backup og meta

ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

    ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ

    บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ อาการยึกยือ อีกหนึ่งความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมักเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคจิตเภท  ส่งผลให้กล้ามเนื้อขยับเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น นิ้วกระตุกเอง แขนสะบัดเองโดยไม่ตั้งใจ เป็นต้น

    ทำความรู้จัก อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia)

    อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia)  เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาทางจิตเภท ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ตากระพริบเอง นิ้วกระตุก อย่างไรก็ตาม อาการยึกยือไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ทานยารักษาโรคทางจิตเภท ดังนั้นหากคุณรับประทานยาทางจิตเภทและพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นอาการยึกยือควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

    สาเหตุของอาการยึกยือ

    สาเหตุของอาการยึกยือ เกิดจากผลข้างเคียงของการรับประทานยาที่รักษาโรคทางจิตเภท โดยยาที่รักษาโรคจิตเภทจะไปยับยั้งการทำงานของสารโดพามีน (Dopamine)  (สารโดพามีนมีหน้าที่ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น) โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานยารักษาโรคทางจิตเภทนาน 3 เดือน ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการยึกยือ ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการเกิดอาการยึกยือ มีดังต่อไปนี้

  • ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol)
  • ยาฟลูนาริซีน (Flunarizine)
  • ยาริสเพอริโดน (Risperidone)
  • โอแลนซาปีน (Olanzapine)
  • หากคุณรับประทานยาที่เกี่ยวกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน กรดไหลย้อน และยาที่ใช้ในการรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะ นานเกิน 3 เดือน อาจทำให้เกิดอาการยึกยือได้เช่นกัน เช่น

    • ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide)
    • คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine)

    นอกจากนี้ยังสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการยึกยือ เช่น ผู้หญิงสูงอายุวัย 55 ปี หมดวัยประจำเดือน, ผู้ที่ใช้แอลกอฮอล์หรือสารเคมีในทางที่ผิด และผู้ที่มีเชื้อสายเอเชียอเมริกัน เป็นต้น

    สัญญาณเตือนอาการยึกยือ

    อาการยึกยือส่งผลให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยเคลื่อนไหวเองโดยไม่สามารถควบคุมด้วย รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

    • แลบลิ้นออกมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
    • ตากระพริบเอง
    • คิ้วกระตุก
    • นิ้วกระดิกเอง
    • เม้มปาก
    • แขนสะบัดเอง
    • แกว่งแขน
    • ย่ำเท้า
    • เอวกระตุก

    วิธีการรักษา

    ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย หากคุณต้องรับประทานยาที่รักษาโรคทางจิตเภทและมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวเอง แพทย์อาจปรับเปลี่ยนยาเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงสำหรับผู้ป่วย เช่น

    • ยาดูเตตราเบนาซีน (Deutetrabenazine)
    • ยาวาลเบนาซีน (Valbenazine)

    โดยยาทั้ง 2 ชนิดนี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration : FDA) เพื่อควบคุมการทำงานของโดพามีนบริเวณสมองและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา