backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

แมกนีเซียม (Magnesium)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/12/2023

แมกนีเซียม (Magnesium)

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญกับโครงสร้างกระดูก หากร่างกายมีระดับของแมกนีเซียมต่ำเกินไป อาจส่งผลทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดอุดตัน

ข้อบ่งใช้

แมกนีเซียม ใช้สำหรับ

แมกนีเซียม (Magnesium) คือแร่ธาตุที่สำคัญกับโครงสร้างกระดูกปกติในร่างกาย คนสามารถได้รับแมกนีเซียมจากอาหาร แต่ในบางครั้งอาจต้องการ อาหารเสริมแมกนีเซียม หากมีระดับของแมกนีเซียมต่ำเกินไป ระดับของแมกนีเซียมในร่างกายต่ำมีความเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง

คนรับประทาน อาหารเสริมแมกนีเซียม เพื่อป้องกันการขาดแมกนีเซียม และยังใช้ยาระบายสำหรับอาการท้องผูก และเพื่อเตรียมลำไส้สำหรับการผ่าตัด หรือขั้นตอนการวินิจฉัยโรค และยังใช้เป็นยาลดกรดสหรับภาวะกรดเกิน

บางคนยังใช้ อาหารเสริมแมกนีเซียม สำหรับโรคอื่น ๆ อีกด้วย ดังนี้

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ระดับคอเลสเตอรอลไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL)
  • ระดับคอเลสเตอรอลไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL)
  • โรคลิ้นหัวใจ เช่น ภาวะที่เกี่ยวกับลิ้นหัวใจไมตรัล (mitral valve prolapse)
  • กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)
  • หลอดเลือดอุดตัน (coronary artery disease)
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • หัวใจล้มเหลวฉับพลัน

นอกจากนี้ยังมีการใช้แมกนีเซียมเพื่อรักษาโรคอื่น ๆ อีก ดังนี้

  • สมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder)
  • ความกังวลใจ
  • อาการอ่อนล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome)
  • โรคไลม์ (Lyme disease)
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia)
  • โรคซิสติก ไฟโบรซิส (cystic fibrosis)
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ภาวะแมเนีย
  • ฟื้นฟูจากการผ่าตัด
  • ปวดเกร็งกล้ามเนื้อขาในเวลากลางคืนและขณะตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวาน
  • นิ่วในไต
  • ปวดศีรษะไมเกรน
  • อาการปวดระยะยาวที่เรียกว่ากลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน (complex regional pain syndrome)
  • กระดูกพรุน (osteoporosis)
  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome)
  • อาการเมาที่สูง
  • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence)
  • อาการที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนและรอยปื้นแดงที่เรียกว่า อีริโทรเมลัลเจีย (erythromelalgia)
  • โรคขาไม่อยู่สุข (restless leg syndrome)
  • โรคหอบหืด
  • ไข้ละอองฟาง (hayfever)
  • โรคเอ็มเอส (multiple sclerosis)
  • ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
  • โรคมะเร็ง

การใช้แมกนีเซียมสำหรับทาผิว

ในบางครั้งนักกีฬาจะใช้แมกนีเซียมเพื่อเพิ่มพลังและความอึด สำหรับบางคนใช้แมกนีเซียมเพื่อทาบนผิวหนัง เพื่อรักษาแผลติดเชื้อที่ผิวหนัง แผลน้ำร้อนลวก และฝีฝักบัว (Carbuncle) และเพื่อเร่งความเร็วในการเยียวยาตัวเองของบาดแผล แมกนีเซียมยังใช้ในการประคบเย็น เพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่ผิวหนังอย่างรุนแรง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียอักเสบ หรือโรคไฟลามทุ่ง (erysipelas) และใช้ประคบร้อนสำหรับการติดเชื้อที่ฝังลึกอยู่ในผิวหนัง

การฉีดแมกนีเซียม

ฉีดแมกนีเซียมเข้าสู่ร่างกายเพื่อเป็นการให้สารอาหาร และรักษาอาการขาดแมกนีเซียมที่เกิดในผู้ป่วย ที่มีการติดเชื้อที่ตับอ่อน การดูดซึมแมกนีเซียมผิดปกติ และโรคตับแข็ง แล้วยังฉีดเพื่อรักษาอาการความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์อื่นๆ

แมกนีเซียมยังใช้ฉีดเพื่อควบคุมอาการชัก รักษาอาการหัวใจเต้นไม่ปกติ และควบคุมอาการหัวใจเต้นไม่ปกติ หลังจากอาการหัวใจล้มเหลวฉับพลัน และสำหรับอาการหัวใจหยุดเต้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษาโรคหอบหืด และอาการแทรกซ้อนของโรคปอดอื่นๆ โรคปวดศีรษะไมเกรนและแบบคลัสเตอร์ (cluster headaches) แมงกระพรุนต่อย เป็นพิษ ปวด บวมในสมอง ผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด อาการบาดเจ็บที่ศีรษะและมีเลือดออก โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell disease) ป้องกันโรคสมองพิการ (cerebral palsy) และรักษาบาดทะยัก (tetanus)

การทำงานของ แมกนีเซียม

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของแมกนีเซียม โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าแมกนีเซียมนั้นจำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม และซ่อมแซมกระดูก แมกนี้เซียมยังจำเป็นต่อการทำงานที่เหมาะสมของเส้นประสาท กล้ามเนื้อ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในกระเพาะอาหาร แมกนีเซียมนั้นจะช่วยทำให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลาง และเคลือนย้ายอุจจาระผ่านลำไส้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ แมกนีเซียม

ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรในกรณีต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรจะใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่นอยู่ ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • หากมีอาการแพ้สารแมกนีเซียมชนิดใดก็ตาม ยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วยอื่นใด มีความผิดปกติ หรือมีอาการโรคใด ๆ
  • หากมีอาการภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อบังคับในการใช้อาหาเสริมนั้น มีเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับในการใช้ยา ยังต้องการงานวิจัยอีกมาก เพื่อบ่งชี้ความปลอดภัย ประโยชน์ของอาหารเสริมนี้จะต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนที่จะใช้งาน โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของ แมกนีเซียม

แมกนีเซียมมีแนวโน้มที่จะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ หากรับประทานอย่างเหมาะสม หรือใช้เมื่อได้รับใบสั่งยาเท่านั้น และใช้ยาแบบฉีดได้อย่างถูกต้อง

ขนาดยาต่ำกว่า 350 มก. ต่อวัน ถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ หากรับประทานในปริมาณมาก แมกนีเซียมอาจจะไม่ปลอดภัย

ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน

ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร

แมกนีเซียมมีแนวโน้มที่จะปลอดภัยกับผู้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หากใช้ในขนาดที่ต่ำกว่า 350 มก. ต่อวัน แมกนีเซียมจะปลอดภัย หากฉีดยาเป็นช็อต หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำก่อนก่อนคลอดบุตร แมกนีเซียมอาจจะไม่ปลอดภัย หากรับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดในขนาดยาที่สูง

เด็ก

แมกนีเซียมมีแนวโน้มที่จะปลอดภัยกับคนส่วนใหญ่ หากรับประทานอย่างถูกต้อง หรือใช้เมื่อได้รับใบสั่งยาเท่านั้น และใช้ยาแบบฉีดได้อย่างถูกต้อง แมกนีเซียมจะปลอดภัยหาก หากใช้ในขนาดที่ต่ำกว่า 65 มก. สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี 110 มก. สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี และ 350 มก. สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 8 ปี แมกนีเซียมอาจจะไม่ปลอดภัย หากใช้ในขนาดยาที่สูง

การใช้แมกนีเซียมสำหรับโรคพิษสุราเรื้อรัง

ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดแมกนีเซียม

โรคเลือดออกผิดปกติ

แมกนีเซียมอาจจะชะลอการแข็งตัวของเลือด ในทางทฤษฏีแล้ว แมกนีเซียมอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออก หรือเกิดรอยช้ำ ในผู้ที่เป็นโรคเลือดออกผิดปกติ

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดแมกนีเซียม การควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดี จะลดปริมาณการดูดซึมแมกนีเซียมของร่างกาย

ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดแมกนีเซียม เนื่องจากการดูดซึมแมกนีเซียมของร่างกายลดลง และอาจจะมีโรคที่สามารถส่งผลต่อการดูดซึมของแมกนีเซียมอีกด้วย

ภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (Heart block)

ไม่ควรใช้แมกนีเซียมในขนาดที่สูง (มักจะมาจากการฉีดยาเข้าหลอดเลือด) กับผู้ป่วยที่มีภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

โรคที่สามารถส่งผลต่อการดูดซึมของแมกนีเซียม

ปริมาณของแมกนีเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้นั้นอาจจะลดลง เพราะอาการหลายๆ อย่าง เช่น การติดเชื้อในกระเพาะอาหาร โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน (immune diseases) โรคสำไส้อักเสบและอื่นๆ

โรคไต

เช่น ไตวาย ไตที่ทำงานไม่ดีอาจจะมีปัญหาในการกำจัดแมกนีเซียมออกจากร่างกาย การบริโภคแมกนีเซียมเพิ่มเติม สามารถทำให้แมกนีเซียมสะสมในร่างกายในระดับที่อันตราย อย่าบริโภคแมกนีเซียมหากป็นโรคไต

โรคขาไม่อยู่สุข (Restless leg syndrome)

คนที่เป็นโรคขาไม่อยู่สุขอาจมีระดับแมกนีเซียมสูง แต่ยังไม่แน่ชัดว่าแมกนีเซียมทำให้เกิดอาการนี้ เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคขาไม่อยู่สุขก็มีภาวะขาดแมกนีเซียมเช่นกัน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ แมกนีเซียม

สำหรับบางคน แมกนีเซียมอาจจะทำให้เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และผลข้างเคียงอื่นๆ

แมกนีเซียมในขนาดสูง อาจจะทำให้แมกนีเซียมสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น หัวใจเต้นไม่ปกติ ความดันโลหิตต่ำ สับสน หายใจช้า อาการโคม่า และเสียชีวิต

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยาต่อแมกนีเซียม

แมกนีเซียมอาจมีปฏิกิริยากับยาที่กำลังใช้อยู่ หรือโรคที่เป็นอยู่ โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนการใช้

ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยาต่อแมกนีเซียมมีดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside antibiotics)

ยาปฏิชีวนะบางตัวอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ยาปฏิชีวนะเหล่านี้เรียกว่าอะมิโนไกลโคไซด์ แมกนีเซียมก็สามารถส่งผลต่อกล้ามเนื้อได้เช่นกัน การใช้ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ร่วมกับแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ

ยาปฏิชีวนะบางชนิด ได้แก่ ยาอะมิคาซิน (amikacin) อย่างเช่นอะมิคิน (Amikin) ยาเจนตามัยซิน (gentamicin) อย่างเช่นการามัยซิน (Garamycin) ยากานามัยซิน (kanamycin) อย่างเช่นกันเทร็กซ์ (Kantrex) ยาสเตรปโตมัยซิน (streptomycin) ยาโทบรามัยซิน (tobramycin) อย่างเช่นเน็บซิน (Nebcin) และอื่น ๆ

  • ยาปฏิชีวนะควิโนโลน (Quinolone antibiotics)

แมกนีเซียมอาจลดปริมาณการดูดซึมยาปฏิชีวนะของร่างกาย การใช้แมกนีเซียมร่วมกับยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ควรใช้ยาปฏิชีวนะเหล่านี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 4 ถึง 6 ชั่วโมงหลังจากที่รับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียม

ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่มีผลต่อแมกนีเซียม ได้แก่ ยาซิโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin) อย่างเช่นซิโปร (Cipro) ยาอีนอกซาซิน (enoxacin) อย่างเช่นเพเนเทร็กซ์ (Penetrex) ยานอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin) อย่างเช่นชิบร็อกซ์ซิน (Chibroxin) หรือโนโรซิน (Noroxin) ยาสปาร์ฟลอกซาซิน (sparfloxacin) อย่างเช่นซาแกม (Zagam) ยาโทวาฟลอกซ์ซาซิน (trovafloxacin) อย่างเช่นโทรแวน (Trovan) และยาเกรพพาฟลอกซาซิน (grepafloxacin) อย่างเช่นแรกซ์ซาร์ (Raxar)

  • ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (Tetracycline antibiotics)

แมกนีเซียมสามารถเกาะติดกับยาเตตราไซคลีนในกระเพาะอาหาร ทำให้ลดปริมาณของยาเตตราไซคลีนที่ร่างกายจะดูดซึมได้ การรับประทานแมกนีเซียมคู่กับยาเตตราไซคลีน อาจจะลดประสิทธภาพของยาเตตราไซคลีนได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ควรรับประทานแคลเซียม 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมง หลังรับประทานยาเตตราไซคลีน

ยาในกลุ่มเตตราไซคลีนบางชนิดมีดังนี้ ยาเดเมโคลไซคลีน (demeclocycline) อย่างเช่นเดโคลมัยซิน (Declomycin) ยามิโนไซคลีน (minocycline) อย่างเช่นไมโนซิน (Minocin) และยาเตตราไซคลีน อย่างเช่นอะโครมัยซิน (Achromycin)

  • ยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates)

แมกนีเซียมสามารถลดปริมาณการดูดซึมยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์ของร่างกายได้ การใช้แมกนีเซียมคู่กับยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์ สามารถลดประสิทธิผลของยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ให้ใช้ยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์อย่างน้อยสองชั่วโมงก่อนแมกนีเซียม หรือหลังจากนั้น

ยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์บางชนิดได้แก่ ยาอะเลนโดรเนต (alendronate) อย่างเช่นโฟซาแมกซ์ (Fosamax) ยาเอดทิโดรเนท (etidronate) อย่างเช่นไดโดรเนล (Didronel) ยาเรซิโดรเนท (risedronate) อย่างเช่นแอคโทเนล (Actonel) ยาทิลูโดรเนท (tiludronate) อย่างเช่นสเกลลิด (Skelid) และอื่น ๆ

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูงกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers)

แมกนีเซียมอาจลดระดับความดันโลหิตได้ การใช้แมกนีเซียมร่วมกับยาเพื่อรักษาอาการความดันโลหิตสูง อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไป

ยาสำหรับอาการความดันโลหิตสูงบางชนิด ได้แก่ ยาไนเฟดิปีน (nifedipine) อย่างเช่นอะดาลัท (Adalat) หรือโพรคาเดีย (Procardia) ยาเวอราปามิล (verapamil) อย่างเช่นคาลัน (Calan) หรือไอซอปทิน (Isoptin) หรือเวเรลัน (Verelan) ยาดิลไทอะเซม (diltiazem) อย่างเช่นคาร์ดิเซม (Cardizem) ยาอิสราดิพีน (isradipine) อย่างเช่นไดนาเซิร์ก (DynaCirc) ยาฟิโลดิปีน (felodipine) อย่างเช่นเพลนดิล (Plendil) ยาแอมโลดิปีน (amlodipine) อย่างเช่นนอร์วาสก์ (Norvasc) และอื่นๆ

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ

แมกนีเซียมช่วยคลายกล้ามเนื้อ การรับประทานแมกนีเซียมคู่กับยาคลายกล้ามเนื้อ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิดได้แก่ ยาคาริโซโพรดอล (carisoprodol) อย่างเช่นโซมา (Soma) ยาไพพิคิวโรเนียม (pipecuronium) อย่างเช่นอาร์ดูอาน (Arduan) ยาออเฟเนดรีน (orphenadrine) อย่างเช่นแบนเฟล็กซ์ (Banflex) หรือดิซิพิล (Disipal) ยาไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) ยาแกลลามีน (gallamine) อย่างเช่นแฟล็กซิดิล (Flaxedil) ยาอะตราคิวเรียม (atracurium) อย่างเช่นแทรคเรียม (Tracrium) ยาแพนคูโรเนียม (pancuronium) อย่างเช่นพาวูลอน (Pavulon) ยาซักซินิลโคลีน (succinylcholine) อย่างเช่นอะเนคทีน (Anectine) และอื่นๆ

  • ยาขับปัสสาวะกลุ่มโปแตสเซียม-สแปริ่ง ไดยูเรติก (Potassium-sparing diuretics)

ยาขับปัสสาวะสามารถเพิ่มระดับของแมกนีเซียมในร่างกายได้ การรับประทานยาขับปัสสาวะคู่กับแมกนีเซียม อาจทำให้มีแมกนีเซียมในร่างกายมากเกินไป

ยาขับปัสสาวะที่เพิ่มแมกนีเซียมในร่างกาย ได้แก่ ยาอะมิโลไรด์ (amiloride) อย่างเช่นมิดามอร์ (Midamor) ยาสไปโรโนแลคโตน (spironolactone) อย่างเช่นอัลแดคโทน (Aldactone) และยาไตรแอมเทอรีน (triamterene) อย่างเช่นไดเนเนียม (Dyrenium)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้ยานี้

ขนาดปกติของการใช้แมกนีเซียม

ขนาดยาต่อไปนี้ได้รับการศึกษาในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว

สำหรับผู้ใหญ่

รับประทาน

  • ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันสำหรับธาตุแมกนีเซียม 19-30 ปี 400 มก. (ผู้ชาย) และ 310 มก. (ผู้หญิง) 31 ปีขึ้นไป 420 มก. (ผู้ชาย) และ 320 มก. (ผู้หญิง) สำหรับผู้ตั้งครรภ์อายุ 14-18 ปี ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันคือ 400 มก. 19-30 ปี 350 มก. 31-50 ปี 360 มก. สำหรับผู้ให้นมบุตร 14-18ปี ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันคือ 360 มก. 19-30 ปี 310 มก. 31-50 ปี 320 มก. ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันสำหรับแมกนีเซียมคือ 350 มก. สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 8 ปี รวมไปถึงผู้ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • สำหรับอาการท้องผูก: รับประทานแมกนีเซียมซิเทรต 8.75-25 กรัม ตามปกติแล้วคือใช้ 150-300 มล. ในสารละลาย 290 มล. และมีการใช้แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ 2.4-4.8 กรัม นอกจากนี้ยังมีการใช้แมกนีเซียมซัลเฟต 10-30 กรัม เกลือแมกนีเซียมควรใช้เฉพาะสำหรับการรักษาอาการท้องผูกเป็นครั้งคราว และควรรับประทานพร้อมกับน้ำเต็มแก้ว 8 ออนซ์
  • สำหรับอาการอาการไม่ย่อย: รับประทานแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ 400-1200 mg เป็นเวลา 4 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการใช้แมกนีเซียมออกไซด์ 800 มก. ต่อวัน
  • สำหรับการอาการขาดแมกนีเซียม: รับประทานแมกนีเซียมซัลเฟต 3 กรัม ทุกๆ 6 ชม. เป็นจำนวน 4 ครั้ง สารละลายแมกนีเซียมคลอไรด์ 5% รับประทานเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 16 สัปดาห์ มีการใช้น้ำแร่ที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม อย่างเฮพาร์ (Hepar) บรรจุ 110 มก./ลิตร รับประทานแมกนีเซียมแลคเตต 10.4 มิลลิโมล ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน ควรหลีกเลี่ยงแมกนีเซียมออกไซด์และแมกนีเซียมคาร์บอเนต
  • สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia): รับประทานแมกนีเซียม-ดีแอล-ไฮโดรเจน แอสพาร์เตด (magnesium-DL-hydrogen aspartate) 2.163 มก. และโพแทสเซียม-ดีแอล-ไฮโดรเจน แอสพาร์เตด (potassium-DL-hydrogen aspartate) 2.162 มก. ทุกวัน เป็นเวลา 21 วัน
  • สำหรับอาการปวดเค้นหน้าอกเนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน: แมกนีเซียมออกไซด์ 800-1200 มก. รับประทานทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน
  • สำหรับโรคเบาหวาน: สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทานแมกนีเซียมคลอไรด์ 2.5 กรัมในสารละลาย 50 มล. ทุกวัน เป็นเวลา 16 สัปดาห์ รับประทานแมกนีเซียม 360 มก. ทุกวัน เป็นเวลา 4 ถึง 16 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 รับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมกลูโคเนต (magnesium gluconate) บางชนิดอย่างอัลตราแมกนีเซียม (Ultramagnesium) 300 มก. ทุกวัน เป็นเวลา 5 ปี
  • สำหรับโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia): มีการใช้แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ร่วมกับกรดมาลิก อย่างยาซุปเปอร์มาลิก (Super Malic tablets) รับประทานแมกนีเซียมซิเตรต 300 มก. ทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์
  • สำหรับการสูญเสียการได้ยิน: รับประทานแมกนีเซียมแอสพาร์เทต 167 มก. ผสมในน้ำมะนาว 200 มล. ทุกวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ หรือรับประทานครั้งเดียว
  • สำหรับอาการคอเลสเตอรอลสูง: รับประทานแมกนีเซียมออกไซด์ 1 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์
  • สำหรับกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome): รับประทานแมกนีเซียมแอสพาร์เทต 365 มก. อย่างแมกนีซิโอการ์ด (Magnesiocard) ทุกวัน เป็นเวลา 6 เดือน
  • สำหรับโรคลิ้นหัวใจมิตรัล (mitral valve prolapse): แมกนีเซียมคาร์บอเนต 1200-1800 มก. รับประทานทุกวัน เป็นเวลา 5 สัปดาห์
  • สำหรับโรคกระดูกพรุน (osteoporosis): รับประทานแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ 300-1800 มก. ทุกวัน เป็นเวลา 6 เดือน ตามด้วยแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ 600 มก. ทุกวันเป็นเวลา 18 เดือน รับประทานแมกนีเซียมซิเตรต 1830 มก. ทุกวัน เป็นเวลา 30 วัน นอกจากเอสโตรเจนแล้ว รับประทานแมกนีเซียม 600 มก. ร่วมกับแคลเซียม 500 มก. และอาหารเสริมวิตามินรวม เป็นเวลา 1 ปี
  • สำหรับอาการปวดหลังการผ่าตัด: รับประทานยาอมแมกนีเซียมบางชนิด เช่น ยาอมแมกนีเซียมไดแอสโพรอล (Magnesium-Diasporal lozenge) เมดไอแอลเอซี (Med Ilac) อิสตันบูล (Istanbul) เตอร์กี (Turkey) ประกอบด้วยแมกนีเซียมซิเตรต 610 มก. รับประทาน 30 นาทีก่อนการผ่าตัด
  • สำหรับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome): รับประทานแมกนีเซียมออกไซด์ 333 มก. ทุกวัน สำหรับรอบการมีประจำเดือนสองครั้ง ขนาดยาที่สูงขึ้นของธาตุแมกนีเซียม 360 มก. รับประทานวันละสามครั้ง ตั้งแต่วันที่ 15 ของรอบเดือนจนกระทั่งมีประจำเดือน รับประทานธาตุแมกนีเซียม 360 มก. วันละสามครั้งทุกวัน เป็นเวลา 2 เดือน รับประทานแมกนีเซียม 200 มก. ทุกวัน ร่วมกับวิตามินบี6 50 มก. ทุกวัน

ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

  • สำหรับภาวะขาดแมกนีเซียม: ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับภาวะขาดแมกนีเซียมระดับเบา คือฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้ากล้ามเนื้อ 1 กรัม ทุก ๆ 6 ชั่วโมงเป็นจำนวน 4 ครั้ง สำหรับภาวะขาดแมกนีเซียมที่รุนแรงขึ้น ให้ยาแมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ 5 กรัมเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะขาดแมกนีเซียม โดยปกติผู้ใหญ่ควรรับธาตุแมกนีเซียม 60-96 มก. ต่อวัน
  • สำหรับอาการความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ (pre-eclampsia) และภาวะชัก (eclampsia): ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือดดำ 4-5 กรัม ตามด้วยแมกนีเซียม 4-5 กรัมทุก ๆ 4 ชั่วโมง หรือฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือด 1 ถึง 3 กรัม ต่อชั่วโมง ขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตไม่ควรเกิน 30 ถึง 40 กรัมต่อวัน มีการใช้ขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตที่สูงขึ้น (9-14 กรัม) แล้วตามด้วยยาขนาดต่ำ (2.5-5 กรัม ทุกๆ 4 ชั่วโมงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง)
  • สำหรับอาการหัวใจเต้นไม่ปกติ หรือตอร์ซาดเดอปวงต์ (torsades de pointes): ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือดดำ 1 ถึง 6 กรัม เป็นเวลานานกว่าหลายนาที ตามด้วยการให้ยาทางหลอดเลือดดำ
  • สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias): สำหรับการลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลังจากอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือดดำ 8 กรัม ในสารละลาย 250 มล. ในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง สำหรับอาการหัวใจเต้นที่ผิดปกติหรือเร็วเกินไป ให้ยาแมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ 5 กรัม ในสารละลาย 100 มล. ขนาดยาครึ่งหนึ่งให้ในช่วงเวลา 20 นาที ตามด้วยส่วนที่เหลือในช่วงเวลา 20 นาที สำหรับอาการหัวใจเต้นเร็ว ฉีดแมกนีเซียมคลอไรด์ขนาด 1-4 กรัม เข้าหลอดเลือดดำ ในช่วงเวลา 5 นาที สำหรับอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ที่เกิดจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker) แมกนีเซียมซัลเฟต 2 กรัมในสารละลาย 10 มล. ฉีดเข้าหลอดเลือด ในช่วงเวลา 10 นาที ตามด้วยแมกนีเซียมซัลเฟต 5-10 กรัม ในสารละลาย 250-500 มล. ในช่วงเวลา 5 ชั่วโมง
  • สำหรับอาการปวดที่มาจากเส้นประสาทที่เสียหายเพราะโรคมะเร็ง: ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตขนาด 0.5-1 กรัม เข้าหลอดเลือดดำ ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต 50% ในปริมาณ 1 มล. หรือ 2 มล. ในช่วงเวลา 5-10 นาที
  • สำหรับโรคปอดที่เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic pulmonary disease): ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือดดำ 1.2 กรัมหลังจากใช้ยาสูดพ่นแล้ว มีการใช้แมกนีเซียมซัลเฟต 1.2-2 กรัม ในสารละลาย 100-150 มล. ในช่วงเวลา 20 นาที
  • สำหรับโรคปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache): ฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือดดำ 1 กรัม ในช่วงเวลา 5 นาที และยังมีการใช้ยาแมกนีเซียมขนาด 1 กรัม
  • สำหรับอาการปวดหลังการผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy): ฉีดสารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือดดำ 3 กรัม ตามด้วยฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตเข้าหลอดเลือด 0.5 กรัม ต่อชั่วโมง ในช่วงเวลา 20 ชั่วโมง
  • สำหรับอาการปวดหลังการผ่าตัด: ฉีดแมกนีเซียมเข้าหลอดเลือดดำ 5-50 มก./กก. ตามด้วยฉีดสายละลายเข้าหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง 6 มก./กก. หรือ 500 มก. ทุกๆ ชั่วโมง สำหรับระยะเวลาของการรักษาใน 48 ชั่วโมง และให้แมกนีเซียม 3.7-5.5 กรัมเป็นยาแก้ปวดเพิ่มเติม ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด
  • สำหรับอาการปวดเนื่องจากอาการกระตุกของหลอดเลือด (vasospastic angina): ฉีดแมกนีเซียมเข้าหลอดเลือดดำ 65 มก./กก. ของน้ำหนักตัว ในช่วงเวลา 20 นาที
  • สำหรับโรคหอบหืด: แมกนีเซียมซัลเฟตขนาด 1-2 กรัม ในช่วงเวลา 20 ถึง 30 นาที ฉีดยาแมกนีเซียมซัลเฟตขนาด 78 มก./กก./ชั่วโมง เข้าหลอดเลือดดำ ในช่วงเวลา 30 นาทีก่อนทำการตรวจสมรรถภาพของปอด

การฉีดยาเป็นช็อต

  • สำหรับอาการความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีอาการชัก (pre-eclampsia) และภาวะชัก (eclampsia): แมกนีเซียมซัลเฟต 4 กรัม เจือจางในสารละลายน้ำเกลือมากกว่า 10–15 นาที ฉีดเข้าทางหลอดเลือด ตามด้วยแมกนีเซียมซัลเฟต 5 กรัมฉีดเป็นช็อตเข้าไปที่บั้นท้ายแต่ละข้าง และแมกนีเซียมซัลเฟต 2.5 หรือ 5 กรัมฉีดเป็นช็อตทุก ๆ 4 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง
  • สำหรับอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome:CFS): ฉีดสารละลายที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมซัลเฟต 1 กรัม สัปดาห์ละหนึ่งครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์

การสูดดม

  • สำหรับโรคปอดที่เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซาลบูทามอล (Salbutamol) 2.5 มก. คู่กับแมกนีเซียมซัลเฟต 2.5 มล. (151 มก. ต่อครั้ง) สูดดมสามครั้งโดยเว้นช่วง 30 นาที

สำหรับเด็ก

รับประทาน

  • ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันของธาตุแมกนีเซียมคือ อายุ 1-3 ปี 80 มก. อายุ 4-8 ปี 130 มก. อายุ 9-13 ปี 240 มก. อายุ 14-18 ปี 410 มก. (เด็กผู้ชาย) 360 มก. (เด็กผู้หญิง) สำหรับทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวันคือ 30 มก. ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และ 75 มก. ตั้งแต่อายุ 7 ถึง 12 เดือน ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวันสำหรับแมกนีเซียมคือ 65 มก. สำหรับเด็กที่อายุ 1-3 ปี และ 110 มก.สำหรับอายุ 4-8 ปี
  • สำหรับโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่ทำให้สารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกายเหนียวข้นขึ้น): ใช้แมกนีเซียมไกลซีน 300 มก. สำหรับรับประทานทุกวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์

ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

  • สำหรับโรคหอบหืด แมกนีเซียมซัลเฟต 40 มก./กก. สูงสุดที่ 2 กรัม กับสารละลาย 100 มล. ให้ทางหลอดเลือดดำ ในช่วงเวลา 20 นาที

ขนาดยาของแมกนีเซียมอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละคน ขนาดยาที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และอาการอื่นๆ อาหารเสริมนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับขนาดยาที่เหมาะสม

รูปแบบของแมกนีเซียม

รูปแบบของแมกนีเซียมมีดังนี้

  • ในอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียม ประกอบไปด้วยพืชตระกูลถั่ว ธัญพืช ผัก โดยเฉพาะบล็อคโคลี่ สควอช และผักใบเขียว เมล็ดพืชและถั่ว โดยเฉพาะอัลมอนด์ แหล่งของสารอาหารอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ ช็อกโกแลต และกาแฟ น้ำที่มีแร่ธาตุสูง หรือน้ำกระด้างก็เป็นแหล่งของแมกนีเซียมเช่นกัน
  • ยาแคปซูลแมกนีเซียม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/12/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา