือกใช้ยาแคปซูลได้
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่ไม่สามารถแก้ไขได้อาจจำเป็นต้องใช้ยานี้รักษาเพื่อกดอาการไปตลอดชีวิต

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อแบบลุกลามที่รุนแรงน้อยกว่า

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 12 เดือน

การติดเชื้อแบบลุกลามที่รุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ)

  • 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: อย่างน้อย 12 เดือน

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ที่ยืนยันแล้ว (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ)

  • 200 มก. รับประทานวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา:อย่างน้อย 12 เดือนและจนกว่าความผิดปกติของน้ำในโพรงสมอง (CSF) จะเป็นปกติ

การป้องกันแบบปฐมภูมิ

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

การรักษาเพื่อกดอาการในระยะยาว (การป้องกันแบบทุติยภูมิ)

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นการวิธีรักษาที่ควรเลือกใช้
  • แนะนำให้ใช้ยาในรูปแบบยาสารละลายสำหรับรับประทาน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิส (Aspergillosis) – เชื้อแอสเปอร์จิลโลมา (Aspergilloma)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งในช่วง 3 วันแรกของการรักษา
  • ขนาดยาปกติ: 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 3 เดือนและจนกว่าตัวแปรทางการแพทย์และผลการทดสอบในห้องทดลองจะบ่งชี้ว่าการติดเชื้อราที่เป็นอยู่นั้นลดลงแล้ว

คำแนะนำ

  • รูปแบบแคปซูล
  • ควรใช้ยาขนาดเริ่มต้นในสถานการณ์ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต

การใช้งาน: เพื่อรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิส (ภายในปอดและภายนอกปอด) ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและไม่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่ไม่ทนหรือดื้อต่อยาแอมโฟเทอริซิน บี

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

  • โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกราน: 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • การรักษาต้านเชื้อราโดยยังไม่ทราบเชื้อก่อโรคและเพื่อป้องกันล่วงหน้า (preemptive): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • เพื่อป้องกันโรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกราน: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา (กู้ชีพ) โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกรานและป้องกันโรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกราน สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ทนหรือดื้อต่อการรักษาต้านเชื้อราแบบปฐมภูมิ
  • แนะนำเป็นการรักษาแบบปฐมภูมิสำหรับการรักษาต้านเชื้อราโดยยังไม่ทราบเชื้อก่อโรคและเพื่อป้องกันล่วงหน้า

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิส (Aspergillosis) – รุกราน

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งในช่วง 3 วันแรกของการรักษา
  • ขนาดยาปกติ: 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 3 เดือนและจนกว่าตัวแปรทางการแพทย์และผลการทดสอบในห้องทดลองจะบ่งชี้ว่าการติดเชื้อราที่เป็นอยู่นั้นลดลงแล้ว

คำแนะนำ

  • รูปแบบแคปซูล
  • ควรใช้ยาขนาดเริ่มต้นในสถานการณ์ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต

การใช้งาน: เพื่อรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิส (ภายในปอดและภายนอกปอด) ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและไม่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่ไม่ทนหรือดื้อต่อยาแอมโฟเทอริซิน บี

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

  • โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกราน: 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • การรักษาต้านเชื้อราโดยยังไม่ทราบเชื้อก่อโรคและเพื่อป้องกันล่วงหน้า (preemptive): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • เพื่อป้องกันโรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกราน: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา (กู้ชีพ) โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกรานและป้องกันโรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบรุกราน สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ทนหรือดื้อต่อการรักษาต้านเชื้อราแบบปฐมภูมิ
  • แนะนำเป็นการรักษาแบบปฐมภูมิสำหรับการรักษาต้านเชื้อราโดยยังไม่ทราบเชื้อก่อโรคและเพื่อป้องกันล่วงหน้า

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเชื้อราในช่องปาก (Oral Thrush)

การติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปาก (Oropharyngeal candidiasis): 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 1 ถึง 2 สัปดาห์

การติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปากที่ไม่ตอบสนอง/ดื้อต่อการรักษาด้วยยาเม็ดฟลูโคนาโซล (fluconazole): 100 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • ควรกวาดยาสารละลายสำหรับรับประทานภายในปากให้ดี (10 มล. ต่อครั้ง) เป็นเวลาหลายวินาทีแล้วจึงค่อยกลื่นยา
  • สัญญาณ/อาการทางการแพทย์ของการติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปากโดยปกติจะหายไปภายในไม่กี่วัน
  • มีเพียงยาสารละลายสำหรับรับประทานที่แสดงให้ถึงประสิทธิภาพต่อการติดเชื้อแคนดิดาภายในปากและ/หรือหลอดอาหาร
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อการรักษาควรเห็นการตอบสนองทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปากที่ไม่ตอบสนอง/ดื้อต่อการรักษาด้วยยาเม็ดฟลูโคนาโซล ภายใน 2 ถึง 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบในระยะสั้นหลังจากหยุดการรักษา

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

การติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปาก: 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

ระยะเวลาในการรักษาสำหรับการติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน: 7 ถึง 14 วัน

คำแนะนำ

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อที่ดื้อยา

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปาก (การรักษาช่วงแรก): 200 มก. รับประทานวันละครั้ง ระยะเวลาในการรักษา: 7 ถึง 14 วัน
  • การป้องกันแบบทุติยภูมิ (รักษาเพื่อกดอาการ): 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาโดยการรับประทานยา
  • ไม่แนะนำให้ทำเป็นการป้องกันแบบทุติยภูมิเป็นประจำ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดาที่หลอดอาหาร (Esophageal Candidiasis)

  • 100 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 3 สัปดาห์และเป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังจากแก้อาการได้แล้ว

คำแนะนำ

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • อาจมีการใช้ยาในขนาดที่มากถึง 200 มก./วัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินทางการแพทย์และการตอบสนองของผู้ป่วย
  • ควรกวาดยาสารละลายสำหรับรับประทานภายในปากให้ดี (10 มล. ต่อครั้ง) เป็นเวลาหลายวินาทีแล้วจึงค่อยกลื่นยา
  • มีเพียงยาสารละลายสำหรับรับประทานที่แสดงให้ถึงประสิทธิภาพต่อการติดเชื้อแคนดิดาภายในปากและ/หรือหลอดอาหาร

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

200 มก. รับประทานวันละครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 14 ถึง 21 วัน

คำแนะนำ

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อที่ดื้อยา

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี:

200 มก. รับประทานวันละครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 14 ถึง 21 วัน

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) – เล็บเท้า

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลาในการรักษา: 12 สัปดาห์ติดต่อกัน

คำแนะนำ

  • ยารูปแบบแคปซูล
  • ยาแคปซูล: โดยเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับเล็บมือ
  • ควรมีการวินิจฉัยเพื่อยืนยันก่อนเริ่มต้นการรักษา ควรทำการตรวจสอบตัวอย่างเล็บภายในห้องทดลองที่เหมาะสม เช่นการตรวจหาเชื้อราโดยวิธีโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH preparation) การเพาะเชื้อรา (fungal culture) การตัดตัวอย่างเล็บเพื่อทำการตรวจ (nail biopsy)

การใช้งาน

  • ยาแคปซูล: สำหรับรักษาโรคเชื้อราที่เล็บเท้า (โดยเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับเล็บมือ) เนื่องจากเชื้อราในกลุ่มเดอร์แมโทไฟต์ (dermatophytes) อย่างทิเนียอันเกียม (tinea unguium) ในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ยาเม็ด: สำหรับรักษาโรคเชื้อราที่เล็บเท้าเนื่องจากเชื้อราไทรโคไฟทอน รูบรัม (Trichophyton rubrum) หรือที เมนทาโกรไฟต์ (T mentagrophytes) ในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) – เล็บนิ้วมือ

การรักษาแบบกินยาเป็นช่วงๆ (Treatment pulse): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์

คำแนะนำ

  • ยารูปแบบแคปซูล
  • เล็บนิ้วมือเท่านั้น
  • ควรมีการวินิจฉัยเพื่อยืนยันก่อนเริ่มต้นการรักษา ควรทำการตรวจสอบตัวอย่างเล็บภายในห้องทดลองที่เหมาะสม เช่นการตรวจหาเชื้อราโดยวิธีโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH preparation) การเพาะเชื้อรา (fungal culture) การตัดตัวอย่างเล็บเพื่อทำการตรวจ (nail biopsy)
  • สูตรยาที่แนะนำคือการรักษาแบบกินยาเป็นช่วงๆ 2 ครั้ง โดยเว้นช่วงไม่มีการรักษา ควรมีการศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์สำหรับแนวทางเพิ่มเติม

การใช้งาน เพื่อรักษาโรคเชื้อราที่เล็บนิ้วมือเนื่องจากเชื้อราในกลุ่มเดอร์แมโทไฟต์ (dermatophytes) อย่างทิเนียอันเกียม (tinea unguium) ในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคค็อกสิดิออยโดไมโคสิส (Coccidioidomycosis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา: 200 มก. รับประทานวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา:

  • โรคปอดบวมจากเชื้อราค็อกซิดิออยดีส (coccidioidal pneumonia) ที่ไม่ซับซ้อน: 3 ถึง 6 เดือน
  • โรคปอมบวมแบบลุกลามและโรคปอดบวมที่พังผืดและโพรงแบบรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เรื้อรัง (chronic progressive fibrocavitary pneumonia): อย่างน้อย 1 ปี

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี:

  • การติดเชื้อระดับเบา เช่นโรคปอมบวมเฉพาะที่ (focal pneumonia): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • การติดเชื้อที่ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมองระดับรุนแรง (ภายในปอดแบบลุกลามหรือผู้ป่วยหนักที่ป่วยเป็นโรคแบบลุกลามที่ทางเดินหายใจนอก (extrathoracic disseminated disease) – ระยะเฉียบพลัน: 400 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • การติดเชื้อภายในเยื่อหุ้มสมอง: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • รักษาเพื่อกดอาการเรื้อรัง (การป้องกันแบบทุติยภูมิ): มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อระดับเบาและรักษาเพื่อกดอาการเรื้อรัง
  • เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับการติดเชื้อที่ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมองระดับรุนแรง รวมทั้งการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำจนกระทั่งมีอาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ ตามด้วยยาไตรเอโซล (triazole) เป็นทางเลือกในการรักษาผู้เชี่ยวชาญบางรายอาจเพิ่มยาไตรเอโซล (ยานี้เหมาะสำหรับโรคกระดูก) เพิ่มในการรักษาด้วยยาแอมโฟเทอริซิน บี และใช้ยาไตรเอโซลอย่างต่อเนื่องหลังจากหยุดใช้ยาแอมโฟเทอริซิน บี
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคสปอโรทริโคสิส (Sporotrichosis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

การติดเชื้อที่ผิวหนังหรือต่อมน้ำเหลือง:

  • ขนาดยาที่แนะนำ: 200 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • หากผู้ป่วยไม่ตอบสนอง: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 2 ถึง 4 สัปดาห์หลังจากที่แผลทั้งหมดหายไป (โดยปกติระยะเวลาโดยรวมคือ 3 ถึง 6 เดือน)

การติดเชื้อที่กระดูกและข้อ: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: อย่างน้อย 12 เดือน

การติดเชื้อที่ปอดระดับรุนแรงน้อยกว่า: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา:อย่างน้อย 12 เดือน

การติดเชื้อที่เยื่อหุ่มสมอง การติดเชื้อที่ลุกลาม หรือการติดเชื้อที่ปอดระดับรุนแรงหรือถึงแก่ชีวิต (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: อย่างน้อย 12 เดือน

เพื่อป้องกันการกำเริบของการติดเชื้อที่เยื่อหุ่มสมองหรือการติดเชื้อที่ลุกลาม (การป้องกันแบบทุติยภูมิ) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอื่นๆ: 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นการรักษาที่เหมาะสม
  • ควรเลือกใช้ยาสารละลายสำหรับรับประทาน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคคริปโตคอกโคสิส (Cryptococcosis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

การติดเชื้อที่ปอดระดับเบาถึงปานกลาง (ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมอง) ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 6 ถึง 12 เดือน

การรักษาเพื่อประคับประคอง (กดอาการ) และป้องกันโรคสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 1 ปี

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา ควรเลือกใช้ยาฟลูโคนาโซล (fluconazole)
  • ควรใช้ยาในรูปแบบยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • ไม่แนะนำให้ทำเป็นการป้องกันแบบปฐมภูมิเป็นประจำ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตค็อกคัส (Cryptococcal Meningitis) – ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี:

การรักษาร่วมกัน (Consolidation therapy): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 8 สัปดาห์

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา ควรเลือกใช้ยาฟลูโคนาโซล (fluconazole)
  • ควรเริ่มต้นการรักษาร่วมกันหลังจากการรักษาหลักอย่างแรก (induction therapy) อย่างน้อย 2 สัปดาห์และควรตามด้วยการรักษาตามปกติ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)

การติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอด (Vulvovaginal candidiasis): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 1 วัน

คำแนะนำ:

  • ยารูปแบบแคปซูล

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอดที่ไม่ซับซ้อน: รับประทานวันละ 200 มก. เป็นเวลา 3 ถึง 7 วัน

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคไมโครสปอริดิโอซิส (Microsporidiosis)

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อที่ลุกลามเนื่องจากเชื้อเทรคิปเลอิสโทฟอร่า (Trachipleistophora) หรือเชื้อแอนคาลิเอีย (Anncaliia): รับประทานวันละ 400 มก.

คำแนะนำ:

  • ยานี้อาจมีประโยชน์เมื่อใช้ร่วมกับยาอัลเบนดาโซล (albendazole)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อราทั่วร่างกาย (Systemic Fungal Infection)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

การรักษาโดยยังไม่ทราบเชื้อก่อโรค (Empirical therapy): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นอีกทางเลือกของการรักษาผู้ป่วยภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นแคนดิไดอะซิส (candidiasis) แบบรุกราน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันการติดเชื้อรา

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

ยาต้านเชื้อราเพื่อป้องกันสำหรับผู้ป่วยภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (neutropenia) เนื่องจากการทำเคมีบำบัด: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นอีกทางเลือกของการรักษา

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเกลื้อน (Tinea Vesicolor)

งานวิจัย (n=36)

200 มก. รับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 7 วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคพาราค็อกสิดิออยโดไมโคสิส (Paracoccidioidomycosis)

200 มก. รับประทานวันละเป็นเวลา 6 เดือน

การปรับขนาดยาสำหรับไต

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

การปรับขนาดยา

ผู้เชี่ยวชาญบบางรายแนะนำให้ปรับขนาดยาโดยขึ้นอยู่กับระดับของเซรั่มของยา และ/หรือปฏิกิรยาของยา

ขนาดยาไอทราโคนาโซลสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคบลาสโตไมโคสิส (Blastomycosis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับเด็ก:

การติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลาง: 10 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

ระยะเวลาในการรักษา: 6 ถึง 12 เดือน

การติดเชื้อระดับปานกลางถึงรุนแรง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): 10 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: 12 เดือน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส (Histoplasmosis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับเด็ก:

การติดเชื้อที่ปอดฉับพลัน: 5 ถึง 10 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

การติดเชื้อแบบลุกลามที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): 5 ถึง 10 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: 3 เดือน อาจจำเป็นต้องรักษานานกว่านี้สำหรับผู้ป่วยขั้นรุนแรง มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ป่วยในกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ (primary immunodeficiency syndromes)

ป้องกันการกำเริบ (การป้องกันแบบทุติยภูมิ): 5 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./วัน

คำแนะนำ:

  • โดยปกติมักจะใช้ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่ไม่สามารถแก้ไขได้อาจจำเป็นต้องใช้ยานี้รักษาเพื่อกดอาการ ไปตลอดชีวิต

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมโรคติดเชื้อแห่ง สหรัฐอเมริกา สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก (PIDS) และสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (AAP) สำหรับผู้ป่วยที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อที่ปอดฉับพลันแบบปฐมภูมิ: 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน ตามด้วย 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./ครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 12 เดือน ระยะเวลา 12 สัปดาห์อาจเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันจากเซลล์ที่ใช้งานได้ (cellular immunity)

การติดเชื้อแบบลุกลามระดับเบา: 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน ตามด้วย 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./ครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 12 เดือน

การรักษาร่วมสำหรับการติดเชื้อแบบลุกลามระดับปานกลางถึงรุนแรง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน ตามด้วย 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./ครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 12 เดือน

การรักษาร่วมสำหรับการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน ตามด้วย 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./ครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 12 เดือนและจนกว่าความผิดปกติของน้ำในโพรงสมองจะเป็นปกติและไม่สามารถตรวจพบฮีสโตพลาสมาแอนติเจน

การป้องกันแบบทุติยภูมิ (รักษาเพื่อกดอาการ): : 5 ถึง 10 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./ครั้ง

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นการวิธีรักษาที่ควรเลือกใช้
  • แนะนำให้ใช้ยาในรูปแบบยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • ควรทำการรักษาร่วมตามด้วยรักษาเพื่อกดอาการเรื้อรัง

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อแบบลุกลามที่รุนแรงน้อยกว่า: 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 12 เดือน

การติดเชื้อแบบลุกลามที่รุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรง (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): 200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วย 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด: อย่างน้อย 12 เดือน

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ยืนยันแล้ว (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): 200 มก. รับประทานวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา:อย่างน้อย 12 เดือนและจนกว่าความผิดปกติของน้ำในโพรงสมองจะเป็นปกติ

การป้องกันแบบปฐมภูมิ:200 มก. รับประทานวันละครั้ง

การรักษาเพื่อกดอาการในระยะยาว (การป้องกันแบบทุติยภูมิ): 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นการวิธีรักษาที่ควรเลือกใช้
  • แนะนำให้ใช้ยาในรูปแบบยาสารละลายสำหรับรับประทาน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเชื้อราในช่องปาก (Oral Thrush)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

การติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปากสำหรับผู้ป่วยที่อายุ 5 ปีขึ้นไป: 2.5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมโรคติดเชื้อแห่ง สหรัฐอเมริกา สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก และสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา สำหรับผู้ป่วยที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปากและดื้อต่อยาฟลูโคนาโซล: 2.5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

ระยะเวลาในการรักษา: 7 ถึง 14 วัน

การป้องกันแบบทุติยภูมิ: 2.5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อที่ดื้อต่อยาฟลูโคนาโซล
  • ไม่แนะนำให้ทำเป็นการป้องกันแบบทุติยภูมิเป็นประจำ

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อแคนดิดาที่คอหอยส่วนปาก (การรักษาช่วงแรก): 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: 7 ถึง 14 วัน

การป้องกันแบบทุติยภูมิ (รักษาเพื่อกดอาการ): 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาโดยการรับประทานยา
  • ไม่แนะนำให้ทำเป็นการป้องกันแบบทุติยภูมิเป็นประจำ

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดาที่หลอดอาหาร (Esophageal Candidiasis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา:

5 ปีขึ้นไป: 2.5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมโรคติดเชื้อแห่ง สหรัฐอเมริกา สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก และสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา สำหรับผู้ป่วยที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี: 2.5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 3 สัปดาห์และอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากแก้อาการได้แล้ว

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นการรักษาที่ควรเลือกใช้

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี:

ระยะเวลาในการรักษา: 14 ถึง 21 วัน

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นการรักษาที่ควรเลือกใช้

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคค็อกสิดิออยโดไมโคสิส (Coccidioidomycosis)

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมโรคติดเชื้อแห่ง สหรัฐอเมริกา สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก และสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา สำหรับผู้ป่วยที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อที่ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมองระดับเบาถึงปานกลาง เช่นโรคปอมบวมเฉพาะที่: 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 วันตามด้วย 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./ครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: ขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางการแพทย์

รักษาเพื่อกดอาการตลอดชีพ (การป้องกันแบบทุติยภูมิ): 2 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./ครั้ง

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการป้องกันแบบทุติยภูมิและการติดเชื้อที่ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมองระดับเบาถึงปานกลาง
  • เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่การหายใจไม่พอ (respiratory compromise) เนื่องจากการติดเชื้อที่ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมองที่ลุกลามในปอดหรือแบบลุกลามรวมทั้งการรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บีเข้าหลอดเลือดดำ หลังจากที่ผู้ป่วยอาการทรงตัวให้ใช้ยาเอโซล (azole) (ยานี้เหมาะสำหรับการติดเชื้อที่กระดูก) มาใช้ทดแทนและดำเนินการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลาทั้งหมด 1 ปี ผู้เชี่ยวชาญบางรายอาจจะเริ่มใช้ยาเอโซลขณะที่กำลังรักษาด้วยยาแอมโฟเทอริซิน บี

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อระดับเบา เช่นโรคปอมบวมเฉพาะที่ (focal pneumonia): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

การติดเชื้อที่ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมองระดับรุนแรง (ภายในปอดแบบลุกลามหรือผู้ป่วยหนักที่ป่วยเป็นโรคแบบลุกลามที่ทางเดินหายใจนอก (extrathoracic disseminated disease) – ระยะเฉียบพลัน: 400 มก. รับประทานวันละครั้ง

การติดเชื้อภายในเยื่อหุ้มสมอง: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

รักษาเพื่อกดอาการเรื้อรัง (การป้องกันแบบทุติยภูมิ): 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อระดับเบาและรักษาเพื่อกดอาการเรื้อรัง
  • เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับการติดเชื้อที่ไม่ใช่ที่เยื่อหุ้มสมองระดับรุนแรง รวมทั้งการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำจนกระทั่งมีอาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ ตามด้วยยาไตรเอโซล (triazole) เป็นทางเลือกในการรักษาผู้เชี่ยวชาญบางรายอาจเพิ่มยาไตรเอโซล (ยานี้เหมาะสำหรับโรคกระดูก) เพิ่มในการรักษาด้วยยาแอมโฟเทอริซิน บี และใช้ยาไตรเอโซลอย่างต่อเนื่องหลังจากหยุดใช้ยาแอมโฟเทอริซิน บี
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตค็อกคัส (Cryptococcal Meningitis) – ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมโรคติดเชื้อแห่ง สหรัฐอเมริกา สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก และสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา สำหรับผู้ป่วยที่เปิดรับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การรักษาร่วมกันสำหรับการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง: 2.5 ถึง 5 มก./กก. รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน ตามด้วย 5 ถึง 10 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด:

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 200 มก./ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 400 มก./วัน

ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 8 สัปดาห์

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา ควรเลือกใช้ยาฟลูโคนาโซล
  • ควรเลือกใช้ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • Consolidation therapy should begin after at least 2 weeks of successful induction therapy and should be followed by secondary prophylaxis.
  • ควรเริ่มต้นการรักษาร่วมกันหลังจากการรักษาหลักอย่างแรกอย่างน้อย 2 สัปดาห์และควรตามด้วยการป้องกันแบบทุติยภูมิ

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การรักษาร่วมกัน: 200 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ระยะเวลาในการรักษา: อย่างน้อย 8 สัปดาห์

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา ควรเลือกใช้ยาฟลูโคนาโซล
  • ควรเริ่มต้นการรักษาร่วมกันหลังจากการรักษาหลักอย่างแรก อย่างน้อย 2 สัปดาห์และควรตามด้วยการรักษาตามปกติ

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอดที่ไม่ซับซ้อน: รับประทานวันละ 200 มก. เป็นเวลา 3 ถึง 7 วัน

คำแนะนำ:

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • แนะนำเป็นทางเลือกในการรักษา

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคไมโครสปอริดิโอซิส (Microsporidiosis)

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี:

การติดเชื้อที่ลุกลามเนื่องจากเชื้อเทรคิปเลอิสโทฟอร่าหรือเชื้อแอนคาลิเอีย: รับประทานวันละ 400 มก.

คำแนะนำ:

  • ยานี้อาจมีประโยชน์เมื่อใช้ร่วมกับยาอัลเบนดาโซล

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคสปอโรทริโคสิส (Sporotrichosis)

คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับเด็ก:

การติดเชื้อที่ผิวหนังหรือต่อมน้ำเหลือง: รับประทานวันละ 6 ถึง 10 มก./กก.

  • ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

การติดเชื้อที่ลุกลาม (หลังจากที่เริ่มต้นรักษาด้วยการฉีดยาแอมโฟเทอริซิน บี เข้าหลอดเลือดดำ): รับประทานวันละ 6 ถึง 10 มก./กก.

  • ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

คำแนะนำ:

  • แนะนำเป็นการรักษาที่เหมาะสม
  • ควรเลือกใช้ยาสารละลายสำหรับรับประทาน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis)

การรักษาอย่างต่อเนื่อง:

  • เชื้อสายพันธุ์ไทรโคไฟทอน ทอนซูแรน (Trichophyton tonsurans) และเชื้อสายพันธุ์ทีไวโอเลเซียม (T violaceum species) อย่างเอ็นโดทริกซ์ (endothrix): 5 มก./กก./วัน รับประทานเป็นเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์
  • เชื้อสายพันธุ์ไมครอสโพรัม แคนนิส (Microsporum canis species) อย่างเอ็กโททริกซ์ (ectothrix) :5 มก./กก./วัน รับประทานเป็นเวลา 4 ถึง 6 สัปดาห์

การรักษาเป็นช่วงๆ:

  • เชื้อสายพันธุ์ไทรโคไฟทอน ทอนซูแรน เชื้อสายพันธุ์ทีไวโอเลเซียมอย่างเอ็นโดทริกซ์ และเชื้อสายพันธุ์ไมครอสโพรัม แคนนิส อย่างเอ็กโททริกซ์: 5 มก./กก./วัน รับประทานเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ตามด้วยช่วงพักการรักษา 3 สัปดาห์

คำแนะนำ:

  • แนะนำยารูปแบบแคปซูลสำหรับการรักษาเป็นช่วงๆ
  • ควรมีการประเมินผู้ป่วยในสัปดาห์ที่ 4 หลังจากเริ่มการรักษาเพื่อดูการตอบสนองทางการแพทย์ หากยังคงเหลือเชื้อราที่หนังศีรษะอยู่ อาจต้องทำการรักษาเป็นช่วงๆ เพิ่มเติมจนถึงการรักษาสูงสุด 3 รอบการรักษา

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาผงสำหรับผสม
  • สารละลายสำหรับรับประทาน
  • ชุดอุปกรณ์สำหรับฉีดยาเข้าหลอดเลือด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Itraconazole Dosage. https://www.drugs.com/dosage/itraconazole.html. Accessed March 2, 2018.

Itraconazole. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-128-2179/itraconazole-oral/itraconazole-oral/details. Accessed March 2, 2018.

Itraconazole. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a692049.html. Accessed March 2, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/11/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับการ ป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้า อย่างง่ายๆ และได้ผล

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ ส่งผลกระทบอย่าไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/11/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา