backup og meta

diabetic ketoacidosis คือ ภาวะคีโตอะซิโดซิส อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

diabetic ketoacidosis คือ ภาวะคีโตอะซิโดซิส อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

diabetic ketoacidosis คือ ภาวะคีโตอะซิโดซิส เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตกรดในเลือดที่เรียกว่าคีโตนในปริมาณที่สูงเกินไป ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ส่งผลค่อนข้างร้ายแรง เกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2 เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ยากแต่ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงเกิดได้ จึงจำเป็นต้องสังเกตตนเองสม่ำเสมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันอันตรายร้ายแรงที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

[embed-health-tool-bmi]

ภาวะคีโตอะซิโดซิส คืออะไร

ภาวะคีโตอะซิโดซิส (Diabetic ketoacidosis : DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไม่สามารถลำเลียงน้ำตาลไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ร่างกายจึงเริ่มเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน กระบวนดังกล่าวทำให้เกิดกรดสะสมในเลือดเรียกว่า คีโตน เรียกว่าภาวะคีโตอะซิโดซิส หรือเลือดเป็นกรด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สุดท้ายอาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายผู้ป่วยเบาหวานถึงขั้นเสียชีวิตได้

สัญญาณเตือนของภาวะคีโตอะซิโดซิส

อาการของภาวะคีโตอะซิโดซิส สามารถสังเกตได้ เพราะร่างกายจะมีความผิดปกติ ในขณะเดียวกันมักเป็นสัญญาณเตือนแรกเริ่มที่บ่งบอกถึงอาการของ โรคเบาหวานได้ด้วย

นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ยังอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงบางอย่างเกิดขึ้นด้วย ซึ่งแตกต่างจากอาการเบาหวานทั่วไป เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โพแทสเซียมอยู่ในระดับต่ำ สมองบวม หมดสติ และอาจเกิดการสูญเสียถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือควรรีบเข้ารับการตรวจสอบจากแพทย์อย่างละเอียดหากเกิดสัญญาณเตือนถึงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งของเบาหวาน

การรักษาภาวะคีโตอะซิโดซิส

อันดับแรกแพทย์จะตรวจและวินิจฉัยอาการ diabetic ketoacidosis จากการวัดระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจปัสสาวะ เพื่อเป็นการวิเคราะห์หาแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักทำการเริ่มรักษาด้วยเทคนิค ดังต่อไปนี้

  • การบำบัดด้วยอินซูลิน (Insulin Therapy) โดยแพทย์จะฉีดอินซูลินเข้าสู่หลอดเลือดดำ จนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ในระดับที่ลดลงต่ำกว่า 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • การเปลี่ยนอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) เนื่องจากการที่ระดับอินซูลินลดต่ำลง อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายก็อาจต่ำลงไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มแร่ธาตุที่ประกอบด้วยประจุไฟฟ้าผ่านทางเส้นเลือดเข้าไป เพื่อช่วยให้สุขภาพหัวใจ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทมีการทำงานดีขึ้น
  • การเพิ่มของเหลวบางอย่างผ่านหลอดเลือด (Fluid replacement) ซึ่งเทคนิคนี้อาจช่วยรักษาผู้ป่วยจากภาวะขาดน้ำ และปรับเคมีในเลือดให้กลับมาสมดุลขึ้นได้

เมื่อไรที่ควรไปพบคุณหมอ

หากเกิดสัญญาณเตือนโรคเบาหวานหรืออาการเตือนภาวะคีโตอะซิโดซิส ไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด เพราะหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน หรือรอเวลาให้อาการจางหายไปเองนั้นอาจส่งผลเสียร้ายแรงได้ เมื่อเกิดอาการผิดปกติ ควรรีบเข้าขอรับคำปรึกษาและการวินิจฉัยจากแพทย์ในทันที โดยเฉพาะหากมีอาการรุนแรง ดังนี้

  • อาเจียนทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)
  • มีอาการปวดท้อง เหนื่อยง่าย และวูบล้มลงอยู่บ่อยครั้ง
  • หายใจลำบากแทบทุกช่วงเวลา

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานหรือกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเองร่วมด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะคีโตอะซิโดซิสในอนาคต โดยการวางแผนทางโภชนาการ ควบคุมน้ำหนัก รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายตามแผนที่แพทย์จัดให้ รวมไปถึงการรับประทานยา หรือใช้ยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอตามใบนัด เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจสอบถึงพัฒนาการ และสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานว่ามีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetic Ketoacidosis. https://www.webmd.com/diabetes/ketoacidosis. Accessed January 25, 2022.

Diabetic Ketoacidosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-ketoacidosis/symptoms-causes/syc-20371551. Accessed January 25, 2022.

Diabetic ketoacidosis. https://www.nhs.uk/conditions/diabetic-ketoacidosis/. Accessed January 25, 2022.

Diabetic Ketoacidosis (DKA). https://emedicine.medscape.com/article/118361-overview. Accessed January 25, 2022.

Diabetic Ketoacidosis. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/diabetic-ketoacidosis.html. Accessed January 25, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/04/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน สาเหตุ วิธีป้องกัน

อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำกับคนเป็นเบาหวาน กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา