backup og meta

กะเพรา (Holy Basil)

กะเพรา (Holy Basil)

ข้อบ่งใช้

กะเพรา ใช้สำหรับ

กะเพรา (Holy Basil) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในประเทศแถบเอเชีย เช่น ไทย อินเดีย ทั้งใช้เพื่อประกอบอาหาร และนำใบ ลำต้น และเมล็ดมาใช้เป็นยาอายุรเวท ในการ “ปรับสมดุล” และรักษาสภาวะทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

  • โรคตา
  • กลาก เกลื้อน
  • ลดไข้
  • ไข้หวัดใหญ่
  • ไข้หวัดหมู
  • โรคเบาหวาน
  • โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง
  • โรคหัวใจ
  • ไวรัสตับอักเสบ
  • ไข้มาลาเรีย
  • วัณโรค
  • อาการเครียด

นอกจากนี้ ยังอาจนำมาใช้เพื่อกำจัดพิษจากสารปรอท ใช้เป็นสารกันยุง ป้องกันงู รวมถึงแก้พิษแมงป่องด้วย

กะเพราอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกะเพรา

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกะเพราที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กะเพรามีสารเคมีที่ช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวม (แผลอักเสบ) และอาจมีสารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้เมล็ดกะเพราในการรักษามะเร็ง โดยในเบื้องต้นเผยว่า กะเพราสามารถช่วยชะลอการเกิดโรคและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในสัตว์ทดลองที่เป็นมะเร็งได้ นักวิจัยคาดว่าประโยชน์ดังกล่าวนี้อาจเป็นเพราะในเมล็ดกะเพรามีสารต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กะเพรา

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากกะเพรา หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกะเพรานั้นปลอดภัย หากรับประทานติดต่อกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ แต่ยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันในระยะยาว

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมกะเพรา ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากกะเพรา ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อสภาวะอื่นๆ

การผ่าตัด

กะเพราอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัด จึงควรหยุดบริโภคกะเพราและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากกะเพราอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กะเพรา

ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้กะเพรา หากคุณมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดอัลฟาไลโนเลนิกอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • ยาเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน เฮพาริน เนื่องจากกะเพราอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด เมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่มดังกล่าวจึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการช้ำหรือเลือดออกได้
  • ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทัล ที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เนื่องจากเมื่อใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับกะเพราอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมรุนแรงได้

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกะเพรา

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของกะเพรา

กะเพราอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • สารสกัดจากกะเพรา
  • กะเพราะผง
  • ทิงเจอร์กะเพรา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Holy Basil. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1101-holy%20basil.aspx?activeingredientid=1101. Accessed March 29, 2017

Holy Basil. https://www.drugs.com/npp/holy-basil.html. Accessed March 29, 2017

The Health Benefits of Holy Basil. https://www.healthline.com/health/food-nutrition/basil-benefits. Accessed March 29, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ทำพิษ เด็กน้อยวัย 4 ขวบอาจ สูญเสียการมองเห็น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา