backup og meta

ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ (Prickly Pear Cactus)

ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ (Prickly Pear Cactus)

การใช้ประโยชน์ ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์

ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ (Prickly Pear Cactus) หรือที่เรียกกันในอีกชื่อว่า ต้นกระบองเพชรทานผล เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลต้นกระบองเพชร ซึ่งสามารถรับประทานได้ แต่เฉพาะต้นอ่อน ๆ เท่านั้น ที่สำคัญยังถูกใช้มาเป็นส่วนประกอบของยาในการรักษาโรค และอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • โรคอ้วน
  • อาการเมาค้าง
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ท้องร่วง
  • โรคต่อมลูกหมากโต
  • บรรเทาอาการการติดเชื้อไวรัส

การทำงานของต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์เป็นอย่างไร

เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอต่อการอธิบายการทำงานของอาหารเสริม ประเภทสมุนไพรชนิดนี้โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ มีไฟเบอร์ และเพกทิน ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการดูดซึมของน้ำตาลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ผู้วิจัยบางท่านคิดว่า มันอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และกำจัดไวรัสในร่างกายได้อีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจากต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ หรือแพ้ยาหรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆคุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้อื่นๆ เช่น อาหาร, สารแต่งสี, สารกันเสีย, หรือสัตว์บางชนิด

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์มีความปลอดภัยแค่ไหน

ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ค่อนข้างปลอดภัยในการนำมารับประทาน ส่วนใบ ลำต้น ดอก ผล และสารสกัดที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยในการนำมารับประทานเป็นยาในปริมาณที่เหมาะสม ในระยะเวลาสั้น ๆ

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร

หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนเพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้กับตัวคุณแม่ จนส่งผลไปยังทารกในครรภ์ได้

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ โปรดสังเกตุระดับน้ำตาลในเลือดว่าต่ำไปหรือไม่ และตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดด้วยความระมัดระวัง หากท่านเป็นโรคเบาหวาน และกำลังใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์

ผลข้างเคียง

สมุนไพรชนิดนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงแก่ร่างกายของคุณได้ ดังนี้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์มีอะไรบ้าง

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้รักษาโรคประจำตัวอยู่ก็เป็นได้ รวมทั้งอาจเกิดผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน คุณจึงจำเป็นที่ต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ประจำตัวคุณ ก่อนการใช้เสมอ

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ได้แก่:

  • ยาคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide)ไกลบูไรด์ (Glyburide) , เมทฟอร์มิน (Metformin) และอื่น ๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่แล้วเช่นกัน เมื่อนำมาใช้ร่วมกันก็อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำไปมากกว่าเดิมได้

ปกติแล้วควรใช้ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ปริมาณเท่าใด

สำหรับรักษาโรคเบาหวาน

รับประทานลำต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ย่าง 100-500 กรัมต่อวัน ขนาดการใช้มักถูกแบ่งเป็น 3 ครั้ง ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน

สำหรับรักษาอาการเมาค้างหลักจากการดื่มแอลกอฮอล์

รับประทานสารสกัดจากต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์ ในปริมาณ 1600 IU ก่อนการดื่มแอลกอฮอล์ 5 ชั่วโมง

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

ต้นกระบองเพชรพริคลีย์แพร์อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ยาเสริมอาหาร (ชนิดแคปซูล, เครื่องดื่ม)
  • สารสกัดน้ำ
  • ชนิดผง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prickly Pear Cactus http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-880-prickly%20pear%20cactus.aspx?activeingredientid=880&activeingredientname=prickly%20pear%20cactus Accessed July 5, 2017

Prickly Pear Cactus Plant (Opuntia ficus-indica) Benefits http://www.herbwisdom.com/herb-prickly-pear-cactus.html Accessed July 5, 2017

Prickly Pear Cactus https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/expert-answers/prickly-pear-cactus/faq-20057771 Accessed July 5, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/04/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน ป้องกันได้ ด้วย สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด

อาการเมาค้าง ปัญหาแสนหงุดหงิดของนักดื่ม สามารถป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 21/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา