backup og meta

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน

แม้ว่าคุณจะรอดตายจากโรคหลอดเลือดสมองมาได้ แต่ช่วงเวลาของการพักฟื้นจาก โรคหลอดเลือดสมองนั้นใช้เวลานาน และแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน แล้ว การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง และต้องใช้เวลานานเท่าใด เรามีคำตอบมาให้คุณแล้ว

วิธีการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อสมองบางส่วน ซึ่งอาจทำให้คุณไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ การฟื้นฟูสุขภาพจึงช่วยให้ระบบในร่างกายกลับมาทำงานได้ และได้เรียนรู้ทักษะที่สูญเสียไปอีกครั้ง คุณสามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเอง มีความมั่นใจในตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง

กิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากอาการหลอดเลือดสมอง มีดังนี้

  • การสร้างความแข็งแรงในการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูประเภทนี้ประกอบด้วยการออกกำลังกาย ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เช่น การฝึกกลืน
  • การบำบัดเกี่ยวกับช่วงของการเคลื่อนไหว ได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และเพิ่มช่วงของการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น
  • การฝึกการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูโดยให้ผู้ป่วยเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงในการเดิน เช่น ไม้เท้า หรือการใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า การบำบัดนี้ช่วยให้ผู้ป่วยเดินเองได้ดีขึ้น
  • การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้
  • การกระตุ้นสมอง การกระตุ้นโดยไม่มีการผ่าตัด ซึ่งช่วยฟื้นฟูทักษะการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
  • การบำบัดปัญหาทางการสื่อสาร วิธีนี้ช่วยฟื้นฟูทักษะการฟัง พูดและเขียนของผู้ป่วย
  • การรักษาทางจิตวิทยา เพื่อฟื้นฟูสภาพอารมณ์ และช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น
  • การใช้ยา เป็นวิธีที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า หรืออาการบาดเจ็บที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรเริ่มตอนไหน

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตั้งแต่ในช่วงระหว่างการพักฟื้นที่โรงพยาบาล ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีสมรรถภาพ และทักษะต่างๆ ที่เสียไปได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม  แพทย์ต้องทำการควบคุมอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำเสียก่อน

ระยะเวลาในการฟื้นฟู

หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องใช้เวลานานเท่าใด คำตอบคือ ระยะเวลาในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้น และร่างกายส่วนที่ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงประเภทของการรักษา และการตอบสนองต่อการรักษาต่างๆ ของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางรายฟื้นฟูได้เร็ว แต่บางรายอาจใช้เวลาหลายปี หรืออาจไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้อีก

ยกตัวอย่าง การฟื้นฟูการพูดและทักษะการสื่อสารต่างๆ อาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปี คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัด เกี่ยวกับระยะเวลาการฟื้นฟูได้ แต่การประเมินระยะเวลาที่แน่นอน ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายนัก

สิ่งที่ควรตระหนักมากกว่าระยะเวลาการฟื้นฟู คือ ตอนนี้คุณรอดตายมาจากโรคหลอดเลือดสมองได้แล้ว ฉะนั้น อย่ากังวลเรื่องระยะเวลาในการฟื้นฟูจนเกินไป เพราะอาจจะก่อให้เกิดความเครียด และยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

คุณควรระลึกไว้เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นใช้เวลา สิ่งที่ดีที่สุดคือ การที่คุณยังมีชีวิตอยู่ หลังจากการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง และการฟื้นฟูสุขภาพนี้จะช่วยให้ร่างกายของคุณกลับมาทำงานได้ ไม่ว่าจะใช้เวลานานเท่าใดก็ตาม

คุณจึงควรอดทน บันทึกติดตามพัฒนาการของตนเองตลอด และเข้าพบเพื่อติดตามอาการ ปรึกษาแพทย์ตามกำหนดการนัดตรวจ เพื่อติดตามผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Recovering after stroke. https://medlineplus.gov/ency/article/007419.htm. Accessed May 7, 2017.

Stroke rehabilitation: What to expect as you recover. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stroke/in-depth/stroke-rehabilitation/art-20045172. Accessed May 7, 2017.

Recovering From Stroke. https://www.cdc.gov/stroke/recovery.htm. Accessed May 7, 2017.

Stroke – recovery. http://www.nhs.uk/Conditions/Stroke/Pages/recovery.aspx. Accessed May 7, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

แนวทางใหม่ใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา