ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure) จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว
คำจำกัดความ
ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure) คืออะไร
ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure) จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที และจะกลับมาหายเอง) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอาการลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ แต่การสูญเสียสติแม้ในระยะเวลาสั้น ๆ สามารถทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
พบได้บ่อยเพียงใด
ลมชักชนิดเหม่อสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในวัยเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ถึง 9 ปี
อาการ
อาการของลมชักชนิดเหม่อ
โดยส่วนใหญ่อาการของลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-9 ปี ซึ่งจะมีอาการที่แสดงออกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- มีอาการสับสน หน้ามืด
- หยุดการเคลื่อนไหวไปชั่วขณะ ไม่ตอบสนองต่อคำแนะนำและคำถาม
- มีอาการเหม่อลอย
- กระพริบตาถี่ขึ้น
- เม้มปากแรง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีท่าท่าเหมือนกำลังเคี้ยวอาหาร
- มือทั้งสองข้างขยับขึ้นเอง
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของลมชักชนิดเหม่อลอย
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการลมชักชนิดเหม่อ โดยทั่วไปอาการชักเกิดจากการกระตุ้นของประจุไฟฟ้าที่ผิดปกติจากเซลล์ประสาทในสมอง รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ดังนี้
- การบาดเจ็บทางศีรษะ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์
- โรคหลอดเลือดสมองและเนื้องอก
- การได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด หรือความผิดปกติทางสมองก่อนคลอด
ปัจจัยเสี่ยงของลมชักชนิดเหม่อลอย
- อายุ พบได้บ่อยในวัยเด็ก
- เพศ พบได้บ่อยในเพศหญิง
- ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครัวเคยมีประวัติที่เกี่ยวกับอาการชัก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักได้
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยลมชักชนิดเหม่อ
นักประสาทวิทยาจะทำการวินิจฉัยความผิดปกติของโรคที่เกี่ยวของกับทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก ในเบื้องต้นจะประเมินอาการของผู้ป่วย สุขภาพโดยรวม การรับประทานยา และการวินิจฉัยอื่นๆ ดังนี้
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) เพื่อสแกนตรวจความผิดปกติภายในระบบประสาทให้ละเอียดมากขึ้น
- การตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT SCAN) ตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างภายในสมอง
- การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมอง (Electroencephalography: EEG) เพื่อหาความผิดปกติของของคลื่นสมอง
การรักษาลมชักชนิดเหม่อ
ในเบื้องต้นการรักษาลมชักชนิดเหม่อแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาเพื่อต้านอาการชัก เช่น ยาเอโธซักซิไมด์ (Ethosuximide) ลาโมไตรจีน (Lamotrigine) กรดวาลโปรอิก (Valproic) เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจทำการผ่าตัด
หมายเหตุ ในสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้กรดวาลโปรอิก เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ได้
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาลมชักชนิดเหม่อ
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ระบุว่า ประมาณ 25% ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ดังต่อไปนี้
- สวมหมวกทุกครั้งเมื่อขี่จักรยานยนต์ เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
- รักษาสุขอนามัย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
[embed-health-tool-bmi]