backup og meta

หินจักระ กับประโยชน์ที่เกี่ยวกับสุขภาพของคุณ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 14/05/2021

    หินจักระ กับประโยชน์ที่เกี่ยวกับสุขภาพของคุณ

    หินจักระเพื่อการบำบัด จะถูกเรียกอีกอย่างว่า “คริสตัลบำบัด หรือ หินบำบัด” การใช้ หินจักระ ในการรักษาสุขภาพก็เพื่อทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล คนโบราณเชื่อว่า ถ้าร่างกายมีความสมดุลก็จะทำให้สุขภาพดีตามไปด้วย ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

    ทำความรู้จักกับ หินจักระ

    จักระเป็นระบบพลังงานโบราณที่มีต้นกำเนิดในอินเดีย เป็นองค์ประกอบหลักของโยคะอายุรเวทและคำสอนของศาสนาฮินดู จักระนั้นมีทั้งหมด 7 จักระด้วยกัน และจักระถือเป็นศูนย์รวมพลังงานในร่างกายของคุณ ทั้งยังเป็นวงล้อแห่งพลังงานที่หมุนอยู่ตามกระดูกสันหลังของคุณ มันถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สนามชีวภาพ หรือ กระแสน้ำวนพลังงาน” จักระรับและส่งพลังงานซึ่งส่งผลต่ออวัยวะใกล้เคียง

    หินบำบัด-หินจักระ-ประโยชน์สุขภาพ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อจักระไม่สมดุลหรือถูกปิดกั้น การไหลของพลังงานก็จะหยุดชะงักไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ สำหรับการใช้หินจักระเพื่อการบำบัด จะถูกเรียกอีกอย่างว่า “คริสตัลบำบัด หรือ หินบำบัด” นับเป็นอัญมณีที่ใช้ในการปรับสมดุลของร่างกาย จักระแต่ละชิ้นจะเกี่ยวข้องกับหินบางชนิด ซึ่งเชื่อกันว่าพลังงานของหินนั้น สามารถทำให้หินจักระที่เฉพาะเจาะจงเสถียรได้

    จักระในลำคอกับความเกี่ยวข้องด้านสุขภาพ

    นักปฏิบัติกล่าวว่าจักระในลำคอเป็นศูนย์กลางของการสื่ออารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความสามารถในการแสดงความรู้สึกและความคิดของคุณ มื่อจักระในลำคอไม่สมดุล หรือมีการปิดกั้นการไหลเวียนพลังงานในบริเวณนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น

    นอกจากนั้นแล้ว หากจักระในลำคอถูกปิดกั้นหรือการวางแนวของจักระไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจส่งผลต่อหู ปาก และคอของคุณได้เช่นกัน ทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหาทางกายภาพอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

    • ปวดคอ หรือตึงบริเวณคอ
    • ปัญหาต่อมไทรอยด์
    • เจ็บคอแบบเฉียบพลันหรือเจ็บคอแบบเรื้อรัง
    • เสียงแหบ
    • แผลในปาก
    • ปวดกราม
    • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint disorder หรือ TMJ)
    • ความผิดปกติของฟัน
    • ปวดหู
    • ปัญหาการได้ยิน

    หินจักระที่ใช้รักษาจักระในลำคอ

    หินจักระที่ใช้รักษาจักระในลำคอจะเกี่ยวข้องกับสีฟ้า ซึ่งสีฟ้านั้นจะมีผลต่อความสงบเงียบของร่างกาย บางคนยังเชื่อมโยงสีน้ำเงินเข้ากับการสื่อสาร ความซื่อสัตย์ และการเอาใจใส่ ดังนั้น หินจักระที่ใช้รักษาโรคในลำคอจึงมีหลายเฉดด้วยกัน ได้แก่

    • แอมะซอไนต์ (Amazonite) หินสีเขียวอมฟ้า ใช้เพื่อส่งเสริมความสมดุลทางอารมณ์ และป้องกันอารมณ์เชิงลบ นอกจากนั้นยังเชื่อว่าหินนี้จะทำให้ระบบประสาทของคุณสงบลง
    • เทอร์คอยซ์ (Turquoise) เทอร์คอยซ์เป็นพลอยขุ่นสีฟ้าอมเขียว ซึ่งมีความเชื่อว่าจะช่วยเรื่องการแสดงความคิดของคุณ
    • อะความารีน (Aquamarine) คริสตัลสีฟ้าอ่อน-เขียว-น้ำเงิน กล่าวกันว่าจะทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ส่งเสริมความซื่อสัตย์ และช่วยให้คุณเชื่อมโยงกับอารมณ์ที่ซ่อนอยู่
    • ลาพิส ลาซูลี (Lapis lazuli) เป็นหินสีน้ำเงินที่ใช้เพื่อส่งเสริมการสื่อสาร นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ และความชัดเจนทางจิตใจ

    วิธีใช้หินจักระรักษาจักระในลำคอ

    สำหรับวิธีการใช้หินจักระเพื่อรักษาจักระในลำคอ นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่สามารถทำกับหินได้ มีดังนี้

    • วางหินจักระเอาไว้เหนือจักระในลำคอ ซึ่งคือบริเวณฐานของลำคอในขณะที่คุณทำสมาธิ
    • สวมใส่หินจักระที่เป็นเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ หรือจะนำลูกปัดคริสตัลสีน้ำเงินมาประดับรวมด้วยก็ได้
    • พกหินจักระติดตัวไปด้วย โดยอาจจะวางหินไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าเงิน ซึ่งจะช่วยให้คุณใช้พลังงานจากหินได้ในขณะที่คุณกำลังเดินทาง
    • ใช้เป็นของตกแต่ง เพื่อเติมพลังให้สมดุลในพื้นที่ของคุณ โดยอาจจะวางหินจักระเอาไว้ที่โต๊ะทำงาน หรือข้าง ๆ โต๊ะ
    • เมื่อใช้หินจักระในการรักษาสมดุล ต้องอดทนรอเวลา เพื่อให้พลังงานของหินลดปัญหาจักระในลำคอ

    อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการใช้อัญมณีในการเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาจักระในลำคอแล้ว คุณควรยึดแนวปฏิบัติเหล่านี้ร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมและรักษาสมดุลของจักระในลำคอ

    สำหรับประโยชน์ต่อสุขภาพของหินจักระที่ใช้รักษาจักระในลำคอ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ แต่หากว่าคุณรู้สึกสนุกกับการฝึกฝนหรือการใช้หินบำบัดนั้นก็ถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องอันตราย แต่โปรดอย่าลืมฝึกนิสัยการดูแลตัวเองอื่น ๆ เช่น การทำสมาธิ การออกกำลังกาย ร่วมด้วยจึงจะดีต่อสุขภาพมากที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 14/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา